วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ฎีกาที่ 1788/2557


ฎีกาที่ 1788/2557

ป.พ.พ. มาตรา 1387 บัญญัติว่า อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภาระจำยอม

อันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้น

การใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น

ตามความหมายแห่งบทบัญญัติดังกล่าวแสดงว่าอสังหาริมทรัพย์อันเป็นภารยทรัพย์กับ

อสังหาริมทรัพย์อันเป็นสามยทรัพย์จะต้องเป็นเจ้าของคนละราย เพราะถ้าเป็นเจ้าของราย

เดียวกันเจ้าของทรัพย์ย่อมมีสิทธิใช้สอยทรัพย์อีกแปลงหนึ่งในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้อยู่

แล้ว ดังนั้น ตามข้อเท็จจริงแห่งคดีนี้ เมื่อนับแต่วันที่โจทก์ทั้งสิบเข้าซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์

จากธนาคาร ก. จนถึงวันที่โจทก์ทั้งสิบอ้างว่าจำเลยปิดกั้นเส้นทางพิพาทตามฟ้องในเดือน

เมษายน 2551 ยังไม่ครบระยะเวลา 10 ปี แม้จะฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสิบใช้ทางพิพาทต่อเนื่องมา

ตั้งแต่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์จากธนาคาร ก. โจทก์ทั้งสิบก็ไม่ได้ภาระจำ

ยอมโดยอายุความ ตาม ป.พ.พ มาตา 1401 ประกอบมาตรา 1382 แต่อย่างใด

ฎีกาที่ 13899/2556


ฎีกาที่ 13899/2556

ข้อเท็จจริงได้ความว่า ที่ดินของโจทก์ไม่ใช่ที่ดินที่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ

ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๕๐ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปิดทางพิพาท

ตาม มาตรา ๑๓๔๙ แห่ง ป.พ.พ. ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๗ วินิจฉัยคดีโดยอ้าง ป.พ.พ. มาตรา

๑๓๔๙ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นตามที่โจทก์ฎีกามา เพราะ ป.พ.พ. มาตรา

๑๓๔๙ มีใจความสำคัญว่า ที่ดินแปลงใดที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ

เจ้าของที่ดินผู้มีสิทธิจะผ่านได้แต่ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ แต่ ป.พ.พ.

มาตรา ๑๓๕๐ ระบุว่า หากเป็นที่ดินที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่

ทางสาธารณะ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องตามมาตรา ๑๓๔๙ โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน

ที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินที่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินในที่ดิน

พิพาท

ฎีกาที่ 10992/2556


ฎีกาที่ 10992/2556

ป.พ.พ. มาตรา ๕๘๗ บัญญัติว่า อันว่าจ้างทำของนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง

เรียกว่าผู้รับจ้างตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้

ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น แต่ตรวจดูจากคำให้การของ

จำเลยที่ ๒ แล้วพบว่าจำเลยที่ ๒ ยังไม่ได้ตกลงสินจ้างกันว่าเที่ยวละเท่าไร ดังนั้น เมื่อยังมิได้มี

การตกลงในเรื่องสินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องจ้างทำของตาม

มาตรา ๕๘๗

ฎีกาที่ 7380 -7381/2556


ฎีกาที่ 7380 -7381/2556

โจทก์ที่ ๖ เป็นน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายเป็นทายาทโดยธรรมลำดับ

สาม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (3) เมื่อผู้ตายมีโจทก์ที่ ๑ ถึงที่ ๕ เป็นทายาทโดยธรรมลำดับ

หนึ่ง โจทก์ที่ ๖ ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับสาม จึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ตาม

ป.พ.พ.มาตรา 1630 วรรคหนึ่ง แต่เนื่องจากขณะผู้ตายถึงแก่ความตาย มารดาผู้ตายและโจทก์

ที่ ๖ ยังมีชีวิตอยู่ มารดาผู้ตายเพิ่งจะถึงแก่ความตายในภายหลัง มารดาผู้ตายจึงมีสิทธิรับมรดก

ของผู้ตายโดยได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1630

วรรคสอง ทรัพย์มรดกของผู้ตายในส่วนที่ตกแก่มารดา โจทก์ที่ ๖ ในฐานะซึ่งเป็นบุตร ย่อมมีสิทธิ

รับมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และ 1629 (1) โจทก์ที่ ๖ จึงมีอำนาจฟ้อง

แม้โจทก์ทั้งหกจะฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ ๑ กับ

จำเลยที่ ๒ และนิติกรรมการจดทะเบียนหรือกรรมสิทธิ์รวมหรือข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวม และ

นิติกรรมเช่าที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ ๒ กับจำเลยที่ ๓ มิได้ฟ้องเรียกร้องที่ดินพิพาทให้มาเป็น

ของโจทก์ทั้งหกโดยตรง ก็เป็นการฟ้องขอให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งหกอยู่ดี ฟ้อง

โจทก์ทั้งหกจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์

ฎีกาที่ 13399/2556


ฎีกาที่ 13399/2556

แม้ข้ออ้างของผู้คัดค้านที่ว่าการจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น เพราะผู้ร้อง

ยักยอกมรดกไปเป็นของผู้ร้องและสามีเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นการจัดการมรดกโดยทุจริตไม่ชอบ

ด้วยกฎหมาย ตราบใดส่วนของนาย ท. สามีผู้คัดค้านยังไม่ได้รับส่วนแบ่งจากกองมรดกของ

เจ้ามรดก ต้องถือว่าการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ร้องยังไม่เสร็จสิ้นลงนั้น อาจเป็นเหตุในการร้อง

ขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ก็ตาม แต่หาเป็นเหตุทำให้การจัดการมรดกหรือการ

ปันทรัพย์มรดกรายนี้ยังไม่เสร็จสิ้นลงแต่อย่างใด ไม่เช่นนั้นแล้วก็เท่ากับเป็นการขยายอายุความ

มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๕๔ ออกไปอีกไม่สิ้นสุดเพราะเหตุที่กองมรดกอยู่ระหว่างจัดการโดย

มีผู้จัดการมรดกครอบครองแทนตามมาตรา ๑๗๔๘ ฉะนั้น แม้ผู้คัดค้านจะมีส่วนได้เสียในกอง

มรดกส่วนที่ตกได้แก่สามีของตนก็ตาม แต่เมื่อการปันมรดกของเจ้ามรดกเสร็จสิ้นลงแล้ว

ผู้คัดค้านจึงไม่อาจร้องขอถอนผู้จัดการมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๒๗ วรรคหนึ่ง แล้วขอให้ตั้ง

ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทนได้

ฎีกาที่ 8982/2556


ฎีกาที่ 8982/2556 

นาย อ. และโจทก์ช่วยนำเงิน ๓๕๐,๐๐๐ บาท ไปใช้หนี้ให้เจ้าหนี้ แล้วเอาโฉนด

ที่ดินกลับคืนมาให้นาง จ. ส่วนสัญญากู้โจทก์เก็บไว้เอง กรณีจึงเป็นเรื่องนาง จ. ให้ที่ดินแก่

นาย อ. และโจทก์โดยมีค่าภาระติดพัน เมื่อนาย อ. ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว โจทก์จึงอยู่ใน

ฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา

๑๓๐๐ ที่บัญญัติว่า ถ้าได้จดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับ

อสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่

ก่อนไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นอาจเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ แต่การโอนอันมีค่าตอบแทน

ซึ่งผู้รับโอนกระทำการโดยสุจริตนั้น ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ท่านว่าจะเรียกให้เพิกถอน

ทะเบียนไม่ได้ แต่กรณีในคดีนี้จำเลยได้รับการให้จากมารดาโดยเสน่หาจำเลยจึงเป็นผู้รับโอนโดย

สุจริตแต่การโอนไม่มีค่าตอบแทน โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนจึง

ชอบที่จะเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ ดังนั้น จำเลยจึงต้องแบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาทจำนวน ๑

งาน ๕๑ ตารางวา ตามแผนที่วิวาทให้แก่โจทก์

ฎีกาที่ 3580/2556


ฎีกาที่ 3580/2556

ทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์สินที่นาย จ. กับจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันอันเป็นกรรมสิทธิ์
ร่วมกันของนาย จ. กับจำเลยคนละครึ่ง โดยจำเลยถือกรรมสิทธิ์แทนนาย จ. ครึ่งหนึ่ง
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนทรัพย์พิพาทให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง หากไม่ดำเนินการ
ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาและหากจำเลยไม่สามารถโอนทรัพย์พิพาทได้ให้จำเลย
ใช้ราคาแทน ๗๐๐,๐๐๐ บาท แก่โจทก์นั้น ไม่ถูกต้องเพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๓๖๔ บัญญัติวิธีแบ่งทรัพย์สินเจ้าของรวมไว้เป็นขั้นตอนแล้ว ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหา
อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจ
ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา

๑๔๒ (๕) ประกอบ มาตรา ๒๔๖ และ ๒๔๗

ฎีกาที่ 4571/2556


ฎีกาที่ 4571/2556

จำเลยถืออาวุธปืนติดตัวออกมาบริเวณทางเดินเท้าสาธารณะซึ่งอยู่ติดกับถนน

สาธารณะหลังจากมีปากเสียงกับโจทก์ ประกอบกับจำเลยยังรับข้อเท็จจริงในคดีนี้อีกว่า จำเลยได้

พูดขู่เข็ญโจทก์ว่า มึงอยากตายหรือการกระทำดังกล่าวนับว่าเป็นการกระทำโดยจงใจทำให้

โจทก์เสียหาย เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๐

แล้ว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยและแม้ว่าจำเลยจะมิได้ยิงอาวุธปืนดังกล่าวก็ตาม แต่การ

ที่จำเลยใช้อาวุธปืนข่มขู่โจทก์เช่นนี้ เป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ร่างกายและอนามัยของโจทก์

แล้ว เพราะเป็นการทำให้โจทก์ตกใจกลัวเป็นความเสียหายเกี่ยวกับความรู้สึกทางด้านจิตใจ ซึ่ง

เป็นความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๔๖

ฎีกาที่ 2520/2556


ฎีกาที่ 2520/2556

การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยที่ 2

ให้แก่โจทก์ตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงิน โดยในข้อ 2 ของสัญญาระบุว่าหากเงินที่ได้

รับโอนตามสิทธิเรียกร้องเกินกว่าหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ ให้โจทก์คืนส่วนที่เกินแก่จำเลยที่ 1

ในวันที่รับเงินจากจำเลยที่ 2 แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงโอนสิทธิเรียกร้องตามจำนวน

ค่าวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างที่ซื้อไปจากโจทก์เท่านั้น แม้ตามสัญญาในข้อ 3 จะมีข้อตกลงว่า หากเกิด

ความเสียหายใดๆ แก่ผู้รับโอนอันเนื่องมาจากการรับโอนสิทธิในการรับเงิน ผู้โอนยินยอมชดใช้

ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับโอนทั้งสิ้นก็ตาม ก็เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยินยอมผูกพันยอมชำระหนี้

แก่โจทก์แม้จะได้โอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแก่โจทก์แล้ว ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงข้อตกลงผิดแผก

แตกต่างจากบทบัญญัติของกฎหมาย และไม่ใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม

อันดี หรือเป็นข้อตกลงที่ต้องห้ามตามกฎหมาย จึงย่อมมีผลบังคับได้ เมื่อโจทก์ได้บอกกล่าว

การโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย

โดยจำเลยที่ 2 ไม่อาจโต้แย้งการโอนสิทธิเรียกร้องได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามสิทธิ

เรียกร้องแก่โจทก์

ฎีกาที่ 108/2556


ฎีกาที่ 108/2556
 
นาง ป. ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองขณะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ถึงแม้

ไม่มีพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของนาง ป. แต่เมื่อนาง ฐ. และ นาย น. เป็นพยานรู้เห็นในการ

ทำพินัยกรรม จึงถือว่าเป็นพยานรับรองลายมือชื่อและรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของนาง ป.

โดยไม่จำต้องมีพยานอีก 2 คนรับรองลายพิมพ์นิ้วมืออีก

พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองมี 2 หน้า ถึงแม้ในหน้าแรกไม่มีลายมือชื่อ

ของนาง ป. แต่การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนั้นเป็นไปตามแบบของทางราชการ

ที่ปฏิบัติกันมา และตามบทบัญญัติในเรื่องการทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง รวมทั้ง

พินัยกรรมแบบอื่น ก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายว่าจะต้องให้มีการลงลายมือชื่อในเอกสาร

ทุกหน้า

ฎีกาที่ 1705/2556

ฎีกาที่ 1705/2556

เดิมทางพิพาทไม่มีการปิดกันไว้ แม้จะมีป้ายแสดงว่าเป็นทางส่วนบุคคล แต่มิได้

หวงกันอย่างจริงจัง บุคคลอื่นรวมทั้งโจทก์จึงสามารถใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกได้ โจทก์และ

บริวารได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกระหว่างที่ดินของโจทก์กับทางสาธารณะ แม้จำเลยทำรั้ว

ลวดหนามปิดกั้นระหว่างทางพิพาทกับที่ดินของโจทก์เมื่อเดือนมกราคม 2550 แต่เมื่อโจทก์

และบริวารใช้ทางพิพาทตลอดมาโดยจำเลยกับพวกมิได้ทำประตูปิดกั้นห้ามโจทก์ใช้ซึ่งเป็นระยะเวลา

เกินกว่า 10 ปีแล้ว โดยสงบและเปิดเผยโดยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอม โจทก์จึงได้ภาระจำยอม

โดยอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบ มาตรา 1382

ฎีกาที่ 9711/2557

ฎีกาที่ 9711/2557

แม้น้ำกรดจะไม่ใช่อาวุธโดยสภาพแต่ก็เป็นสารเคมีชนิดกรดเกลือ ซึ่งมีคุณสมบัติกัดก่อนชนิดรุนแรงที่ทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต น้ำกรดที่จำเลยที่ 1 นำมาสาดใส่โจทก์ร่วมทั้ง 3 นอกจากจะมีความเข้มข้นสูงแล้ว ยังมีปริมาณมากทำให้โจทก์ร่วมที่ 1 มีบาดแผลถึง 20% ของร่างกายจำเลยที่ 1 ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าการกระทำของตนกับพวกเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมทั้ง 3 ถึงแก่ความตายได้ การที่จำเลยที่ 1 กับพวกเตรียมน้ำกรดมาเพื่อสาดใส่โจทก์ร่วมทั้ง 3 จึงเป็ฯการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าโจทก์ทั้ง 3 โดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(4) ประกอบมาตรา 80 แล้วต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ร่วมทั้ง 3

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

นิติบุคคลสิ้นสภาพแล้ว สัญญาเช่าระงับ

ฎีกาที่ 901/2508

ในกรณีที่ผู้เช่าซึ่งเป็นนิติบุคคลได้สิ้นสภาพแล้ว สัญญาเช่าย่อมระงับไป

ผู้เช่าตายแล้ว บุคคลที่อยู่ด้วยกันจ่ายค่าเช่าแทนมาก็ไม่เกิดสัญญาใหม่

ฎีกาที่ 119/2509

สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า เมื่อผู้เช่าตาย สิทธิการเช่าย่อมสิ้นสุด จำเลยซึ่งเป็นบุตรผู้เช่าได้อยู่ในตึกพิพาทต่อมา ก็ถือว่าอยู่ในฐานะบริวารของผู้เช่า ดังนั้น การที่จำเลยชำระค่าเช่า จึงเป็นการชำระในนามของผู้เช่า ไม่ก่อให้เกิดสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และจำเลยแต่อย่างใด

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ผู้ขายฝากมีสิทธิเอาที่ดินไปทำสัญญาจะซื้อจะขายได้

ฎีกาที่ 4729/2543

จำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินไว้แก่ ก. บิดาโจทก์ ระกว่างที่ยังอยู่ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนตามสัญญาขายฝาก จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกับโจทก์ ต่อมาจำเลยทำสัญญากับ ก. ว่าไม่ประสงค์จะไถ่ถอนและประสงค์จะสละสิทธิไถ่ถอน ดังนี้ ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ .ก. ถือได้ว่าเป็นการขายขาดที่ดินให้กับ ก. โดยทำสัญญากันเอง จึงไม่เกิดผลในสัญญาซื้อขายที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยยังมีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากได้ภายในกำหนดเวล่ไถ่ถอนตามสัญญาขายฝากอยู่ และภายในกำหนดเวลาการขายฝากจำเลยย่อมมีสิทธินำที่ดินไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ได้ ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 497 ได้กำหนดให้ผู้รับโอนสิทธิมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นได้ด้วย เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิมีสิทธิไถ่ถอนที่ดินได้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจึงมีผลสมบูรณ์และบังคับได้ตามกฎหมาย จำเลยจึงต้องโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์

สัญญาขายฝากทำกันเองตกเป็นโมฆะ

ฎีกาที่ 384/2509
สัญญาขายฝากที่ดินมือเปล่าทำกันเอง มีเงื่อนไขว่าถ้าผู้ขายไม่นำเงินมาไถ่ก็ให้ผู้ซื้อทำนาเรื่อยไป ดังนี้ สัญญาขายฝากเป็นโมฆะ ที่ผู้ซื้อเข้าครอบครองจึงเป็น การครอบครองแทนผู้ขาย

ฎีกาที่ 515/2525

จำเลยขายฝากเรือนเลขที่ 126 ขนาดกว้าง 8 ศอก ยาว 3 วา ให้โจทก์ ต่อมาจำเลยรื้อเรือนดังกล่าวแล้วสร้างใหม่ กว้าง 3 วา ยาว 4 วา ใช้ไม้ของเรือนหลังเดิม บางส่วนและใช้บ้านเลขที่ 126 ตามเดิม ดังนี้ ถือได้ว่าเรือนหลังเดิมซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามสัญญาขายฝากและเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้สิ้นสภาพแล้ว เรือนหลังใหม่ คือ เรือนพิพาทย่อมไม่อยู่ในบังคับของสัญญาขายฝาก โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาท ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากเรือนพิพาท คงมีอำนาจว่ากล่าวแก่จำลยในกรณีที่จำเลยรื้อเรือนหลังเดิมอันเป็นวัตถุแห่งหนี้ตามสัญญาขายฝาก

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อายุความรับผิดเพื่อทรัพย์ขาดตกบกพร่อง

มาตรา 467 ความรับผิดเรื่องทรัพย์ที่ซื้อขายขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน มีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันส่งมอบ

ค่าฤชาธรรมเนียมสัญญาซื้อขาย

ค่าฤชาธรรมเนียมทำสัญญาซื้อขายนั้น ผู้ซื้อผู้ขายพึงออกใช้เท่ากันทั้งสองฝ่าย มาตรา 457

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ถือเป็นการครอบครองแทนผู้ขาย

ฎีกาที่ 7490/2541

สัญญาซื้อขายที่ดินระบุว่าได้ขายที่ดินให้จำเลยแต่ยังไม่ไปโอนกรรมสิทธิ์เนื่องจากโจทก์ที่ 2 และที่ 5 ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วจะโอนทันทีแสดงว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเท่านั้น เพราะยังมีข้อตกลงจะไปโอนกรรมสิทธิ์ในภายหลัง ดังนั่้น ตราบใดที่ยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์กันตามข้อตกลง กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทยังคงอยู่แก่โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของเดิม ถึงจำเลยจะเป็นฝ่ายครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็ต้องถือว่าจำเลยครอบครองแทนโจทก์ทั้งห้า จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง แม้ว่าศาลจะมีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองแล้วก็ตาม ก็ไม่อาจยกขึ้นต่อสู้ยันโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทได้จำเลยไม่มีสิทธิ์ที่จะขับไล่โจทก์ทั้งห้าออกจากที่ดินพิพาท

ฎีกาที่ 144/2549

ฎีกาที่ 144/2549

โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันมาก่อน โดยกำหนดวันจดทะเบียนโอนที่ดินกันไว้ ต่อมาเมื่อโจทก์ชำระราคาให้จำเลยครบถ้วนแล้ว จึงได้ทำสัญญาขึ้นอีกหนึ่งฉบับหนึ่ง ซึ่งแม้จะระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขาย แต่ก็มีข้อตกลงกำหนดไว้ในสัญญาว่าหากถึงกำหนดจำเลยไม่โอนที่ดินให้โจทก์ จำเลยยอมให้โจทก์ปรับอีกหนึ่งเท่าของเงินที่ขายแสดงว่าโจทก์และจำเลยมีเตนาจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินที่ซื้อขายกันในภายหลัง แม้จำเลยจะส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายให้โจทก์แล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์และจำเลยมีเจตนาจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินที่ซื้อขายกันให้เสร็จเด็ดขาดต่อไป สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเข้าลักษณะสัญญาจะซื้อจะขาย หาใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดซึ่งจะตกเป็นโมฆะไม่

เรือที่ต้องจดทะเบียน

การซื้อขายเรือที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไปต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ฎีกาที่ 2468/2538

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ตกลงซื้อขายลำไยในสวนขณะลำไยกำลังออกดอก

ฎีกาที่ 9/2505

ตกลงซื้อขายลำไยในสวนขณะลำไยกำลังออกดอก โดยชำระราคากันบางส่วนแล้วและให้ผู้ซื้อเป็นผู้ครอบครองดูแลรักษาต้นลำไยเอง ผลได้เสียเป็นของผู้ซื้อถ้าเกิดผลเสียหายอย่างใด ผู้ขายไม่ต้องคืน ถ้าได้ผลมากก็เป็นของผู้ซื้อฝ่ายเดียว เป็นการเสี่ยงโชคโดยคำนวณจากดอกผลลำไยและสุดแต่ดินฟ้าอากาศจะอำนวยให้ ดังนี้ ถือว่าคู่สัญญาได้ตกลงซื้อขายกันแน่นอนแล้วโดยคำนวณราคาดอกลำไยเป็นหลัก ต่อมาถ้าต้นลำไยถูกพายุพัดหักหมด ผู้ซื้อจะเรียกเงินคืนจากผู้ขายไม่ได้

ฎีกาที่ 3861/2552


ฎีกาที่ 3861/2552

ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าจากนายคำ นางเบา ผู้เป็นเจ้าของเมื่อนายคำ นางเบาสละเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทและโอนการครอบครองโดยส่งมอบที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง และผู้ร้องเข้าครอบครองโดยเจตนายึดถือ เพื่อตนแล้ว การครอบครองที่ดินพิพาทของนายคำ นางเบาจึงสิ้นสุดลง ผู้ร้องย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367,1377 และมาตรา 1378 ที่ดินพิพาทจึงเป็นของผู้ร้อง ที่โจทก์ฎีกาต่อมาว่า โจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนรับจำนองโดยถูกต้องตามกฎหมายย่อมได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง นั้น เห็นว่าเมื่อนายคำ นางเบาไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทแล้ว ดังนี้ นางทองอินทร์ผู้เป็นทายาทของนายคำกับนางเบาจึงไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นของตน และไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปจำนองแก่โจทก์ไม่ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 705 การจำนองจึงไม่มีผล โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ซคางเป็นผู้รับจำนองสุจริตหรือไม่ เพราะสิทธิของผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง นั้น ต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออกโดยชอบ เมื่อการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในส่วนที่ดินพิพาทไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จะอ้างสิทธิที่จะเกิดจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ส่วนที่ออกโดยไม่ชอบดังกล่าวหาได้ไม่ กรณีเช่นนี้ไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง

ฎีกาที่ 5352/2552


          ฎีกาที่ 5352/2552

การที่ ก. ย. และ อ. ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท และร่วมกันยื่นคำร้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้ว แม้จะยังไม่มีการรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวม แต่ไม่ปรากฏว่า ก. ย. และ อ. แสดงเจตนาจะยกเลิก จึงต้องถือว่าข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างเจ้าของรวมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคหนึ่ง ย่อมผูกพัน ก. ย. และ อ.
ก. ย. และ อ. ได้แบ่งการครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้ว จึงถือไม่ได้ว่า ก. ย. อ. และจำเลยต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดพิพาทตลอดมา เมื่อ ย. อ. และจำเลยทั้งสิบสามครอบครองที่ดินพิพาทที่ซื้อจาก ก. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ธ. และโจทก์ซื้อที่ดินโดยรู้ว่ามีผู้ครอบครอง กรณีถือไม่ได้ว่า ธ. และโจทก์รับโอนที่ดินไว้โดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง

ฎีกาที่ 5927/2552

ฎีกาที่ 5927/2552

โจทก์ทั้งสี่ใช้ลำรางพิพาทในการชักน้ำเข้านาที่ดินพิพาท แล้วขุดเป็นบ่ออยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าว จากนั้นโจทก์ทั้งสี่ใช้ระหัดวิดน้ำหรือใช้เครื่องสูบน้ำชักน้ำเข้าไปยังที่ดินแปลงอื่นของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ด้วยความสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาให้ได้มาซึ่งภาระจำยอมเกินกว่า 10 ปี แล้ว แม้จะได้ความว่ามีลำรางพิพาทถึงที่ดินพิพาทของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เท่านั้น ส่วนที่ดินแปลงอื่น ๆ ดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 มีการชักน้ำเข้าไปโดยการใช้ระหัดวิดน้ำหรือเครื่องสูบน้ำจากที่ดินพิพาทแต่ก็อยู่ในลักษณะที่ลำรางพิพาทในที่ดินของจำเลยทั้งสามต้องรับกรรม หรือรับภาระเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 และที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ที่อยู่ถัดไปด้วยเช่นกัน เพราะสามยทรัพย์และภารยทรัพย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกัน ถ้าการที่ต้องภาระจำยอมนั้นมีลักษณะเป็นภาระแก่อสังหาริมทรัพย์อื่น จะเป็นแปลงหนึ่งหรือหลายแปลงก็ดี จะมีอสังหาริมทรัพย์อื่นคั่นอยู่ก็ดี ก็ตกเป็นภาระจำยอมได้ ที่ดินของจำเลยทั้งสามจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ทั้งหกแปลงในการใช้ลำรางพิพาทโดยอายุความ

สิทธิตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 1299 ต้องเป็นสิทธิในประเภทเดียวกันแต่ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ ส่วนกรรมสิทธิ์เป็นสิทธิในประเภทได้สิทธิ ซึ่งเป็นสิทธิคนละประเภทกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ได้สิทธิภาระจำยอมลำรางพิพาทในที่ดินของจำเลยทั้งสาม จำเลยทั้งสามจะต้องรับรู้ถึงสิทธิของโจทก์ทั้งสี่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1387 จึงไม่อาจนำมาตรา 1299 วรรคสองมาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้

ฎีกาที่ 1834/2553

ฎีกาที่ 1834/2553

การที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาอุทิศที่ดินของเจ้ามรดกให้สร้างวัด และวัดได้ดำเนินการก่อสร้างสำเร็จตามเจตนาของเจ้ามรดกแล้ว ที่ดินย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดโดยสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ทำให้การได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวไม่บริบูรณ์ ไม่อาจใช้ต่อสู้หรือบังคับต่อบุคคลภายนอกที่มิได้เป็นคู่สัญญาก็ตาม แต่การยกให้นี้มีผลใช้บังคับระหว่างคู่สัญญา รวมทั้งทายาทหรือผู้สืบสิทธิของคู่สัญญาในฐานะเป็นบุคคลสิทธิได้

ฎีกาที่ 2975/2553

ฎีกาที่ 2975/2553

น. เสนอขายที่ดินโดยนำรูปแผนที่หลังโฉนดที่ดินมาแสดงแก่โจทก์เพื่อยืนยันว่าหากโจทก์ซื้อที่ดินของ น. โจทก์ก็มีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกและใช้ประโยชน์เกี่ยวแก่การสาธารณูปโภคสำหรับที่ดินที่ซื้อได้ เมื่อโจทก์ตกลงซื้อที่ดินตามที่ น. เสนอจึงเกิดเป็นสัญญาก่อให้เกิดภาระจำยอม การที่ น. ไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่โจทก์เหมือนอย่างที่ดินซึ่งแบ่งแยกพร้อมกับแปลงอื่นๆ คงมีผลเพียงทำให้ภาระจำยอมดังกล่าวยังไม่เป็นทรัพยสิทธิที่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง เท่านั้น แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา และไม่ใช่สิทธิที่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของ น. โดยแท้ เมื่อ น. ถึงแก่ความตาย สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ตามสัญญาภาระจำยอมย่อมตกทอดแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และ 1600 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยไปดำเนินการจดทะเบียนภาระจำยอม และบังคับให้จำเลยรื้อถอนรั้ว เสาปูนและลวดหนามที่ปิดกั้นทางพิพาทซึ่งเป็นภารยทรัพย์ออกได้


ฎีกาที่ 5215/2554

ฎีกาที่ 5215/2554

จำเลยทั้งสองได้สิทธิเหนือพื้นดินจากเจ้าของที่ดินโดยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่บริบูรณ์ ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1298 ประกอบมาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ต่อมาเจ้าของที่ดินจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจอ้างสิทธิเหนือพื้นดินนี้ต่อสู้โจทก์ได้

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ฎีกาที่ 4503/2540

ฎีกาที่ 4503/2540

สิทธิเช่าซื้อเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้

ถูกกระทำละเมิดจนเสียความสามารถในการมองเห็น

ฎีกาที่ 533/2552

เมื่อโจทก์ต้องเสียความสามารถในการมองเห็น เนื่องจากโจทก์เสียตาข้างซ้าย ทำให้ไม่สามารถมองภาพได้ละเอียดและกว้างเท่าคนปกติ ถือว่าเป็นค่าเสียหายอย่างอื่น อันมิใช่ตัวเงินตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 446 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ. ผู้ทำละเมิดจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว หาใช่ต้องกำหนดเป็นค่ารักษาพยาบาลไม่และค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสื่อมสุขภาพอนามัยต้องเสียโฉมได้รับความเจ็บปวดทรมานเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน โจทก์มีสิทธิเรียกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 วรรคหนึ่ง

ค่าสินไหมทดแทนกรณีทำให้เขาตาย

1.ค่าปลงศพ
2.ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นๆ
3.ค่ารักษาพยาบาลก่อนตาย
4.ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ก่อนตาย
5.ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย
6.ค่าขาดแรงงาน

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เหตุสุดวิสัย

ฎีกาที่ 15670/2553

เหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 8 หมายความว่า เหตุใดๆอันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลที่ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร อันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและในภาวะเช่นนั้น การที่ฝนตกในขณะเกิดเหตุเป็นเหตุการณ์ปกติธรรมชาติและย่อมมีผลให้ถนนลื่นกว่าสภาพปกติธรรมดา หากจำเลยที่ 1 เพียงแต่ใช้ความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ก็ย่อมจะสามารถควบคุมรถไม่ให้เกิดความเสียหายเช่นที่เกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก กรณีจึงไม่อาจถือว่าเป็ฯเหตุสุดวิสัยที่จะทำให้จำเลยทั้งสองหลุดพ้นความรับผิด

เช่าดาดฟ้าติดป้ายโฆษณา ผู้เช่าต้องรับผิดชอบ

ฎีกาที่ื 2959/2516

ป้ายโฆษณาติดตั้งบนดาดฟ้าตึก ผู้เช่าสถานที่ติดตั้งเป็นผู้ครอบครองป้าย ผู้รับจ้างติดตั้งและผู้ดูแลป้ายไม่ใช้ผู้ครองร่วมด้วย ป้ายที่ตั้งขึ้นไม่ตรงตามแบบแปลนจึงถูกพายุตามธรรมดาพัดพังลงมาทำให้โจทก์เสียหาย ผู้เช่าต้องรับผิด

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ขับรถชนกระบือ ผู้เลี้ยงต้องรับผิดชอบ

ฎีกาที่ 3451/2555

รอยห้ามล้อของรถยนต์กระบะซึ่งยาวประมาณ 20 เมตร อยู่ในช่องเดินรถของ ล. โดยเฉพาะรอยห้ามล้อรถด้านซ้ายอยู่ห่างจากไหล่ถนนพอสมควร แสดงว่ากระบือของจำเลยได้วิางตัดหน้ารถของ ล.ในระยะกระชั้นชิดจนไม่สามารถห้ามล้อรถได้ทัน จึง ชนรถได้ืทัน จึงชนกระบือของจำเลย แม้ก่อนถึงที่เกิดเหตุประมาณ 200 เมตร มีป้ายสีเหลืองเตือนให้ระวังสัตว์เลี้ยงก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฎว่าขณะเกิดเหตุ ล. ขับรถด้วยความเดร็วสูงและไม่ใช้ความระมัดระวังอย่างไร การที่มีป้ายสีเหลืองเตือนให้ระวังสัตว์เลี้ยงมิได้หมายความว่าหากเหตุรถชนสัตว์เลี้ยงแล้ว ผู้ขับรถชนสัตว์เลี้ยงจะต้องผิดเสมอไป เมื่อพิจารณาประกอบจราจรทางบก ฯ มาตรา 111 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดขี่ จูง ไล่ ต้องหรือปล่อยสัตว์ไปบนทางในลักษณ์ที่เป็นการขีดขวางการจราจรและไม่มีผู้ควบคุมเพียงพอซึ่งเป็นกฎหมายที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองผู้ขับรถให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ถนน การที่ฝูงกระบือที่จำเลยเลี้ยงมีมากถึง 43 ตัว แต่มีผู้ควบคุมดูแลเพียง 2 คน ถือว่ามีผู้ควบคุมดูแลไม่เพียงพอ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรในการควบคุมดูแลเลี้ยงกระบือ เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ จำเลยจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 433 วรรคหนึ่ง

มอบช้างให้คนอื่นเลี้ยง เจ้าของช้างไม่ต้องรับผิด

ฎีกาที่ 1607/2496

เจ้าของช้างมอบช้างให้บุตรไปดูแลเลี้ยงรักษา และเพื่อรับจ้างลากไม้ โดยเจ้าของช้างไม่ได้เกี่ยวข้องในการเลี้ยงหรือการรับจ้างด้วย บุตรจ้างคนอื่นเลี้ยงช้างอีกต่อหนึ่ง ช้างทำความเสียหายขึ้นโดยละเมิด เจ้าของช้างไม่ต้องรับผิด บุตรผู้เลี้ยงช้างและลูกจ้างเท่านั้นต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562 แม้ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 จะให้สิทธิผู้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียเมื่อใดก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้...