วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การเตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204
ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว
      ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามปฏิทิน และลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตามกำหนดไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว

จากหลักกฎหมายดังกล่าว หากเป็นหนี้ที่กำหนดเวลาการชำระไว้แน่นอน เมื่อไม่ได้ชำระตามกำหนด ถือว่าผิดนัดโดยไม่ต้องเตือน

การซื้อขายสินค้าไม่ได้กำหนดเวลาชำระเงิน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203
ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็มิได้ไซร้ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันและฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน
ถ้าได้กำหนดเวลาไว้ แต่หากกรณีเป็นที่สงสัยท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่ แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดก็ได้

ตามหลักกฎหมาย การซื้อขายสินค้า ถ้าไม่ได้กำหนดเวลาอันพึงชำระเงินกันเอาไว้ เจ้าหนี้เรียกให้ชำระเงินได้โดยพลันและลูกหนี้ก็ชำระหนี้ได้โดยพลันดุจกัน สิทธิในการเรียกร้องค่าสินค้าเกิดขึ้นตั้งแต่รับมอบสินค้า

สัญญากู้มิได้กำหนดระยะเวลาชำระเงิน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203
ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็มิได้ไซร้ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันและฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน
ถ้าได้กำหนดเวลาไว้ แต่หากกรณีเป็นที่สงสัยท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่ แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดก็ได้

ตามหลักกฎหมาย เมื่อสัญญากู้มิได้กำหนดวันชำระเงินคืน ผู้ให้กู้เรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้โดยพลันได้

วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ซื้อที่ดินสาธารณะประโยชน์


ผู้ที่ซื้อที่ดินโดยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินเป็นที่สาธารณะประโยชน์
ผลก็คือ สัญญาซื้อขายที่ดินสาธารณะประโยชน์ตกเป็นโมฆะ และไม่มีสิทธิเรียกเงินที่จ่ายค่าที่ดินคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7464/2555
ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะประโยชน์จึงเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1305 บัญญัติว่าทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา การที่โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแก่กัน จึงเป็นการทำนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยย่อมตกเป็นโมฆะตาม ปพพ.มาตรา 150 และมีผลเป็นการเสียเปล่าเท่ากับโจทก์จำเลยมิได้ทำสัญญาซื้อขายกันและต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมแก่กัน โดยให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับตาม ปพพ. มาตรา172 แต่การที่โจทก์ชำระราคาที่ดินพิพาทแก่จำเลยตามสัญญาโดยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะประโยชน์ ถือว่าเป็นการกระทำตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ทั้งยังเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตาม ปพพ. มาตรา 407 และมาตรา 411 โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะได้รับคืนราคาที่ดินที่ชำระแก่จำเลยดังกล่าว

-จากฎีกานี้ ถ้าผู้ซื้อไม่รู้มาก่อนว่าที่ดินเป็นสาธารณะประโยชน์ เรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนได้

การแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้า

การแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้า
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 การแสดงเจตนาซึ่งกระทำต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้า ให้ถือว่ามีผลนับแต่ผู้รับการแสดงเจตนาได้ทราบการแสดงเจตนานั้น การแสดงเจตนาโดยเฉพาะหน้านี้รวมถึงการแสดงเจตนาทางโทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสาร หรือโดยวิธีอื่นทำนองเดียวกันด้วย

การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่

การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ
           การข่มขู่ที่จะทำให้การใดตกเป็นโมฆียะนั้นจะต้องเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันไกล้ตะถึง และร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัว ซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น การนั้นก็คงจะมิได้กระทำขึ้น

-ถ้าเป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือเป็นการข่มขู่ เช่น ขู่ว่าจะฟ้องร้องดำเนินคดี เพื่อบังคับชำระหนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2523

- การใดที่ตกเป็นโมฆียะ เป็นนิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง ตามมาตรา 175 ผู้ถูกข่มขู่บอกล้างเสียได้

วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2560

หลักฐานการกู้ยืมเงิน


การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาท ขึ้นไป ถ้าไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ 

วันพุธที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การซื้อขายมีเงื่อนไข

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 ถ้าสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข หรือ เงื่อนเวลาบังคับไว้ ท่านว่ากรรมสิทธิ์ในทรัย์สินยังไม่โอนไปจนกว่าการจะได้เป็นไปตามเงื่อนไขหรือถึงกำหนดเงื่อนเวลานั้น

🐸ยกตัวอย่างการซื้อขายรถยนต์ที่ในสัญญาระบุว่า กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะโอนไปยังผู้ซื้อ ต่อเมื่อผู้ซื้อชำระราคาครบถ้วนแล้ว อย่างนี้เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์  กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนจนกว่าผู้ซื้อจะชำระราคาครบถ้วน ฎ.7558/2549

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2557

เจตนาของคู่สัญญาที่ทำบันทึกแบ่งแยกทรัพย์สินกันไว้ท้ายทะเบียนการหย่าย่อมมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งแยกทรัพย์สินที่มีอยู่ร่วมกันทั้งหมดให้เสร็จสิ้นไป การตีความในบันทึกท้ายทะเบียนการหย่าจึงต้องตีความตามจ่อความที่ระบุไว้ในบันทึกนั้น เว้นแต่จะเห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า ข้อความที่ปรากฎในบันทึกท้ายทะเบียนการหย่ามีข้อความไม่ขัดเจน คลุมเครือหรืออ่านไม่เข้าใจ ตามบันทึกท้ายทะเบียนการหย่า ข้อ 3 ระบุว่า "คู่หย่าทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินว่าฝ่ายชายยินยอมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่ฝ่ายหญิงแต่เพียงผู้เดียว" ซึ่งข้อความในบันทึกดังกล่าวมีข้อความชัดแจ้งอ่านแล้วเข้าใจได้ว่าทรัพย์สินทั้งหมดที่ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรวมกันให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องทั้งหมด บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินตามป.พ.พ. มาตรา 1532 เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนทะเบียนการหย่าให้แล้ว ถือว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น นับแต่วันที่มีการทำบันทึกท้ายทะเบียนการหย่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจึงตกเป็นสิทธิของผู้ร้อตั้งแต่เวลานั้นแม้สินสมรสดังกล่าวเป็นที่ดินและบ้านก็ถือตกเป็นสิทธิของผู้ร้องตามบันทึกท้ายทะเบียนการหย่านั้นแล้วโดยไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนการโอนเพราะมิใช่การยกให้โดยเสน่หา ส่วนที่ผู้ร้องมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทำให้การได้มาดังกล่าวไม่บริบูรณ์ตามมาตรา 1299 วรรคหนึ่งก็ตาม แต่ผู้ร้องได้เข้าครอบครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแล้วเพียงแต่ผู้ร้องยังมิได้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ถือได้ว่าผู้รัองเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300




ที่มา:

วันอังคารที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560

จดทะเบียนสมรสซ้อน ตกเป็นโมฆะ




ประมวลกฎหมายแพ่งมาตรา 1452 ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้

🐰ชายหรือหญิงที่ทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้วเป็นการสมรสที่ฝ่าฝืน มาตรา 1452 ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6331-6332/2556
ขณะที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับ จ.(ปี2526) จ. มีคู่สมรสเป็นญิงอื่นอยู่แล้วการสมรสระหว่างโจทก์กับ จ. ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ มาตรา 1452 ประกอบมาตรา 1495 ซึ่งความเป็นโมฆะของการสมรสย่อมมีผลไปถึงวันที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับ จ. หาใช่มีผลนับแต่วันที่โจทก์จดทะเบียนหย่ากับ จ. ในปี 2532ไม่ ฉะนั้นขณะที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย (ปี 2529) ถือไม่ได้ว่าโจทก์ยังมีคู่สมรสอยู่ การสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายจึงไม่ฝ่าฝืนต่อมาตรา 1452 ย่อมมีผลสมบูรณ์ และโจทก์มีฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เมื่อจำเลยจดทะเบียนสมรสกับผู้ตายในปี 2533 โดยโจทก์กับผู้ตายยังเป็นคู่สมรสกันอยู่ การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงฝ่าฝืนต่อมาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562 แม้ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 จะให้สิทธิผู้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียเมื่อใดก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้...