หุ้นบุริมสิทธิ หมายถึงหุ้นที่มีสิทธิ และหน้าที่ แตกต่างไปจากหุ้นสามัญ
ซึ่งอาจจะมีสิทธิและหน้าที่ที่ดีกว่า หรือด้อยกว่าหุ้นสามัญก็ได้
บริษัทจำกัดที่มีหุ้นสามัญเพียงประเภทเดียว ถ้าประสงค์จะมีหุ้นบุริมสิทธิ
สามารถทำได้ โดยการเพิ่มทุน ด้วยการออกหุ้นใหม่
ในการเพิ่มทุนออกหุ้นใหม่นั้น
หุ้นที่ออกใหม่กรรมการต้องเสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละราย
บริษัทไม่สามารถเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ให้กับบุคคลภายนอกได้ ตาม ปพพ. มาตรา 1222
โดยการเพิ่มทุนออกหุ้นสามารถทำเป็นหุ้นบุริมสิทธิ เพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่ดีกว่าหุ้นสามัญได้ เช่น การมีสิทธิออกเสียง หากต้องการให้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์ออกเสียง สามารถกำหนดได้ โดยจะให้ออกเสียงได้เท่ากับ น้อยกว่า หรือมากกว่าหุ้นสามัญ สามารถดำเนินการได้ ทำให้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ 1 หุ้น มีสิทธิลงคะแนนเสียง 10 เสียง ก็ทำได้
แต่ถ้าบริษัทมีการออกหุ้นบุริมสิทธิไว้แล้ว ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ตามมาตรา 1142 กำหนดไว้ว่า “ถ้าบริษัทได้ออกหุ้นบุริมสิทธิไปแล้ว ได้กำหนดไว้ว่าบุริมสิทธิจะมีแก่หุ้นนั้นๆ เป็นอย่างไร ท่านห้ามมิให้แก้ไขอีกเลย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195/2567
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195/2567 โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ หลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาได้ชำระค่าเช่าซื้อ...
-
จากข้อเท็จจริง ขาวยิงแดงตายโดยคิดว่าแดงเป็นหมูป่า ซึ่งหลบอยู่หลังพุ่มไม้ แม้ขาวไม่ผิดฐานฆ่าแดงตายโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 เพราะ...
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 712/2557 จำเลย ประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดิน ทราบดีว่าที่ดินมีแนวสายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านไม่อาจปลูกสร้างบ้านในที่ดินเต็มเนื้อที่ ...
-
ในสัญญาเช่า มักมีข้อความว่า ผู้เช่าสัญญาว่าจะจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น