วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ฎีกาที่ 321/2536

การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พมาตรา 27 วรรคสอง ที่จะต้องยื่นคำร้องก่อนศาลมีคำพิพากษานั้น จะใช้บังคับในกรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายเพิ่งทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบนั้นภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วหาได้ไม่ เพราะเป็นการฝืนธรรมชาติที่จะบังคับให้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนโดยที่ตนยังไม่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ฎีกา 5622/2548

คำให้การของจำเลยไม่มีลายมือชื่อจำเลยหรือทนายจำเลยผู้ยื่นคำให้การ ไม่มีลายมือชื่อทนายจำเลยผู้เรียงและไม่มีลายมือชื่อผู้พิมพ์ เป็นคำคู่ความที่ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 (5) การที่ทนายจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในช่องหมายเหตุท้ายคำให้การจำเลยแผ่นแรกที่มีข้อความระบุว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบ" นั้น มิใช่เป็นการลงลายมือชื่อในคำคู่ความตามความหมายของมาตรา 67(5) ศาลชั้นต้นรับคำให้การจำเลยฉบับดังกล่าวโดยไม่คืนไปให้จำเลยทำมาใหม่ หรือให้จำเลยแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียให้ถูกต้อง จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 18 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปโดยไม่ได้ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนจึงไม่ชอบ

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ข้อหาความผิดเกี่ยวกับ ใบกระท่อม



พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522

ข้อหา ผลิต นำเข้า ส่งออก
มาตรา 75 ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท
          ถ้ายาเสพติดให้โทษ ซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดดังกล่าวมานั้น เป็นพืชกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท


ข้อหา ครอบครอง
มาตรา 76 ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 5 อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
            ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดดังกล่าวมาในวรรคหนึ่งนั้นเป็นพืชใบกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ข้อหา จำหน่าย หรือครอบครองเพื่อจำหน่าย
มาตรา 76/1 ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26 วรรคหนึ่ง โดยมีจำนวนยาเสพติดให้โทษไม่ถึงสิบกิโลกรัม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
            กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้ามียาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตั้งแต่สิบกิโลกรัมขึ้นไปต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท
           ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดดังกล่าวมาในวรรคหนึ่งนั้นเป็นพืชกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
          ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดดังกล่าวมาในวรรคสองนั้นเป็นพืชกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท






 
 

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ผู้ขายฝากที่ดินสละสิทธิในการไถ่ถอนได้หรือไม่ (ได้)

ฎีกาที่ 861/2515

ผู้ขายฝากกับผู้รับซื้อฝากตกลงกันระงับสิทธิไถ่ถอนการขายฝากโดยผู้รับซื้อฝากยอมยกหนี้เงินกู้รายอื่นนอกจากการขายฝากให้ผู้ขายฝากและให้ผู้ขายฝากทำนาในที่ดินที่ขายฝากโดยไม่คิดค่าเช่าอีก 1 ปี ฝ่ายผู้ขายฝากยอมยกที่พิพาทให้จำเลย ถือว่าผู้ขายฝากสละสิทธิไม่ไถ่ถอนที่ดินคืนแล้วและเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งไม่มีแบบของนิติกรรม

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ฎีกาที่ 4001-4002/2548

จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ที่ 1 แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยยอมให้โจทก์ที่ 1 เข้าครอบครองที่ดินพิพาทและจำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทนับเป็นการสละเจตนาครอบครองและไม่ยึดถือที่ดินพิพาทต่อไป การที่โจทก์ที่ 1 ครอบครองต่อมาและชำระภาษีบำรุงท้องที่ตลอดมาจึงเป็นการยึดถือโดยเจตนาจะยึด โจทก์ที่ 1 ย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นตามมาตรา 1373 การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว แม้จะมีชื่อจำเลยที่ 2 ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในฐานะผู้รับโอน ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ฎีกาที่ 3942/2553 การสำคัญผิดในคุณสมบัติ

ฎีกาที่ 3942/2553 การสำคัญผิดในคุณสมบัติ

ในการตกลงซื้อห้องชุดทั้ง 8 ห้องของโจทก์จากจำเลยนั้น โจทก์มีความประสงค์จะได้ห้องที่อยู่ชั้นบนสุด การที่จำเลยขออนุญาตดัดแปลงอาคารชุดจากที่มีเพียง 27 ชั้น เป็น 30 ชั้น ในภายหลังจากที่โจทก์ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยแล้ว โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบ และต่อมาโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวจากจำเลยโดยเข้าใจว่าห้องที่รับโอนมาอยู่ชั้นสูงสุดตามความประสงค์ของโจทก์ที่ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยมาแต่แรก นิติกรรมการโอนห้องชุดดังกล่าวระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินซึ่งถือว่าเป็นสาระสำคัญหากโจทก์ทราบว่าห้องชุดที่รับโอนกรรมสิทธิ์มามิใช่ชั้นสูงสุดตามความประสงค์โจทก์คงจะไม่ยอมรับโอน ดังนั้นนิติกรรมการโอนห้องชุดระหว่างโจทก์และจำเลยจึงตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ.มาตรา 157 โจทก์มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมการโอนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 176

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การครอบครองปรปักษ์ที่ดินกรรมสิทธิ์ของคนอื่น จะครบ 10 ปี แล้วแต่เจ้าของขายที่ดินเสียก่อน อย่างนี้นับระยะเวลาต่อกับเจ้าของใหม่ได้หรือไม่

การครอบครองปรปักษ์ที่ดิน

ฎีกาที่ 8700/2550

จำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ช. เมื่อ ช. ขายที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บิดาโจทก์ทั้งห้าก่อนจำเลยทั้งสองครอบครองครบกำหนดสิบปีจำเลยทั้งสองไม่อาจยกการครอบครองดังกล่าวขึ้นยันบิดาโจทก์ทั้งห้าได้การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสองจึงขาดตอนตั้งแต่บิดาโจทก์ทั้งห้าได้รับโอนกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนแล้วจำเลยทั้งสองจะต้องเริ่มนับระยะเวลาครอบครองที่ดินพิพาทใหม่จะนำระยะเวลาที่จำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินของ ช. มานับรวมด้วยไม่ได้เมื่อจำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทหลังจากบิดาโจทก์ทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์มายังไม่ครบ สิบปี จำเลยทั้งสองจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

กรณีที่ดินตาบอด (ที่ดินแปลงอื่นล้อมรอบไม่มีทางออก)

คำพิพากษาฎีกาที่ 2454/2536
ที่ดินของโจทก์และที่ดินของจำเลยอยู่ติดกันที่ดินของโจทก์มีที่ดินของจำเลยและที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ เมื่อปรากฎว่าหากโจทก์จะออกสู่ทางสาธารณะทางที่ไกล้ที่สุดจะต้องผ่านที่ดินของจำเลยตามที่พิพาทโจทก์จึงมีสิทธิจะใช้ที่พิพาทเป็นทางจำเป็นผ่านไปสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1349

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การโอนที่ดินตีใช้หนี้ ฎีกาที่ 4892/2542









ฎีกาที่ 4892/2542

บ.มารดาโจทก์ได้ยกที่ดินพิพาทตีใช้หนี้เงินกู้ให้แก่จำเลย โดยโจทก์และบุตรอื่นของ บ.รู้เห็นยินยอมด้วย แม้การยกที่ดินพิพาทตีใช้หนี้เงินกู้จะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งทำให้การได้มาซึ่งที่ดินพิพาทไม่บริบูรณ์ก็ตาม แต่หาเป็นโมฆะเสียเปล่าไม่ การยกที่ดินพิพาทตีใช้หนี้ยังคงใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา รวมทั้งทายาทหรือผู้สืบสิทธิของคู่สัญญาในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ ดังนี้ โจทก์ซึ่งรู้เห็นยินยอมด้วยในการยกที่ดินพิพาทตีใช้หนี้ให้แก่จำเลยและเป็นผู้สืบสิทธิมาจาก บ. จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดิน พิพาท





















วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559

มาตรา 289(4) (ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 198/2556

การฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน หมายความว่า ก่อนทำการฆ่าผู้กระทำความผิดได้คิดไตร่ตรองทบทวนแล้วจึงตกลงไปกระทำความผิด ไม่ใช่กระทำไปโดยปัจจุบันทันด่วน และการจะเป็นตัวการร่วมกันฐานฆ่าผู้อื่นไตร่ตรองไว้ก่อน จะต้องมีลักษณะเป็นการวางแผนคบคิดกันมาแต่ต้นที่จะฆ่าผู้อื่น ดังนั้น พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองตามไปรุมตีโจทก์ร่วมที่ร้านของ ช.เป็นเพราะความโกรธแค้นที่โจทก์ร่วมมีเรื่องกระทบกระทั่งกับจำเลยที่ ๑ ในวัด ม. ซึ่งเป็นเวลาก่อนเกิดเหตุประมาณ 2 ถึง 3 ชั่วโมงโดยจำเลยทั้งสองได้คบคิดตกลงกันตั้งแต่อยู่ที่บ้านของตนว่าจะออกไปติดตามทำร้ายโจทก์ร่วมเพื่อเป็นการแก้แค้น ทั้งได้มีการตระเตรียมไม้คนละท่อนจากบ้านติดตัวมาเป็นอาวุธใช้ตีทำร้ายโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยทั้งสองชี้ให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันคบคิดไตร่ตรองทบทวนล่วงหน้าก่อนจะกระทำผิดแล้ว หาใช่เป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน และมิได้มีการตระเตรียมวางแผนไว้ล่วงหน้าดังที่จำเลยทั้งสองฎีกา จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559

ผู้มีสิทธิเข้าประชุม

ผู้มีสิทธิเข้าประชุม

มาตรา 1176 ผู้ถือหุ้นทั่วทุกคนมีสิทธิจะเข้าประชุมในที่ประชุมใหญ่ได้เสมอ

วิธีการบอกกล่าว

วิธีการบอกกล่าว

มาตรา 1175 วรรคหนึ่ง คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ให้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของบริษัทก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษ ให้กระทำการดังว่านั้นก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน

เมื่อผู้สอบบัญชีว่างลง

เมื่อผู้สอบบัญชีว่างลง

มาตรา 1211 ถ้ามีตำแหน่งว่างลงในจำนวนผู้สอบบัญชีให้กรรมการนัดเรียกประชุมวิสามัญ เพื่อให้เลือกตั้งขึ้นใหม่ให้ครบจำนวน

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

การเพิ่มทุน

การเพิ่มทุน

มาตรา 1220 บริษัทจำกัดอาจเพิ่มทุนของบริษัทขึ้นได้ด้วยออกหุ้นใหม่โดยมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้น

*ต้องมีมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ และมติพิเศษให้เพิ่มทุนนี้ต้องนำไปจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้ลงมติ มาตรา 1228
*การเพิ่มทุนเป็นการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินทุนที่กำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิตามมาตรา 1098 ต้องมีการจดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิภายใน 14 วันนับแต่วันลงมติ มาตรา 1146

มาตรา 1222 บรรดาหุ้นที่ออกใหม่นั้น ต้องเสนอให้แก่ผู้ถือหุ้นทั้งหลายตามส่วนจำนวนหุ้นที่เขาถืออยู่

มาตรา 1222 วรรคสาม เมื่อวันที่กำหนดล่วงไปแล้วก็ดี หรือผู้ถือหุ้นได้บอกมาว่าไม่รับซื้อหุ้นนั้นก็ดี กรรมการจะเอาหุ้นเช่นนั้นขายให้แก่ผู้ถือหุ้นคนอื่นหรือจะรับซื้อไว้เองก็ได้

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

ป.วิ.พ.มาตรา 18 วรรคสอง

ฎีกาที่ 871/2550

ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 18 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฟ้องไว้แล้ว ภายหลังเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจึงจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับฟ้องและสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้อง เมื่อหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีและแต่งตั้งทนายความไม่ถูกต้อง การแต่งตั้งทนายความก็ไม่ถูกต้องไปด้วย ทนายความซึ่งลงลายมือชื่อในคำฟ้อง จึงไม่มีอำนาจทำการแทนในฐานะทนายความของโจทก์ เท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ศาลชั้นต้นจึงต้องสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับฟ้องและมีคำสั่งไม่รับฟ้องจึงไม่ชอบ

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ข้อความในคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่

ข้อความในคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่

มาตรา 1175 คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่นั้น ให้ระบุสถานที่ วัน เวลา และสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากัน และในกรณีที่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษให้ระบุข้อความที่จะนำเสนอให้ลงมติด้วย

จากมาตรานี้ ข้อความในคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่
1.ให้ระบุสถานที่ วัน เวลา
2.สภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากัน คือระเบียบวาระที่จะประชุมกันมีเรื่องอะไรบ้าง
3.ประชุมเพื่อลงมติพิเศษ ก็ให้ระบุข้อความที่จะนำเสนอให้ลงมติพิเศษด้วย

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ข้อความในคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่

ข้อความในคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่

มาตรา 1175  คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่นั้น ให้ระบุสถานที่ วัน เวลา และสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากัน และในกรณีที่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษให้ระบุข้อความที่จะนำเสนอให้ลงมติด้วย

จากมาตรานี้ ข้อความในคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่
1.ให้ระบุสถานที่ วัน เวลา
2.สภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากัน คือระเบียบวาระที่จะประชุมกันมีเรื่องอะไรบ้าง
3.ประชุมเพื่อลงมติพิเศษ ก็ให้ระบุข้อความที่จะนำเสนอให้ลงมติพิเศษด้วย 

การประชุมวิสามัญ

การประชุมวิสามัญ

เป็นการประชุมใหญ่ครั้งอื่นๆ อาจมีข้อบังคับกำหนดไว้ มีเรื่องรีบด่วนที่ต้องให้ที่ประชุมวินิจฉัย
โดยมาตรา 1172 , 1173 , 1174 ,1211 วางหลักไว้ให้เรียประชุมได้ด้วย

คือ
*กรรมการเห็นสมควร
มาตรา 1172 วรรคแรก บัญญัติว่า กรรมการจะเรียกประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้สุดแต่จะเห็นสมควร

*เมื่อบริษัทขาดทุนถึงกึ่งจำนวนต้นทุน
มาตรา 1172 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าบริษัทขาดทุนลงถึงกึ่งจำนวนต้นทุนกรรมการต้องเรียกประชุมวิสามัญทันทีเพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบการที่ขาดทุนนั้น (ไม่เรียกมีความผิด ตาม มาตรา 27 ตามพระราชบัญญติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ)

*เมื่อผู้ถือหุ้นมีจำนวนหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าแห่งจำนวนหุ้นบริษัท ขอให้เรียกประชุม
มาตรา 1173 การประชุมวิสามัญจะต้องนัดเรียกให้มีขึ้นในเมื่อผู้ถือหุ้นมีจำนวนหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าแห่งจำนวนหุ้นของบริษัท ได้เข้าชื่อกันทำหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมเช่นนั้นในหนังสือร้องขอนั้นต้องระบุว่าประสงค์ให้เรียกประชุมเพื่อการใด
มาตรา 1174 เมื่อผู้ถือหุ้นยื่นคำร้องขอให้เรียกประชุมวิสามัญดั่งได้กล่าวมาในมาตราก่อนนี้แล้ว ให้กรรมการเรียกประชุมโดยพลัน
          ถ้ากรรมการมิได้เรียกประชุมภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคำร้องไซร้ ผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งเป็นผู้ร้อง หรือผู้ถือหุ้นคนอื่นๆรวมกันได้จำนวนดั่งบังคับไว้นั้นจะเรียกประชุมเองก็ได้

*เมื่อผู้สอบบัญชีว่างลง
มาตรา 1211 ถ้ามีตำแหน่งว่างลงในจำนวนผู้สอบบัญชีให้กรรมการนัดเรียกประชุมวิสามัญ เพื่อให้เลือกตั้งขึ้นใหม๋ให้ครบจำนวน


การประชุมสามัญ

การประชุมสามัญ

มาตรา 1171 วรรคแรก บัญญัติว่า ให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นทั่วไปเป็นประชุมใหญ่ภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนบริษัท และต่อนั้นไปก็ให้มีการประชุมเช่นนี้ครั้งหนึ่งเป็นอย่างน้อยทุกระยะเวลาสิบสองเดือน

***เป็นบทบังคับเด็ดขาด ฝ่าฝืนเป็นความผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 16 และ 25 บริษัทอาจถูกปรับไม่เกินสองหมื่นบาท กรรมการอาจถูกปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ผู้มีสิทธิลงมติในที่ประชุมบริษัท

ผู้มีสิทธิลงมติในที่ประชุมบริษัท

มาตรา 1109 วรรคแรก ผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นที่เข้าร่วมประชุม หรือผู้รับมอบฉันทะย่อมมีสิทธิลงมติในที่ประชุมในปัญหาใดๆก็ได้ เว้นแต่ตนจะมีส่วนได้เสียเป็นพิเศาในปัญหานั้นๆ

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับหรือหนังสือบริคณห์สนธิ

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับหรือหนังสือบริคณห์สนธิ

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับหรือหนังสือบริคณห์สนธิจะทำได้ต่อเมื่อมีมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่

-ตามมาตรา 1145 จำเดิมแต่ได้จดทะเบียนบริษัทแล้ว ท่านห้ามมิให้ ตั้งข้อบังคับขึ้นใหม่ หรือเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อบังคับหรือข้อความใน หนังสือบริคณห์สนธิแต่อย่างหนึ่งอย่างใด เว้นแต่จะได้มีการลงมติพิเศษ

และจะต้องจดทะเบียนภายใน 14 วัน
-ตามมาตรา 1146 บรรดาข้อบังคับอันได้ตั้งขึ้นใหม่ หรือได้เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงนั้น เป็นหน้าที่ของบริษัทที่จะจัดให้ไปจดทะเบียนภายใน กำหนดสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้มีการลงมติพิเศษ


หากฝ่าฝืนมีความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 13 มีความผิดปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

การเพิ่มทุน

การเพิ่มทุน

1.เพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ มาตรา 1220 บริษัทจำกัดอาจเพิ่มทุนของบริษัทขึ้นได้ด้วยออกหุ้นใหม่โดยมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้น

2.ต้องมีมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่

3.บรรดาหุ้นที่ออกใหม่ ต้องเสนอให้แก่ผู้ถือหุ้นทั้งหลายตามส่วนจำนวนหุ้นที่เขาถือ มาตรา 1222 วรรคหนึ่ง

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2556

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2556

การที่โจทก์ร่วมเข้าเป็นโจทก์ในคดีนี้ ก็เพราะโจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นหมายเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีตาม ป.พ.พ.มาตรา 477 และ549 อันเป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(3) โจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 58 วรรคหนึ่ง หาใช่เป็นการร้องสอดเข้าเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(2) ซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ตนเข้าร่วมไม่ ดังนั้่นแม้ฟ้องเดิมโจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ร่วมก็เข้ามาในคดีได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในส่วนคดีของโจทก์ร่วมโดยเห็นว่าโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้องตามคดีส่วนของโจทก์และไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในคดีส่วนของโจทก์ร่วมนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย

การจ่ายเงินปันผล

การจ่ายเงินปันผล

                 การจ่ายเงินปันผลต้องได้รับอนุญาตจากที่ประชุมใหญ่ ตามคำเสนอแนะของคณะกรรมการ และการประกาศให้เงินปันผลเป็นอำนาจของที่ประชุมใหญ่ตามมาตรา 1201 วรรคแรก
                แต่กรรมการอาจจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลได้ ซึ่งเป็นการจ่ายไประหว่างปี ก่อนได้รับอนุญาตจากที่ประชุมใหญ่ตามมาตรา 1201 วรรคสอง แต่จะจ่ายได้บริษัทต้องมีกำไรพอจะจ่ายเงินปันผล โดยไม่มีกฎหมายให้กรรมการขออนุมัติจากที่ประชุมภายหลัง เว้นแต่ข้อบังคับของบริษัทจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
              ห้ามจ่ายเงินปันผลจาหกเงินอย่างอื่นนอกจากกำไร ตามมาตรา 1201 วรรคสาม
              ห้ามจ่ายเงินปันผลจนกว่าบริษัทจะแก้ไขให้หายขาดทุน ตามมาตรา 1201วรรคสาม
              ต้องจัดสรรกำไรสมทบทุนสำรองก่อนจ่ายเงินปันผล มาตรา 1202 อย่างน้อยหนึ่งในยี่สิบของจำนวนกำไร
              หากฝ่าฝืนมาตรา 1201 , 1202 เป็นความผิดบริษัทและกรรมการต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และ 50,000 บาท

วิธีการจ่ายเงินปันผล
1.กฎหมายกำหนดต้องมีการบอกกล่าวว่าจะจ่ายเงินปันผล มาตรา 1204 ไปยังตัวผู้ถือหุ้นที่ปรากฎชื่อในทะเบียนทุกคน แต่หากเป็นหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ ให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องถิ่นอย่างน้อยหนึ่งคราว หากฝ่าฝืนเป็นความผิดบริษัทและกรรมการต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และ 50,000 บาท

2.ต้องจ่ายตามส่วนที่ชำระราคาแล้วของแต่ละหุ้น เว้นแต่ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในเรื่องหุ้นบุริมสิทธิ

3.คิดดอกเบี้ยค้างจ่ายเงินปันผลกับบริษัทไม่ได้ มาตรา 1205


ผู้ถือหุ้น ตามมาตรา 1203 จะรับผิดคืนเงินปันผลต่อเมื่อไม่สุจริต รู้ถึงการจ่ายเงินที่ไม่ถูกต้อง ถ้าสุจริตก็ไม่ต้องคืน





วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

ฎีกาที่ 7032/2539

ฎีกาที่ 7032/2539

การที่ทนายโจทก์อ้างว่าหลงลืมวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงมิได้ยื่นฎีกาในกำหนดอายุฎีกานั้น มิใช่เหตุสุดวิสัย

คำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์

คำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ อ้างว่าที่ประชุมกรรมการบริษัทโจทก์เพิ่งมีมติให้ยื่นอุทธรณ์ เวลาที่เหลือยื่นอุทธรณ์ไม่ทัน เป็นพฤติการณ์พิเศษ เพราะโจทก์มีฐานะเป็นนิตบุคคลการใดๆเรื่องสำคัญต้องกระทำในรูปมติของคณะกรรมการบริษัทซึ่งไม่คล่องตัวหรือล่าช้า

ศาลที่บังคับคดีแทน



ศาลที่บังคับคดีแทนจะงดการบังคับคดีไม่ได้ ตามฎีกาที่ 2769/2539

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

การโอนหุ้น

มาตรา 1129

การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและมีพยานลงชื่อรับรองลายมืออย่างน้อย 1 คน มิฉะนั้นเป็นโมฆะ

มาตรา 1129 วรรคสอง หนังสือโอนหุ้นจะต้องระบุเลขหมายของหุ้น ฎีกาที่ 1086/2512

หุ้นและผู้ถือหุ้น

ฎีกาที่ 2131/2519

บริษัทเอาเงินที่ผู้ถือหุ้นให้ยืมมา หักกับราคาหุ้นที่ผู้ถือหุ้นค้างชำระ ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 1119 ถือว่ายังไม่ได้ชำระค่าหุ้นในส่วนนี้

ผู้เริ่มก่อการบริษัท

ผู้เริ่มก่อการบริษัท ต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัด ในส่วนของหนี้และเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทไม่อนุมัติ และถึงแม้จะอนุมัติยังต้องรับผิดจนกว่าจะจดทะเบียนตั้งบริษัท มาตรา 1113

ห้างหุ้นส่วนสามัญ

ห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่ได้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย จึงเข้าเป็นคู่ความในคดีไม่ได้ ฎีกาที่ 3625/2546

คำฟ้องขัดกันเอง

คำฟ้องขัดกันเองถือว่าเป้นคำฟ้องที่เคลือบคลุม  ฎีกาที่ 493/2495

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

การออกหุ้นบุริมสิทธิ

หุ้นบุริมสิทธิ หมายถึงหุ้นที่มีสิทธิ และหน้าที่ แตกต่างไปจากหุ้นสามัญ ซึ่งอาจจะมีสิทธิและหน้าที่ที่ดีกว่า หรือด้อยกว่าหุ้นสามัญก็ได้

บริษัทจำกัดที่มีหุ้นสามัญเพียงประเภทเดียว ถ้าประสงค์จะมีหุ้นบุริมสิทธิ สามารถทำได้ โดยการเพิ่มทุน ด้วยการออกหุ้นใหม่

ในการเพิ่มทุนออกหุ้นใหม่นั้น หุ้นที่ออกใหม่กรรมการต้องเสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละราย บริษัทไม่สามารถเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ให้กับบุคคลภายนอกได้ ตาม ปพพ. มาตรา 1222

โดยการเพิ่มทุนออกหุ้นสามารถทำเป็นหุ้นบุริมสิทธิ เพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่ดีกว่าหุ้นสามัญได้ เช่น การมีสิทธิออกเสียง หากต้องการให้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์ออกเสียง สามารถกำหนดได้ โดยจะให้ออกเสียงได้เท่ากับ น้อยกว่า หรือมากกว่าหุ้นสามัญ สามารถดำเนินการได้ ทำให้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ 1 หุ้น มีสิทธิลงคะแนนเสียง 10 เสียง   ก็ทำได้

แต่ถ้าบริษัทมีการออกหุ้นบุริมสิทธิไว้แล้ว ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ตามมาตรา 1142 กำหนดไว้ว่า “ถ้าบริษัทได้ออกหุ้นบุริมสิทธิไปแล้ว ได้กำหนดไว้ว่าบุริมสิทธิจะมีแก่หุ้นนั้นๆ เป็นอย่างไร ท่านห้ามมิให้แก้ไขอีกเลย

ลูกจ้างกระทำผิดระเบียบ วินัยของบริษัท

คำพิพากษาฎีกาที่ 599/2557

ระเบียบของจำเลยว่าด้วยการบริหารงานบุคคลตอนที่ 2 ว่าด้วยวินัย การลงโทษ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ พ.ศ.2537 ข้อ 5.12 ระบุว่า พนักงานต้องรักษาวินัยที่กำหนดไว้ต่อไปนี้โดยเคร่งครัด คือ รักษาเกียรติชื่อเสียงของบริษัท ไม่ประพฤติชั่ว ไม่ประพฤติตนเป็นอันธพาล ไม่กระทำผิดกฎหมายหรือศิลธรรมอันดี รวมทั้งไม่ประพฤติตนอันเป็นภัยต่อสังคม หรือบริษัท การที่โจทก์นำภาพถ่ายเปลือยของหญิงและภาพถ่ายการร่วมประเวณีระหว่างหญิงดังกล่าวกับโจทก์ที่โจทก์บันทึกไว้ออกเผยแพร่เพื่อประจานฝ่ายหญิงนั้น เป็นการกระทำของผู้ที่มีจิตใจผิดปกติที่คนธรรมดาจะพึงกระทำ และการกระทำของโจทก์ปรากฎเป็นข่าวทางหนังสือพิมพ์รายวัน โดยในข่าวระบุว่าโจทก์เป็นพนักงานฝ่ายช่างของจำเลย จึงย่อมกระทบต่อเกียรติและชื่อเสียงของจำเลย ถือว่าโจทก์ไม่รักษาเกียรติและชื่อเสียงของจำเลยและยังเป็นการประพฤติชั่ว รวมทั้งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีอีกด้วย แม้โจทก์จะกระทำนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลาทำงานก็เป็นกากระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

ฎีกาที่ 7114/2557

คำพิพากษาฎีกาที่ 7114/2557

ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยขอยืมโฉนดที่ดินของโจทก์เพื่อนำไปใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครูแต่ต้องให้จำเลยเข้าไปมีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินโดยจำเลยมิได้มีเจตนาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินกับโจทก์ ต่อมาจำเลยนำที่ดินของจำเลยไปจดทะเบียนจำนองเป็นหลักประกันแทนที่ดินของโจทก์ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูจึงมอบโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยและอนุมัติให้จำเลยไปไถ่ถอนจำนองได้ แต่จำเลยไม่ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์พร้อมคืนโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ จึงเป็นเรื่องของการฟ้องเพื่อติดตามเอาทรัพย์คืนในฐานะเจ้าของทรัพย์สินที่ได้ให้จำเลยยืมโฉนดที่ดินไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ แม้โจทก์จะอ้างว่านิติกรรมที่โจทก์ยินยอมให้จำเลยเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินเป็นการแสดงเจตนาลวงและเป็นนิติกรรมอำพรางกับมีคำขอให้บังคับให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นก็ไม่ใช่เป็นเรื่องฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลซึ่งนิติกรรมใดๆที่จำเลยได้กระทำขึ้นต่อมาหลังจากนั้นโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 อันจะทำให้มีกำหนดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 240

คำพิพากษาฎีกาที่ 609/2557

คำพิพากษาฎีกาที่ 609/2557

เมื่อจำเลยขอคืนเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดไว้ตามหมายบังคับคดีที่สิ้นผลแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลย และแม้จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาให้ศาลฎีกามีคำสั่งคืนเงินดังกล่าวนั้น เมื่อการเสนอคำร้องขอที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษา ป.วิ.พ. มาตรา 7(2) บัญญัติให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302 และศาลที่มีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใดๆอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 302 คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั่นต้นการที่ศาลชั้นต้นสอบถามและมีคำสั่งให้คืนเงินแก่จำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1421/2558

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1421/2558

จำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทการในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ต้องถือตามจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันจริงในชั้นอุทธรณ์ มิได้ถือตามจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันมาตั้งแต่ในศาลชั้นต้น แม้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลชั้นต้นเกินกว่า 50,000 บาท แต่อุทธรณ์ของผู้ร้องโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ผู้ร้องรับผิดเพียงจำนวน 36,000 บาท ส่วนค่าเสียหายรายเดือนภายหลังวันที่ยื่นคำร้องเป็นค่าเสียหายในอนาคตอันยังไม่ถึงกำหนดเกิดขึ้นในเวลายื่นคำร้องไม่อาจคำนวณรวมเข้าด้วยเป็นทุนทรัพย์ในคดี  อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าว

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559

หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี

หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีกฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้อง

คำพิพากษาฎีกาที่ 6154/2558

โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ก.เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทน ตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง แม้ไม่ปรากฎรอยตราสำคัญของบริษัทโจทก์ประทับไว้ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เสียไป เราพหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 18

คำพิพากษาฎีกาที่ 962/2534

คำพิพากษาฎีกาที่ 962/2534

             การที่ ฉ.ลงลายมือชื่อในคำรับเป็นทนายความในใบแต่งทนายความ 2 ฉบับซึ่งไม่มีข้อความระบุว่า ผู้ร้องทั้งสองได้แต่งตั้งให้ ฉ .เป็นทนายความแต่ระบุชื่อ น.เป็นทนายความเช่นนี้ ฉ. จึงมิใช่ทนายความของผู้ร้องทั้งสองและไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในคำร้องขัดทรัพย์แทนผู้ร้องทั้งสองตาม ป.วิ.พ.มาตรา 62
            คำร้องขัดทรัพย์มีลักษณะเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1(3) จึงต้องลงลายมือชื่อของผู้ร้องทั้งสองตามมาตรา 67(5) หรือลายมือชื่อของทนายความที่ผู้ร้องแต่งตั้งตามมาตรา 62 มิฉะนั้นคำร้องดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 67(5) ศาลต้องสั่งคืนคำร้องนั้นไปให้ผู้ร้องทั้งสองแก้ไขภายในระยะเวลาตามที่เห็นสมควรจะกำหนดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แต่คำร้องขัดทรัพย์ที่ลงลายมือชื่อโดยทนายความผู้ไม่มีอำนาจ มิใช่กรณีที่คำร้องไม่มีลายมือชื่อของผู้ร้องอันจะสั่งให้แก้ไขได้ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ศาลชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับคำร้องนั้น 
         

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562 แม้ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 จะให้สิทธิผู้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียเมื่อใดก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้...