วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ฎีกาที่ 7340/2542

ต้นยูคาลิปตัส เป็นต้นไม้ที่มีอายุหลายปี โดยสภาพถือว่าเป็นไม้ยืนต้น แม้โจทก์จะอ้างว่าปลูกไว้เพื่อตัดขาย เป็นการปลูกลงในพื้นดินเป็นการชั่วคราว แต่ก็จะต้องใช้เวลาปลูกนานประมาณ 3 ถึง 5 ปีถึงจะตัดฟันนำไปใช้ประโยชน์ได้ และหลังจากตัดฟันแล้วตอที่เหลือก็จะแตกยอดเจริญเติบโตขึ้นเป็นลำต้นใหม่ หลังจากนั้นประมาณ 3 ปี ก็จะเจริญงอกงามเหมือนเดิม แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาปลูกต้นยูคาลิปตัสไว้เพื่อใช้ประโยชน์เป็นช่วงระยะเวลานานตลอดไป หาใช่ปลูกแล้วตัดฟันใช้ครั้งเดียวก็สิ้นสุด ต้นยูคาลิปตัสจึงเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท (ตามาตรา 145 วรรค 1 )

ฎีกาที่ 3737/2553

แม้ในการซื้อขายสิ่งปลูกสร้างพิพาท ผู้ร้องกับจำเลยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่สิ่งปลูกสร้างนี้อยู่บนที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 7412 ซึ่งจำเลยทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนขายฝากให้แก่ผู้ร้องแล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินย่อมตกเป็นของผู้ร้อง เมื่อบ้านเลขที่ 50 อยู่บนที่ดินดังกล่าวมาก่อน และจำเลยยังได้ทำหนังสือสัญญาโอนสิ่งปลูกสร้างนั้นให้แก่ผู้ร้องด้วย สิ่งปลูกสร้างจึงเป็นส่วนควบของที่ดินซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 144 วรรคสอง บัญญัติว่า เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น เช่นนี้ การที่โจทก์นำยึดสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องในฐานะเจ้าของทรัพย์ ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การคิดดอกเบี้ยของค่าปรับ

ฎีกาที่ 252/2548

จำนวนเงินค่าเสียหายที่ศาลกำหนดรวมทั้งเบี้ยปรับเป็นหนี้เงินโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ทั้งจำนวน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่เพียงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปเท่านั้น

ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ

เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการบริโภคหรือจากการใช้บริการเฉพาะอย่าง เมื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้วก็จะไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะคือ

1.บุคคลธรรมดา
2.คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
3.ห้างหุ้นส่วนจำกัด
4.บริษัท
5.นิติบุคคลอื่น เช่นสมาคม มูลนิธิ

การประกอบการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ มาตรา 91/2
1. การธนาคาร
2.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
3.การประกันชีวิต
4.การรับจำนำ
5.การประกอบการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
6.การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร
7.การขายหลักทรัพย์ ตามกฎหมายตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
8.กิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์
9.การประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง
10.การประกอบธุรกิจบัตรเครดิต

กิจการที่ได้รับยกเว้น

1.ธนาคารของรัฐ
2.บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม
3.สหกรณ์ออมทรัพย์
4.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
5.การเคหะแห่งชาติ
6.โรงรับจำนำ
7.อื่นๆตามพระราชกฤษฎีกา


คนต่างด้าวซื้อที่ดิน

ฎีกาที่ 301/2538

ขณะซื้อที่ดินพิพาทจากบริษัท ย.โจทก์เป็นคนต่างด้าว นิติกรรมการซื้อขายเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ที่แก้ไขใหม่ ) แต่ไม่ทำให้นิติกรรมเสียเปล่าไปซึ่งประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94 ให้อำนาจที่จะจำหน่ายที่ดินนั้นได้ และการบงัคับให้จำหน่ายหมายความเฉพาะกับที่ดินพิพาทเท่านั้น ไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาทด้วยเพราะคนต่างด้าวไม่ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ฎีกาที่ 1053/2537

ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยเงินของตนเองก่อนสมรส แต่ถูกรางวัลเมื่อสมรสแล้ว เงินรางวัลเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส เป็นสินสมรส

เงินบำนาญได้มาระหว่างสมรส เป็นสินสมรส

ฎีกาที่ 2765/2537

เงินบำนาญเป็นเงินที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการผู้ที่พ้นจากราชการแล้วตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็ขบำนาญข้าราชการ เมื่อข้าราชการผู้นั้นมีคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายยังทีชีวิตอยู่ จึงเป็นการได้เงินมาระหว่างสมรส ย่อมถือว่าเงินบำนาญนั้นเป็นสินสมรส เมื่อนำเงินนั้นมาซื้อที่ดินและต่อมาได้ปลูกสร้างบ้านซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินในระหว่างสมรส ที่ดินและบ้านจึงเป็นสินสมรสตามมาตรา 1474 (1)

กรณีคู่หมั้นตายก่อนสมรส

มาตรา 1441

ถ้าคู่หมั้นฝ่ายหนึ่งตายก่อนสมรส อีกฝ่ายหนึ่งจะเรียกค่าทดแทนมิได้ ส่วนของหมั้นหรือสินสอดนั้น ไม่ว่าชายหรือหญิงตาย หญิงหรือฝ่ายหญิงไม่ต้องคืืนของหมั้นให้แก่ชาย

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การหมั้น

ชายกับหญิง หมั้นกันได้ต้องอายุ 17 ปี บริบูรณ์แล้ว หากฝ่าฝืนผลเป็นโมฆะ ถือว่าไม่มีการหมั้นกัน ต้องคืนของหมั้น และการหมั้นหากยังเป็นผู้เยาว์ (ยังไม่ถึง 20 ปี) ต้องได้รับความยิมยอมจากพ่อและแม่  พ่อหรือแม่หากมีคนใดคนหนึ่ง หรือผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครอง หากไม่มีบุคคลดังกล่าวข้างต้นแล้วแต่กรณี

ฎีกาที่ 1124/2502

การเช่าที่ดินปลูกสร้างอาคาร โดยตกลงว่าให้อาคารตกเป็นของเจ้าของที่ดิน เช่นนี้ อาคารย่อมตกเป็นของเจ้าของที่ดินทันที ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้โดยไม่ต้องมีการจดทะเบียนโอนกันอีก

ฎีกาที่ 1251/2549

ป้ายพิพาทเป็นป้ายที่จำเลยได้รับสิทธิติดตั้งโฆษณาในศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง ตามสัญญาเพื่อประโยชน์ในทางการค้าของจำเลย จึงเป็นทรัพย์สินของจำเลยโดยตรง แม้มีข้อตกลงว่า ให้ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางตลอดจนส่วนควบตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ทันทีที่ก่อสร้างเสร็จ แต่ป้ายพิพาทที่จำเลยติดตั้งไว้นั้นไม่มีสภาพเป็นส่วนควบ และแม้จะมีข้อสัญญาระบุว่า ถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วให้บรรดาวัสดุก่อสร้างและสิ่งก่อสร้างที่ดำเนินการแล้วตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันทีนั้น สิ่งก่อสร้าง คือ ศาลาที่พักผู้โดยสารประจำทาง ส่วนวัสดุุก่อสร้าง คือ วัสดุที่ใช้ก่อสร้างศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง แต่ป้ายโฆษณาเป็นสิ่งที่จำเลยนำมาติดตั้งเพื่อโฆษณา หาใช่วัสดุก่อสร้างไม่ จำเลยจึงยังคงเป็นเจ้าของป้ายดังกล่าว หาได้ตกเป็นของโจทก์ไม่ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยในฐานะเจ้าของป้ายพิพาทย่อมมีหน้าที่ต้องรื้อถอนป้ายพิพาทออกไป

ฎีกาที่ 108/2516

การที่จะวินิจฉัยว่าทรัพย์ใดเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือไม่นั้น ย่อมอยู่ที่ลักษณะสภาพของตัวทรัพย์นั้นเอง ว่าเป็นทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินตามความหมายของมาตรา 139 หรือไม่ ส่วนทรัพย์นั้นจะเป็นส่วนควบของที่ดินหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกัน ดังเช่น ปลูกตึกลงในที่ดินที่เช่า ผู้อื่นเป็นการชั่วคราวตึกนั้นย่อมไม่เป็ฯส่วนควบของที่ดิน ตามาตรา 146 แต่ลักษณะสภาพของตึกเป็นทรัพย์ติดอยู่กับที่ดินเป็ฯการถาวร ตึกนั้นจึงเป็นอสุงหาริมทรัพย์ การซื้อขายตึกเช่นว่านี้จึงต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามาตรา 456 วรรค 1

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ทำสัญญากู้แทนสินสอดแทนเงิน

ฎีกาที่ 878/2518

บิดาชายตกลงให้สินสอดแก่มารดาหญิง แต่ไม่มีเงินจึงทำสัญญากู้ให้มารดาหญิงไว้ บิดาชายต้องผูกพันตามสัญญากู้อันมีมูลหนี้และได้แปลงหนี้ใหม่

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ฎีกาที่ 1785/2505

ผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันว่า แม้ลูกหนี้ตายเกิน 1 ปี ผู้ค้ำประกันก็ยังคงรับใช้ต้นเงินกู้และดอกเบี้ยแทน สัญญานี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และไม่เป็นการขยายอายุความ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา

อายุความฟ้องทายาทคนตาย 1 ปี

คำพิพากษาฎีกาที่ 5996/2554

ธนาคารโจทก์ สาขาบางขุนเทียนมีหนังสือลงวันที่ 3 ตุลาคม 2538 ถึงธนาคารโจทก์สาขาพัทลุง โดยมีข้อความระบุว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายแล้วและขอให้ธนาคารโจทก์ สาขาพัทลุง ช่วยคัดสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 1 เพื่อที่จะดำเนินคดีแก่ทายาทต่อไป ดังนี้แสดงว่า ธนาคารโจทก์ สาขาบางขุนเทียน ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของโจทก์ทราบว่า จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายแล้ว กรณีจึงถือได้ว่า อย่างช้าในวันที่ 3 ตุลาคม 2538 โจทก์รู้ถึงความตายของจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองวันที่ 11 ธันวาคม 2540 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ย่อมยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694

วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ลูกจ้างใช้เวลางานเพื่อประโยชน์ส่วนตัว

ฎีกาที่ 3407/2552

โจทก์ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนตัวต่อพ่วงกับอุปกรณ์ของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างในเวลาทำงานเพื่อทำการค้ากับบคคลภายนอก นอกจากจะเป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิชอบจากการใช้กระแสไฟฟ้า โทรศัพท์และอุปกรณ์ของจำเลย เพื่อประโยชน์ส่วนตัวแล้วยังเป็นการเบียดบังเวลาทำงานของจำเลยอีกด้วย ย่อมทำให้จำเลยเสียหายเมื่อจำเลยตักเตือนและสั่งห้ามในที่ประชุมแล้ว โจทก์ยังกระทำเช่นนั้นอีก จนต้องมีการตักเตือนเช่นนั้นถึง 5 ครั้ง ย่อมถือได้ว่าโจทก์ละเลยไม่นำพาคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณ และเป็นการกระทำอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตนอกจากนั้นการกระทำของโจทก์ดังกล่าวยังยากแก่การบังคับบัญชาหากจ้างโจทก์ทำงานต่อไปมีแต่จะทำให้จำเลยเสียหายมากขึ้น จำเลยย่อมมีเหตุผลที่จะไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานต่อไป ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

อายุความมรดก

ฎีกาที่ 1371/2552

แม้จะไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความฟ้องคดีขอให้บังคับตามสัญญาจะซื้อจะขาย ไว้โดยเฉพาะ ทำให้ต้องใช้อายุความ 10 ปี ซึ่งเป็นอายุความทั่วไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 ก็ตาม แต่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติว่า ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก โจทก์รู้ถึงความตายของ อ. เจ้ามรดกตั้งแต่เดือนธันวาคม 2541 เนื่องจากโจทก์ไปร่วมงานศพของ อ. ด้วย โจทก์จึงต้องฟ้องร้องเพื่อมีคำขอให้ศาลบังคับจำเลยซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ อ. ดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ภายใน 1 ปี ซึ่งจะครบกำหนดในเดือนธันวาคม 2542 แม้สิทธิเรียกร้องของโจทก์จะมีอายุความยาวกว่า 1 ปี กฎหมายก็บังคับให้โจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้รู้ถึงความตายของ อ. ซึ่งเป็นเจ้ามรดก การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2545 หลังจากได้รู้ถึงความตายของ อ. เกินกว่า 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

ฎีกาที่ 1151/2552 ชำระหนี้โดยรู้ว่าไม่มีความผูกพันต้องชำระ

ฎีกาที่ 1151/2552

การคิดดอกเบี้ยเป็นเรื่องที่ธนาคาร ก. ได้กระทำไปฝ่ายเดียว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่เพียงแต่ชำระเงินเท่านั้น การที่ธนาคาร ก. คิดดอกเบี้ยแก่จำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 กระทำการอันใดตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ หรือเป็รการชำระหนี้โดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย เมื่อธนาคาร ก. ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เนื่องจากข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ กรณีจึงต้องนำเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่ธนาคาร ก. ไปแล้วทั้งหมหักออกจากต้นเงินซึ่งเป็นหนี้ค้างชำระ

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ฎีกาที่ 846/2552

           จำเลยมิได้ดำเนินการก่อสร้างให้เป็นไปภายในระยะเวลาที่ประกาศโฆษณาไว้ และเมื่อผู้บริโภคทั้งสองไม่ชำระค่างวดต่อแล้ว จำเลยได้มีหนังสือให้ผู้บริโภคทั้งสองไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ถือข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะเวลาในการชำระค่างวดตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ จึงถือมิได้ว่าผู้บริโภคทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา และเมื่อพิเคราะห์แผ่นพับโฆษณาและรายละเอียดโครงการซึ่่งจำเลยได้ระบุสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการโดยคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จปลายปี 2539 แล้ว ทำให้มีเหตุผลเชื่อได้ว่า ผู้ที่เข้าทำสัญญาจะซื้อขายห้องชุดในโครงการของจำเลยซึ่งรวมทั้งผู้บริโภคทั้งสองในคดีนี้ก็โดยเชื่อว่าจำเลยจะต้องก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ตามที่ระบุไว้ อันถือได้ว่าเป็นการซื้อขายตามคำพรรณนา โดยผู้บริโภคทั้งสองถือเอาเงื่อนไขตามโฆษณาเป็นข้อสาระสำคัญแห่งสัญญา การที่จำเลยมิได้ดำเนินการดังกล่าวให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและละเมิดสิทธิของผู้บริโภคทั้งสอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้คืนเงินที่ผู้บริโภคทั้งสองชำระไปแล้วพร้อมดอกเบี้ย
            เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องคืนเงินให้แก่ผู้บริโภคทั้งสอง ผู้บริโภคทั้งสองย่อมมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากเงินที่จ่ายให้แก่จำเลยในแต่ละคราวแตะละงวดหาใช่จะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยต่อเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาคือวันที่ 31 ธันวาคม 2541 ไม่ และตามสัญญา จะซื้อจะขายห้องชุดที่ระบุว่า ในกรณีที่จำเลยไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างอาคารชุดให้แล้วเสร็จภายในปี 2541 จำเลยจะคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ให้แก่ผู้บริโภคทั้งสองนั้นเป็นข้อตกลงอันมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้ากรณีที่จำเลยผิดนัด จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงได้ตาม ป.พ.พ มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562 แม้ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 จะให้สิทธิผู้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียเมื่อใดก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้...