วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

ฎีกาที่ 2196/2533

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยร่วมขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยร่วมใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยร่วมยื่นคำให้การโดยแนบคำให้การมากับคำร้องด้วย ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าจำเลยร่วมจงใจไม่ยื่นคำให้การ ดังนี้ิ เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจมีคำสั่งไปตามมาตรา 199 โดยยังมิได้ตรวจคำให้การของจำเลยร่วม จึงมิใช่เป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18 จะนำเอามาตรา 18 วรรคท้ายมาปรับแก่คดีไม่ได้ คำสั่งที่ว่าจำเลยร่วมจงใจขาดนัดยื่นคำให้การย่อมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

ฎีกาที่ 901/2511

ฎีกาที่ 901/2511

การพิจารณาคดีชั้นร้องขัดทรัพย์ ถือเป็นการพิจารณาคดีในเรื่องเดิม ถึงแม้คดีร้องขีดทรัพย์จะมีทุนทรัพย์เกินอำนาจศาลแขวง ศาลแขวงก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้

ฎีกาที่ 2403/2523

ฎีกาที่ 2403/2523

จำเลยหลายคนมีภูมิลำเนาต่างกัน โจทก์ฟ้องจำเลยทุกคนต่อศาลที่จำเลยคนหนึ่งคนใดมีภูมิลำเนาแล้ว แม้ต่อมาโจทก์จะถอนฟ้องจำเลยที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลนั้น ศาลนั้นก็ยังพิจารณาคดีจำเลยซึ่งไม่มีภููมิลำเนาในเขตอำนาจศาลนั้นต่อไปได้

คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 4ทวิ

คำฟ้องที่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิ หรือประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ต้องฟ้องต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ หรือต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ แล้วแต่โจทก์จะเลือกยื่นฟ้องต่อศาลใด

กรณีจำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร

ฎีกาที่ 6437/2541

จำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักร จึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่ง ได้

ฎีกาที่ 3994/2540

ฎีกาที่ 3994/2540

โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งหกให้รับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งมีจำเลยที่ 6 เป็นผู้ค้ำประกัน เป็นคำฟ้องเกี่ยวกับหนี้เหนือบุคคลซึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4(1) โจทก์สามารถฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 6 มีภูมิลำเนาในเขตศาลจังหวัดสงขลา ทั้งมูลคดีก็เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดสงขลา คดีย่อมอยู่ในอำนาจศาลจังหวัดสงขลา ที่จะพิจารณาพิพากษาได้ โดยไม่จำต้องยื่นคำร้องแสดงเหตุให้ศาลจังหวัดสงขลารับคดีไว้พิจารณา

ฎีกาที่ 4443/2546

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4443/2546

คำว่า มูลคดีเกิด หมายถึงต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งคำฟ้อง คดีนี้โจทก์ฟ้องหย่าจำเลย ต้นเหตุของคำฟ้องคือเหตุหย่า ส่วนการจดทะเบียนสมรสเป็นต้นเหตุของความเป็นสามีภรรยา สถานที่จดทะเบียนสมรสจึงหาใช่เป็นสถานที่มูลคดีของเหตุฟ้องหย่าไม่ เมื่อปรากฎตามคำฟ้องของโจทก์ได้ความว่าในระหว่างสมรสโจทก์จำเลยพักอาศัยอยู่บ้านเดียวกันที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จำเลยกระทำการเป็นปรปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา โดยทำร้ายร่างกายโจทก์และขับไล่โจทก์ออกจากบ้าน อันเป็นเหตุฟ้องหย่า ฉะนั้น จังหวัดนครศรีธรรมราชจึงเป็นสถานที่มูลคดีของเหตุฟ้องหย่าเกิด ทั้งจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยที่ศาลจังหวัดพัทลุง ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

คู่ความมรณะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2516
การที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความตามมาตรา 42 จะต้องเป้นการที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้นเอง เมื่อคู่ความมรณะระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปี แต่ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งจำหน่ายคดีจนกระบวนพิจารณาได้ผ่านจากชั้นศาลอุทธรณ์มาเป็นกระบวนพิจารณาชั้นฎีกา โดยศาลชั้นต้นได้สั่งให้ทายาทของผู้มรณะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่และได้สั่งรับฎีกาแล้ว ย่อมมิใช่เป้นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลฎีกา ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีมิได้

วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

การขอขยายระยะเวลาบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2526
ระยะเวลา 10 ปี ตามมาตรา 271 เป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ ใน ป.วิ.พ. ศาลมีอำนาจสั่งขยายหรือย่นเข้าได้ตามมาตรา 23 จึงไม่ใช่อายุความฟ้องร้องคดี เพราะอายุความฟ้องร้องคดีนั้น ป.พ.พ.มาตรา 191 บัญญัติว่าผู้ใดหาอาจจะขยายหรือย่นเข้าได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2769/2539

คำร้องที่ขอให้ศาลงดการบังคับคดีเป้นคำร้องที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดี ศาลที่มีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องดังกล่าวคือศาลแพ่งซึ่งเป้นศาลซึ่งเป็นศาลที่พิจารณาและชี้ขาดคดีในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 302 วรรคหนึ่ง ศาลจังหวัดตราดซึ่งเป็นศาลที่ได้รับมอบหมายจากศาลแพ่งให้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์ โดยขายทอดตลาดแทนไม่มีอำนาจสั่งให้งดการบังคับคดีตามคำร้องของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2511

การพิจารณาคดีชั้นร้องขัดทรัพย์ ถือเป็นการพิจารณาคดีในเรื่องเดิม ถึงแม้คดีร้องขัดทรัพย์จะมีทุนทรัพย์เกินอำนาจศาลแขวง ศาลแขวงก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403/2523

จำเลยหลายคนมีภูมิลำเนาต่างกัน โจทก์ฟ้องจำเลยทุกคนต่อศาลที่จำเลยคนหนึ่งคนใดมีภูมิลำเนาแล้ว แม้ต่อมาโจทก์จะถอนฟ้องจำเลยที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลนั้น ศาลนั้นก็ยังพิจารณาคดีจำเลยซึ่งไม่มีภูมิลำเนาในเขตศาลนั้นต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562 แม้ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 จะให้สิทธิผู้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียเมื่อใดก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้...