วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ

มาตรา 90/2 วรรค 1

  1. เจ้าหนี้  (คนเดียวหรือหลายรวมกัน และมีหนี้แน่นอนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท )
  2. ลูกหนี้
  3. ธนาคารแห่งประเทศไทย ตาม ม.90/3
  4. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  5. กรมการประกันภัย
  6. หน่วยงานของรัฐ ตาม ม.90/4

ขั้นตอนภาพรวมการฟื้นฟูกิจการ

ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 หมวด 3/1

เริ่มต้นจากการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัท จำกัด หรือบริษัท มหาชน ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาการเงิน  (ม.90/1)

*เมื่อยื่นคำร้อง ในชั้นตรวจคำร้อง หากเห้นว่าเข้าหลักเกณฑ์ ม.90/3 และ ม.90/4 ศาลก็มีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ    ผลจากคำสั่งศาล คือ คุ้มครองลูกหนี้ให้ปลอดจากการฟ้องร้องหรือบังคับชำระหนี้

*ในชั้นพิจารณา ศาลจะไต่สวนความจริง ม.90/3 และสุจริต ศาลก็จะมีคำสั่งตามม.90/10 ให้ฟื้นฟูกิจการ
และศาลจะพิจารณาตั้งผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ ตามม.90/17 วรรค 1 เพื่อให้มีหน้าที่ในการจัดทำแผน

*เจ้าหนี้ทั้งหลายที่มีมูลหนี้เกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (ที่กรมบังคับคดี) ภายใน 1 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผน (ม.90/26วรรค 1 ประกอบ ม.90/27 วรรค 1 )หากไม่ยื่นภายในกำหนด ก็หมดสิทธิ ตาม ม.90/61

*ผู้ทำแผนได้ทำแผนการฟื้นฟูเสร็จก็จะส่งแผนไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อให้ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาลงมติยอมรับแผน หาก ประชุมมีมติยอมรับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรายงานต่อศาล เพื่อให้ศาลให้ความเห็นชอบต่อแผน (ม.90/56)

*เมื่อศาลเห็นชอบ ผู้บริหารแผนจะต้องจัดการดำเนินการตามแผนให้สำเร็จ และศาลจะมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการถ้าสำเร็จแล้ว ม.90/70 วรรค 1



    


วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ทุเลาการบังคับคดี

มาตรา 231 ป.วิ.แพ่ง. การทุเลาการบังคับคดี


มีหลักเกณฑ์ คือ การยื่นอุทธรณ์ ไม่เป็นการทุเลาการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น  แต่ผู้อุทธรณ์สามารถยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีได้ไม่ว่าเวลาใดๆก่อนมีคำพิพากษา ให้ศาลทุเลาการบังคับคดีไว้ก่อน

แต่การขอทุเลาการบังคับคดีต้องยังไม่มีการบังคับคดีตามคำพิพากษา ถึงจะยื่นได้ หากมีการบังคับคดีแล้ว ถือว่าเป็นการงดการบังคับคดี ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งว่ามีเหตุอันสมควรงดการบังคับคดีหรือไม่

ศาลที่มีอำนาจสั่ง คือ กรณีอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่ง กรณีฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจสั่ง แม้จะยังไม่ส่งสำนวน ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่ง เว้นแต่กรณีมีเหตุฉุกเฉินอย่างยิ่ง ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งได้ชั่วคราว เพื่อรอคำวินิจฉัยของศาลสูง ม.231 วรรคสอง

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หากผู้อุทธรณ์แพ้คดี อีกฝ่ายขอรับเงินค่าธรรมเนียมที่วางได้

หากผู้อุทธรณ์แพ้คดี อีกฝ่ายขอรับเงินค่าธรรมเนียมที่วางได้

เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ผู้อุทธรณ์แพ้คดี คู่ความอีกฝ่ายซึ่งชนะคดี มีสิทธิขอรับเงินที่ผู้แพ้คดีวางไว้ได้ ฎีกาที่ 1331/2544

ผู้อุทธรณ์ต้องเสียเงินอะไรบ้าง

ในการอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมศาล 2 อย่าง คือ

1.ค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ.( ถ้าเป็นคดีผู้บริโภคจำเลยไม่ต้องเสีย )

2.ค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษา ต้องนำมาวางพร้อมอุทธรณ์ ม.229

  (ต้องให้เจ้าหน้าที่ศาลคิดให้ครับ ว่าตอนที่ฟ้องมีการวางเงินค่าธรรมเนียมไปเท่าไหร่+ค่าทนายความที่ศาลให้ )

การแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์

การแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์

เนื่องจากไม่มีบทบัญยัติกฎหมายเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาได้วางหลักว่า ถ้าเป้นการแก้ไขโดยเพิ่มประเด็นขึ้นจากเดิม หรือมีข้อเท็จจริงเพิ่มจากเดิม ก็ต้องกระทำภายใน ระยะเวลาอุทธรณ์ หากเกินกำหนดเวลาดังกล่าว ก็เป็นการฝ่าฝืน มาตรา 229 และมาตรา 23 ฎีกาที่ 7198/2543

แต่มีข้อยกเว้นถ้ามเป็นการแก้ไขเล็กน้อยก็สามารถทำได้แม้เกินนระยะเวลาอุทธรณ์แล้วก็ตาม

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ

การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ

คำสั่งศาลตามมาตรา 199 วรรคหนึ่ง เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18 ต้องโต้แย้งเอาไว้จึงมีสิทธิอุทธรณ์ โดยอุทธรณ์หลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว และสามารถฎีกาได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุด

ซึ่งแตกกต่างกับการขอพิจารณาคดีใหม่ ก็คือ มาตรา 199 เบญจ วรรคสี่
-คำสั่งศาลที่อนุญาตให้พจารณาคดีใหม่ให้เป็นที่สุด
-ศาลไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ แล้วมีการอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาต อย่างนี้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด

การขออนุญาตยื่นคำให้การ

การขออนุญาตยื่นคำให้การ

มาตรา 199 วรรคหนึ่ง

*หลักเกณฑ์
1.จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การต้องมาศาลก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี
2.จำเลยต้องแจ้งต่อศาลว่าตนประสงค์จะต่อสู้คดี (หากไม่แจ้งไม่อาจยื่นคำให้การได้และขอพิจารณาคดีใหม่ก็ไม่ได้)
3.ไม่ใช่จำเลยตามมาตรา 199 วรรคสาม คือ
                 -จำเลยที่ศาลอนุญาตให้ยื่นคำให้การครั้งหนึ่งแล้ว แต่ไม่ยื่นภายในกำหนด

                 -จำเลยที่ศาลไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ ตาม 199 วรรคสอง
                 -ศาลเคยมีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่แล้ว แต่ไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนดอีก

*สิทธิของจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ
-มีสิทธิถามค้านพยานโจทก์ที่อยู่ระหว่างสืบพยานได้ แต่ไม่มีสิทธิสืบพยานของตน ม.199 วรรคสอง (มีสิทธิส่งพยานเอกสารประกอบการถามค้านได้นะ)

*คำร้องขออนุญาตต้องให้อีกฝ่ายคัดค้านก่อน ตามม.21(2)

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สัญญากู้ยืมเงิน


                                                        หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน

                                                                                                ทำที่ ..............................................

                                                                                    วันที่         ..................................................

                   หนังสือฉบับนี้ ทำขึ้นระหว่าง ................................................................................................. ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า ผู้กู้ ฝ่ายหนึ่ง กับ.............................................................................. ซึ่งต่อไปในสัญญานี้ จะเรียกว่า ผู้ให้กู้อีกฝ่ายหนึ่ง

                 ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญาดังมีข้อความต่อไปนี้  

ข้อ1. ผู้กู้ ได้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ไปเป็นเงินจำนวน...........................................บาท(...................................................)และ ผู้กู้ได้รับเงินกู้จำนวนดังกล่าวจาก ผู้ให้กู้ไปถูกต้องครบถ้วนแล้ว  ในขณะทำสัญญากู้ยืมเงินฉบับนี้

 

ข้อ2. ผู้กู้ยินยอมชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราร้อยละ..................................(......................................)ต่อปีโดยกำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนภายในวันที่..............ของทุกเดือน ณ.สถานที่อยู่ของผู้ให้กู้

 

ข้อ3.ผู้กู้ให้สัญญาว่าจะชำระหนี้เงินกู้ให้ครบถ้วนภายในวันที่...................................................................................

แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญานี้ทั้งหมด หรือแต่บางส่วน ก่อนครบกำหนดเวลาที่กล่าวมาก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร ผู้กู้สัญญาว่าในกรณีที่ผู้ให้กู้เรียกร้องให้ชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวแล้ว ผู้กู้จะชำระหนี้เงินกู้คืนให้ในทันที

 

ข้อ4. หากผู้กู้ผิดนัด ผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่ง ผู้ให้กู้มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินกู้คืนทั้งหมดได้ทันที และผู้กู้ยินยอมชดใช้ค่าปรับในอัตราร้อยละ 15(สิบห้า)ต่อปีของหนี้ที่ค้างอยู่เรื่อยไปจนกว่าจะได้ชำระให้ครบถ้วน

                  สัญญานี้ทำขึ้น2 ฉบับ มีข้อความตรงกันคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้อ่านและเข้าใจข้อความในสัญญาฉบับนี้โดยตลอดแล้ว เห็นว่าถูกต้องและตรงตามความประสงค์แล้วจึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานต่อหน้าพยาน และเก็บสัญญาไว้ฝ่ายละฉบับ

                                                                          ลงชื่อ...........................................................ผู้กู้

                                                                          ลงชื่อ...........................................................ผู้ให้กู้

                                                                          ลงชื่อ...........................................................พยาน

                                                                           ลงชื่อ...........................................................พยาน
                                                                                                                                                                     

หนังสือบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย


เขียนที่ ..................................................

วันที่ ..................................................

เรื่อง ขอบอกเลิก และเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย

เรียน บริษัท ........................................................

อ้างถึง กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ ..................................................

โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้า .............................................ผู้เอาประกันภัย ตามกรมธรรม์เลขที่ ...................................................  ขอบอกเลิกสัญญาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้  เนื่องจากไม่มีความประสงค์จะทำสัญญาประกันภัย  โดยข้าพเจ้าได้แนบกรมธรรม์ประกันภัยมาพร้อมกับหนังสือฉบับนี้ เพื่อเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยให้กับท่าน

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ขอแสดงความนับถือ

 

..........................................

          ทนายความผู้รับมอบอำนาจ                                       

หลักทรัพย์ประกัน

หลักทรัพย์ประกัน

*เงินฝาก
*เงินฝากในบัญชีธนาคารโดยมีหนังสือรับรองของธนาคารประกอบสมุดบัญชีเงินฝาก
*พันธบัตร
*ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์พร้อมหนังสือรับรองของกรมที่ดินรับรองราคาประเมิน
*ตำแหน่งหน้าที่ราชการตั้งแต่หรือเทียบเท่าระดับ 3 ขึ้นไป
ข้าราชการ
ระดับ 3-5 วงเงิน 60,000 บาท
ระดับ 6-8 วงเงิน 200,000 บาท
ระดับ 9-10 วงเงิน 500,000 บาท
ระดับ 11 วงเงิน 800,000 บาท
ทหาร หรือตำรวจ
ร้อยตรี-ร้อยเอก วงเงิน 60,000 บาท
พันตรี-พันเอก วงเงิน 200,000 บาท
ข้าราชการการเมือง วงเงินไม่เกิน 800,000 บาท ในขณะดำรงตำแหน่งทางการเมือง พร้อมหนังสือรับรองของผู้บังคับบัญชา

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

แชทในเวลาทำงาน นายจ้างเลิกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2557ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2553 ค่าจ้างเดือนละ 30,000 บาท จ่ายทุกวันที่ 30 ของเดือน มีระยะเวลาทดลองงาน 3 เดือน ในระหว่างระยะเวลาทดลองงานจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553 ให้มีผลทันที เนื่องจากในเวลาทำงานโจทก์ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยเล่นอินเตอร์เน็ตพูดคุยในเรื่องส่วนตัวและบันทึกข้อความทางอินเตอร์เน็ตเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละเป็นชั่วโมงก็มี ตามเอกสารหมาย ล.3 ถึง ล.6 ถือว่าโจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยไปในเรื่องไม่เกี่ยวกับงาน ทั้งที่อยู่ในระหว่างทดลองงานแทนที่จะทุ่มเททำงานให้จำเลยอย่างเต็มที่ โจทก์ทำงานด้านบัญชีจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ มิฉะนั้น จะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ กรณีเช่นนี้เป็นการกระทำประการอื่นไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยมิพักต้องบอกกล่าวหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าสินแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ประกอบพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคท้าย และการที่โจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยทำในเรื่องส่วนตัวย่อมจะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์เช่นกัน

                             ที่โจทก์อุทธรณ์ประการแรกว่า การกระทำของโจทก์ไม่ถึงกับเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฎิบัติหน้าที่ของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 เนื่องจากโจทก์มิได้กระทำความผิดอย่างร้ายแรง และจำเลยไม่ได้รับความเสียหายนั้น เห็นว่า บทบัญญัติมาตราดังกล่าวระบุเพียงว่า ถ้าลูกจ้างทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต นายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า...เท่านั้น หาได้ขยายความไปถึงกับว่าเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายและเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรงแต่อย่างใดไม่ อย่างไรก็ตามข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางที่ฟังว่าพฤติกรรมของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายได้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

                              ที่โจทก์อุทธรณ์ประการต่อมาว่า หนังสือเลิกจ้างเอกสารหมาย จ.2 หรือ ล.10 ระบุเหตุเลิกจ้างว่า การปฏิบัติงานของโจทก์ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ ...ไม่สามารถปฏิบัติงานตามที่มอบหมายได้ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละเป็นชั่วโมง จึงเป็นการกระทำประการอื่นไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 เป็นคำวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นนั้น เห็นว่า บทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิได้ห้ามมิให้นายจ้างยกเหตุอื่นขึ้นอ้างในภายหลังนอกจากเหตุที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างมาเป็นข้อต่อสู้ในกรณีเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และการที่โจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละเป็นชั่วโมง ย่อมเป็นเหตุให้งานในหน้าที่บกพร่องและล่าช้า ต่ำกว่ามาตรฐานที่จำเลยต้องการและไม่สามารถปฏิบัติงานตามที่มอบหมายได้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เหตุดังกล่าวก่อให้เกิดผลเชื่อมโยงกัน มิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางชอบด้วยกฎหมายแล้ว อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน

ค่าขาดประโยชน์เป็นสิทธิเฉพาะตัวของทายาท

คำพิพากษาที่ 6641/2548

                ศ.และโจทก์เป็นบุตรของ ม. คดีก่อน ศ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่า กระทำละเมิดเป็นเหตุให้ ม. ตาย ขอให้ชดใช้ค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะและค่าเสียหาย ของรถจักรยานยนต์ สำหรับค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์เป้นการฟ้องเพื่อประโยชร์ของทายาททุกคนรวมถึงโจทก์ด้วย ดังนี้ ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่ากระทำละเมิดเป็นเหตุให้ ม ตาย ขอให้ชดใช้ค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับคดีก่อน ในขณะคดีก่อนที่ ศ ฟ้องอยู่ระหว่างพิจารณา คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในเรื่องค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์จึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) และเมื่อศาลชั้นต้นในคดีก่อนได้มีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์แล้ว ฟ้องของโจทก์ในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามาตรา 144 ส่วนค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของทายาทแต่ละคนที่ได้รับและตามคำฟ้องคดีก่อน ศ ไม่ได้ฟ้องแทนโจทก์ แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์แก่ศ ก็เป็นการพิพากษาโดยไม่ชอบไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งมิใช่เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว คดีนี้โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ได้เฉพาะค่าขาดไร้อุปการะเท่านั้น
                 ส่วนฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะ จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยินยอมให้จำเลยที่ 1 ใช้รถในกิจการของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับนั้น ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดในค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ ของผู้ตายหรือไม่ ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่ได้เป็ฌนคู่ความเดียวกันกับคดีก่อนที่ ศ ฟ้อง จำเลยที่ 1 ดังนี้ คดีโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามาตรา 144

หนังสือรับสภาพหนี้


หนังสือรับสภาพหนี้

                                                ทำที่......................................................................

                                                .............................................................................

                                วันที่.....................................................................................

โดยหนังสือฉบับนี้   ข้าพเจ้า..............................................................................................................................................

อยู่ ณ เลขที่........................................................................................................................................................................................

ซึ่งต่อไปในหนังสือนี้เรียกว่า ผู้รับสภาพหนี้    ขอทำหนังสือฉบับนี้ไว้ให้แก่.............................................................................

อยู่ ณ เลขที่........................................................................................................................................................................................

ซึ่งต่อไปในหนังสือนี้เรียกว่า  เจ้าหนี้    ดังมีข้อความต่อไปนี้

               

ข้อ 1.       ผู้รับสภาพหนี้  ยอมรับว่าเป็นหนี้ เจ้าหนี้ เนื่องจาก............................................................................................

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ซึ่ง    วันทำหนังสือฉบับนี้  ผู้รับสภาพหนี้  ค้างชำระเป็นเงินรวมทั้งสิ้น................................................................................บาท

(.................................................................................................................)

               

ข้อ 2.       ผู้รับสภาพหนี้  ตกลงชำระหนี้  ดังกล่าวใน  ข้อ 1.  ให้แก่เจ้าหนี้ พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ................

(..............................)  ต่อปี  ของต้นเงินหนี้ที่ยังค้างชำระอยู่  โดยจะชำระให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา...............ปี    ดังนี้

                งวดที่  1  จำนวนเงิน.............................บาท  (......................................................)   ภายในวันที่......................................

                งวดที่  2  จำนวนเงิน.............................บาท  (.......................................................)  ภายในวันที่......................................

                ส่วนที่เหลือจำนวนเงิน..........................บาท  (......................................................)  ภายในวันที่......................................

               

ข้อ  3.      หากผู้รับสภาพหนี้ผิดนัดชำระหนี้งวดหนึ่งงวดใด   ตามข้อ  2     หรือผิดเงื่อนไขด้วยประการใด ๆ ก็ตาม  ให้ถือว่าผู้รับสภาพหนี้ผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมด      และยินยอมให้เจ้าหนี้เรียกร้องเงินในจำนวนที่ค้างชำระทั้งหมดจากผู้รับสภาพหนี้ได้ทันที

                ข้อ  4.      บรรดาค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ  เพื่อการบังคับชำระหนี้ตามหนังสือฉบับนี้      ผู้รับสภาพหนี้ยินยอมเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น          

 

หนังสือฉบับนี้ทำขึ้น....................ฉบับ     ข้าพเจ้าได้อ่าน   และเข้าใจข้อความในหนังสือรับสภาพหนี้ฉบับนี้โดยตลอดแล้ว   เห็นว่าถูกต้องและตรงตามความประสงค์ของข้าพเจ้า  จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานต่อหน้าพยาน

                                                                                                               

 

ลงชื่อ.............................................................................ผู้รับสภาพหนี้

(..........................................................................................................)

ลงชื่อ..........................................................................................พยาน(..........................................................................................................)ลงชื่อ..........................................................................................พยาน(.........................................................................................................)

ฎีกาที่ 4872/2550


คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4872/2550 เมื่อมีการโอนสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่ผู้รับโอนแล้วโดยผู้รับโอนมีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ทราบแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้ย่อมสมบูรณ์ และหากการโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้ยังไม่มีการยกเลิกกันโดยชอบ สิทธิของผู้โอนที่จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีก่อนนั้นย่อมตกเป็นของผู้รับโอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้อีก การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไปยังผู้ร้องจึงเป็นการไม่ชอบ ลูกหนี้มีสิทธิยื่นคำร้องให้เพิกถอนคำสั่งอายัดดังกล่าวได้

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการที่จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินจากผู้ร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีหมายเลขแดงที่ 15466/2542 ของศาลชั้นต้นให้แก่บริษัท ที.เอ็ม.เอส.อินเตอร์เทรด แอนด์ เซอร์วิส จำกัด โดยบริษัทดังกล่าวมีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องทราบแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้ย่อมสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่งและหากการโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้ยังไม่มีการยกเลิกกันโดยชอบ สิทธิของจำเลยที่จะได้รับชำระหนี้จากผู้ร้องซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนั้นย่อมตกเป็นของบริษัท ที.เอ็ม.เอส.อินเตอร์เทรด แอนด์ เซอร์วิส จำกัด จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะรับเงินตามคำพิพากษาในคดีนั้นจากผู้ร้อง เมื่อจำเลยสิ้นสิทธิที่จะได้รับเงินตามคำพิพากษาในคดีนั้นจากผู้ร้องแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไปยังผู้ร้องดังกล่าวไปยังผู้ร้องจึงเป็นการไม่ชอบผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องให้เพิกถอนคำสั่งอายัดดังกล่าวได้ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ยกคำร้องของผู้ร้องนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของผู้ร้องฟังขึ้น

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ทางสาธารณประโยชน์

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๘๗/๒๕๔๒ การที่จะพิจารณาว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือไม่ ต้องพิจารณาตามสภาพของทางพิพาทและการใช้ทางพิพาทว่าเข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๐๔ หรือไม่ ประกอบกับเจตนาของผู้ที่อุทิศที่ดินให้ทำทางพิพาท ได้ความว่า ทางพิพาทเฉพาะส่วนที่ผ่านที่ดินจำเลยซึ่งโจทก์ทั้งสี่และจำเลยได้ร่วมกันนำเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดมีความกว้าง ๓ เมตร ยาว ๒๔ เมตร และถนนดินที่ต่อจากทางพิพาทก็มีความกว้างใกล้เคียงกับทางพิพาทผ่านที่ดินแปลงอื่น ๆ อีกหลายแปลง ความกว้างของทางพิพาทดังกล่าวจึงไม่น่าจะใช้เฉพาะเป็นผนังกั้นน้ำหรือใช้เป็นทางเดินผ่านเท่านั้น แต่น่าจะใช้สำหรับเป็นทางล้อเกวียนและใช้รถยนต์แล่นผ่านได้ด้วยประกอบกับที่ดินจำเลยทางด้านทิศใต้จดถนนลูกรังสาธารณประโยชน์และถนนดินเริ่มต้นตั้งแต่ถนนลูกรังสาธารณประโยชน์ดังกล่าวผ่านที่ดินจำเลยที่ดินโจทก์ทั้งสี่และที่ดินของบุคคลอื่นอีกหลายแปลงเข้าไปเป็นระยะทางยาวประมาณ ๓ กิโลเมตร เชื่อได้ว่าถนนดินดังกล่าวทั้งสี่และชาวบ้านทั่วไปได้ใช้เป็นทางเดิน ใช้ล้อเกวียนสำหรับลากขนสัมภาระในการทำนาและใช้รถแล่นผ่าน นอกจากนี้จำเลยเคยลงชื่อมอบที่ดินบริเวณทางพิพาทให้ทางสุขาภิบาลคลองหลวงเพื่อทำถนนให้เป็นสาธารณประโยชน์ต่อส่วนรวมซึ่งมีพื้นผิวถนนกว้าง ๒ วา แสดงว่าจำเลยไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพียงใช้ถนนพิพาทเป็นผนังกั้นน้ำหรือคันกั้นน้ำเข้านาเท่านั้น แต่ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้อุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์โดยความสมัครใจของจำเลย ทางพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๐๔ (๒) จำเลยจึงไม่มีสิทธิกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการขัดขวางการใช้ทางพิพาทของโจทก์ทั้งสี่

เล่นอินเตอร์เน็ต ในเวลาทำงาน เลิกจ้างได้




คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2557 ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2553 ค่าจ้างเดือนละ 30,000 บาท จ่ายทุกวันที่ 30 ของเดือน มีระยะเวลาทดลองงาน 3 เดือน ในระหว่างระยะเวลาทดลองงานจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553 ให้มีผลทันที เนื่องจากในเวลาทำงานโจทก์ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยเล่นอินเตอร์เน็ตพูดคุยในเรื่องส่วนตัวและบันทึกข้อความทางอินเตอร์เน็ตเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละเป็นชั่วโมงก็มี ตามเอกสารหมาย ล.3 ถึง ล.6 ถือว่าโจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยไปในเรื่องไม่เกี่ยวกับงาน ทั้งที่อยู่ในระหว่างทดลองงานแทนที่จะทุ่มเททำงานให้จำเลยอย่างเต็มที่ โจทก์ทำงานด้านบัญชีจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ มิฉะนั้น จะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ กรณีเช่นนี้เป็นการกระทำประการอื่นไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยมิพักต้องบอกกล่าวหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าสินแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ประกอบพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคท้าย และการที่โจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยทำในเรื่องส่วนตัวย่อมจะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์เช่นกัน
                                     ที่โจทก์อุทธรณ์ประการแรกว่า การกระทำของโจทก์ไม่ถึงกับเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฎิบัติหน้าที่ของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 เนื่องจากโจทก์มิได้กระทำความผิดอย่างร้ายแรง และจำเลยไม่ได้รับความเสียหายนั้น เห็นว่า บทบัญญัติมาตราดังกล่าวระบุเพียงว่า ถ้าลูกจ้างทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต นายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า...เท่านั้น หาได้ขยายความไปถึงกับว่าเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายและเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรงแต่อย่างใดไม่ อย่างไรก็ตามข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางที่ฟังว่าพฤติกรรมของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายได้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
                                      ที่โจทก์อุทธรณ์ประการต่อมาว่า หนังสือเลิกจ้างเอกสารหมาย จ.2 หรือ ล.10 ระบุเหตุเลิกจ้างว่า การปฏิบัติงานของโจทก์ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ ...ไม่สามารถปฏิบัติงานตามที่มอบหมายได้ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละเป็นชั่วโมง จึงเป็นการกระทำประการอื่นไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 เป็นคำวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นนั้น
                                    เห็นว่า บทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิได้ห้ามมิให้นายจ้างยกเหตุอื่นขึ้นอ้างในภายหลังนอกจากเหตุที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างมาเป็นข้อต่อสู้ในกรณีเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และการที่โจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละเป็นชั่วโมง ย่อมเป็นเหตุให้งานในหน้าที่บกพร่องและล่าช้า ต่ำกว่ามาตรฐานที่จำเลยต้องการและไม่สามารถปฏิบัติงานตามที่มอบหมายได้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เหตุดังกล่าวก่อให้เกิดผลเชื่อมโยงกัน มิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางชอบด้วยกฎหมายแล้ว อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน



วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ภูมิลำเนาของนิติบุคคล

ถ้าสำนักงานใหญ่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของนิติบุคคลถูกไฟไหม้ แต่โครงหลังคาของสำนักงานแห่งใหญ่ยังอยู่ ถือว่ายังคงเป็นภูมิลำเนาของนิติบุคคลนั้น ฎีกาที่ 2129/2527

การเลื่อนคดีของคู่ความร่วม

การที่ศาลอนุญาตให้จำเลยคนใดคนหนึางเลื่อนคดี ย่อมมีผลไปถึงจำเลยร่วมคนอื่นซึ่งมีมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากันไม่ได้ด้วย ฎีกาที่ 2987/2525

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562 แม้ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 จะให้สิทธิผู้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียเมื่อใดก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้...