วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สิทธิของผู้ถูกจับ

ชั้นจับกุม
มาตรา 83 ในการจับนั้น เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่าเขาต้องถูกจับ แล้วสั่งให้ผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับพร้อมด้วยผู้ถูกจับ เว้นแต่สามารถนำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ในขณะนั้น ให้นำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ในขณะนั้น ให้นำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดังกล่าว แต่ถ้าจำเป็นก็ให้จับตัวไป
                  ในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้จับ ต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกจับทราบหากมีหมายจับให้แสดงต่อผู้ถูกจับ พร้อมทั้งแจ้งด้วยว่า ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้และผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ ถ้าผู้ถูกจับประสงค์จะแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุมที่สามารถดำเนินการได้โดยสะดวกและไม่เป็นการขัดขวางการจับหรือการควบคุมผู้ถูกจับหรือทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดก็ให้เจ้าพนักงานอนุญาตให้ผู้ถูกจับดำเนินการได้ตามสมควรแก่กรณี ในการนี้ให้เจ้าพนักงานผู้จับนั้นบันทึกการจับดังกล่าวไว้ด้วย
                   ถ้าบุคคลซึ่งถูกจับขัดขวางหรือจะขัดขวางการจับ หรือหลบหนีหรือพยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือการป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับนั้น


วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2560

อำนาจสืบสวนและสอบสวน

อำนาจสืบสวนและสอบสวน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 17 พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้

มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้

มาตรา 18 วรรคสอง สำหรับในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดหรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้

มาตรา 18 วรรคสาม ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในมาตรา 19 มาตรา 20 และมาตรา 21 ความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำนาจพนักงานสอบสวนคนใด โดยปกติให้เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนผู้นั้น เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนความผิดนั้นๆเพื่อดำเนินคดี เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็นหรือเพื่อความสะดวก จึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวน

มาตรา 18 วรรคสี่ ในเขตท้องที่ใดมีพนักงานสอบสวนหลายคน การดำเนินการสอบสวนให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้าในท้องที่นั้น หรือ ผู้รักษาการแทน

วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2560

บุคคลที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล

1.พนักงานอัยการ
2.ผู้เสียหาย

ตามมาตรา 28
ส่วนถ้าผู้เสียหายฟ้องคดีไว้แล้ว เกิดตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา จะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปก็ได้ ตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง

ส่วนถ้าผู้เสียหายที่ฟ้องคดีแล้วตาย เป็นผู้เยาว์ ผู้วิกลจริต หรือผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้แทนเฉพาะคดี ได้ยื่นฟ้องไว้แล้ว ผู้ฟ้องคดีแทนนั้นจะว่าคดีต่อไปก็ได้ ตามมาตรา 29 วรรคสอง

ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ถือตามความเป็นจริง ส่วนสามีภรรยา ต้องจดทะเบียนสมรส

วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ

การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ
เงื่อนไขที่ขอฟื้นฟูกิจการ
เมื่อลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และเป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม อาจยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีการฟื้นฟูกิจการได้ มาตรา 90/3

มาตรา 90/6
เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจะต้องแสดงถึง
-ความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้
-รายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนที่ลูกหนี้เป็นหนี้อยู่รวมกันไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
-เหตุอันสมควรและช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ
-ชื่อและคุณสมบัติของผู้ทำแผน
-หนังสือยินยอมของผู้ทำแผน

มาตรา 90/12 
นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาจนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผน หรือวันที่ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผน หรือวันที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้อวขอ หรือจำหน่ายคดี หรือยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการหรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการหรือพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ห้าม ตาม(1)-(11) 

เมื่อศาลสั่งรับคำขอแล้ว ให้ศาลดำเนินการไต่สวนเป็นการด่วน และให้ศาลประกาศคำสั่งรับคำร้องขอและวันเวลานัดไต่สวนในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อยหนึ่งฉบับไม่น้อยกว่าสองครั้งห่างกันไม่เกิน 7 วัน กับให้ส่งสำเนาให้เจ้าหนี้ทั้งหลายเท่าที่ทราบ และแก่นายทะเบียน... ให้ส่งก่อนวันนัดไต่สวนไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน มาตรา 90/9 

ระยะเวลาคัดค้านคำขอฟื้นฟูกิจการ
ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจยื่นคำคัดค้านก่อนวันนัดไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่าสามวัน มาตรา 90/9 วรรคสาม


การไต่สวนคำร้องขอ 
มาตรา 90/10 ในการไต่สวนคำร้องขอ ศาลต้องไต่สวนเอาความจริง ถ้าได้ความจริงและมีเหตุอันสมควรที่จะฟื้นฟูกิจการทั้งผู้ร้องขอยื่นคำร้องขอโดยสุจริตให้ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ มิฉะนั้นให้มีคำสั่งยกคำร้อง ในกรณีที่ไม่มีผู้คัดค้านคำร้องขอ ถ้าศาลเห็นสมควรจะงดการไต่สวน และมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการก็ได้







วันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2560

หน้าที่ของผู้เช่าและผู้ให้เช่า ในการซ่อมแซม

ในสัญญาเช่า มักมีข้อความว่า ผู้เช่าสัญญาว่าจะจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เสมอด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเอง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้ผู้เช่ามีหน้าที่ในการซ่อมแซมบำรุงรักษาตามปกติและเป็นการซ่อมแซมเล็กน้อยเท่านั้น แต่ถ้าความชำรุดเสียหายมาก เป็นความเสียหายร้ายแรง เป็นความจำเป็นและสมควรที่จะต้องซ่อมแซมใหญ่ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ให้เช่าที่ต้องซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่าด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง มาตรา 547

สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา

สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
เป็นสัญญาที่กฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องมีหนังสือหรือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  ถึงแม้ว่าจะไม่มีข้อตกลงให้ไปจดทะเบียนก็ฟ้องบังคับให้จดทะเบียนได้ สัญญาเช่าต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่เป็นสิทธิเฉพาะตัวดังนั้น เมื่อผู้เช่าตาย สิทธิและหน้าที่จึงตกไปยังทายาท ส่วนกรณีถ้ามีการโอนทรัพย์สินที่เช่าให้บุคคลภายนอก สัญญาเช่าต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่ผูกพันผู้รับโอน เว้นแต่ว่า ผู้รับโอนที่ดินได้ตกลงยินยอมผูกพันแทนผู้ให้เช่าเดิม หรือเป็นการโอนทางมรดก 

วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เจ้าของรวมคนหนึ่งฟ้องขับไล่ผู้เช่า ส่วนเจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง ทำสัญญาให้ผู้เช่า เช่าต่อ สัญญาเช่าผูกพันเจ้าของรวมคนอื่นหรือไม่

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1358 วรรคสอง เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งมีสิทธิจัดการได้เสมอโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่น

ตอบ การจัดการทรัพย์สินตามธรรมดาเพื่อรักษาทรัพย์สินเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งมีสิทธิจัดการได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่น แต่การทำสัญญาเช่าเป็นการก่อให้เกิดภาระติดพันจึงต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่น ตามมาตรา 1361 วรรคสอง  สัญญาเช่าจึงขัดต่อสิทธิเจ้าของรวมคนอื่นไม่ผูกพันเจ้าของคนอื่น เจ้าของรวมคนอื่นมีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้เช่าได้


วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เจ้าของรวมขายที่ดินเฉพาะส่วนของตน ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นหรือไม่

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง เจ้าของรวมคนหนึ่งๆจะจำหน่ายส่วนของตนหรือจำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้ แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือ ก่อให้เกิดภาระติดพันได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน

ตอบ เจ้าของรวมขายที่ดินระบุส่วนสัด จำนวนเนื้อที่ชัดเจน ไม่เกิน เฉพาะส่วนของตนหรือจำนองหรือก่อให้เกิดภาระติดพันได้ ไม่ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่น เพราะมิใช่เป็นการก่อให้เกิดภาระติดพันแก่ตัวทรัพย์สินทั้งหมด

วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560

มาตรา 6 พ.ร.บ ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

มาตรา 6 งานอันมีลิขสิทธ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนต์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด

               การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่คลุมถึงความคิด หรือขั้นตอนกรรมวิธีหรือระบบ หรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

อายุความเช่าซื้อ

อายุความเช่าซื้อ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572  อันว่าเช่าซื้อนั้น คือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว
           สัญญาเช่าซื้อนั้นถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าเป็นโมฆะ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (6) เรียกค่าเช่าซื้อค้างชำระ อายุความ 2 ปี
เรียกทรัพย์คืนหรือให้ใช้ราคาแทน อายุความ 10 ปี
เรียกค่าเสียหายกรณีทรัพย์สูญหาย อายุความ 10 ปี
เรียกค่าขาดประโยชน์ หรือ ค่าติดตามทวงถาม อายุความ 10 ปี
เรียกค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์ อายุความ 6 เดือน

วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

การเรียกค่าสินไหมกรณีตาย

1.ค่าปลงศพ
2.ค่ารักษาพยาบาล
3.ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย
4.ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย
5.ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นที่เกี่ยวกับงานศพ ตามจำเป็นและสมควร
6.ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดแรงงาน

วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ละเมิด

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420
      ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

จากหลักกฎหมาย เมื่อมีการทำละเมิดเกิดขึ้น จนทำให้ผู้อื่นเสียหาย ผู้ที่กระทำละเมิดก็ต้องชดใช้ค่าสินไหม เพื่อบรรเทาหรือเยียวยาความเสียหายให้ผู้ถูกกระทำ ซึ่งก็แล้วแต่จะตกลงกัน และเป็นหน้าที่ของผู้ถูกทำละเมิดที่จะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าเสียหายอย่างไร เพียงใด

การโอนสิทธิเรียกร้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306
การโอนหนี้อันจะพึงต้องชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงนั้น ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือท่านว่าไม่สมบูรณ์ อนึ่งการโอนหนี้นั้นท่านว่าจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้ แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้น คำบอกกล่าวหรือความยินยอมเช่นว่านี้ท่านว่าต้องทำเป็นหนังสือ
     ถ้าลูกหนี้ทำให้พอใจผู้โอนด้วยการใช้เงิน หรือ ด้วยประการอื่นเสียแต่ก่อนได้รับบอกกล่าว หรือก่อนได้ตกลงให้โอนไซร้ ลูกหนี้นั้นก็เป็นอันหลุดพ้นจากหนี้


จากหลักกฎหมาย การโอนสิทธิเรียกร้องต้องทำเป็นหนังสือ จึงจะสมบูรณ์ ลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียวก็ได้

วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

สร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่น



ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310
    บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้นๆแต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้สร้าง
   แต่ถ้าเจ้าของที่ดินสามารถแสดงได้ว่า มิได้มีความประมาทเลินเล่อจะบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้นและเนียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไป และทำที่ดินให้เป็นตามเดิมก็ได้ เว้นไว้แต่ถ้าการนี้จะทำไม่ได้โดยใช่เงินพอสมควรไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างซื้อที่ดินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามราคาตลาดก็ได้

จากหลักกฎหมาย สามารถแยกผลได้ คือถ้ามีการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือน แต่ต้องใช้ค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้แก่คนสร้าง

แต่ถ้าสร้างโรงเรือนไม่สุจริต ต้องทำให้เหมือนเดิมแล้วส่งคืนเจ้าของที่ดิน


ที่ดินเกิดที่งอกริมตลิ่ง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308
ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่งที่งอกย่อมเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น

จากหลักกฎหมาย ที่ดินที่งอกออกไปจากตลิ่ง ต้องเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ถ้างอกออกไปจากที่ดินมีโฉนดที่งอกนั้นก็เป็นที่ดิน มีโฉนด ถ้างอกออกไปจากที่ดินมือเปล่าที่งอกนั้นก็เป็นที่ดินที่มีสิทธิครอบครอง

วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เจ้าหนี้เพิกถอนการฉ้อฉล

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใดๆอันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฎว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทำให้โดยเสน่หา ท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้
  บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน


#ต้องเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้วในขณะที่ลูกหนี้กระทำการให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มีสิทธิร้องขอเพิกถอนได้

วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

การรับช่วงสิทธิของผู้ค้ำประกัน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229
  การรับช่วงสิทธิย่อมมีขึ้นด้วยอำนาจกฎหมาย และย่อมสำเร็จเป็นประโยชน์แก่บุคคลดังจะกล่าวต่อไปนี้
คือ
1.บุคคลซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่เอง และมาใช้หนี้ให้แก่เจ้าหนี้อีกคนหนึ่งผู้มีสิทธิจะได้รับใช้หนี้ก่อนตนเพราะเขามีบุริมสิทธิ หรือมีสิทธิจำนำจำนอง
2.บุคคลผู้ได้ไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์ใด และเอาเงินราคาค่าซื้อใช้ให้แก่ผู้รับจำนองทรัพย์นั้นเสร็จไป
3.บุคคลผู้มีความผูกพันร่วมกันกับผู้อื่น หรือเพื่อผู้อื่นในอันจะต้องใช้หนี้ มีส่วนได้เสียด้วยในการใช้หนี้นั้น และเข้าใช้หนี้นั้น

จากหลักกฎหมาย ถ้าผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนลูกหนี้ไปแล้ว ก็รับช่วงสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ค้ำประกันคนอื่นได้ครึ่งนึง และไล่เบี้ยเอากับลูกหนี้ได้ทั้งหมด

การรับช่วงสิทธิ กับการรับช่วงทรัพย์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 226
บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง
   ช่วงทรัพย์ ได้แก่เอาทรัพย์สินอันหนึ่งเข้าแทนที่ทรัพย์สินอีกอันหนึ่ง ในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับทรัพย์สินอันก่อน

จากหลักกฎหมาย การรับช่วงสิทธินั้นต้องมีกฎหมายบัญญัติให้รับช่วงสิทธิได้ หากไม่มีกฎหมายให้สิทธิไว้ก็รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้มาเรียกไม่ได้

หนี้เงินคิดดอกเบี้ยผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี






ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น
   ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
   การพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นนอกกว่านั้นท่านอนุญาตให้พิสูจน์ได้

จากหลักกฎหมายดังกล่าว ดอกเบี้ยผิดนัดเรียกได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่ถ้าในสัญญาระบุเอาไว้ให้เรียกเกินอัตราดังกล่าว ก็สามารถเรียกได้ตามนั้น แต่ต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดด้วย

วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

การเรียกเอาค่าเสียหาย มาตรา 222

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222
การเรียกเอาค่าเสียหายนั้น ได้แก่ เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น
        เจ้าหนี้จะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ แม้กระทั่งเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ หากว่าคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว


การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย มาตรา 219

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219
ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ และซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบนั้นไซร้ ท่านว่าลูกหนี้เป็นอันหลุดพ้นจากการชำระหนี้นั้น
          ถ้าภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้วนั้น ลูกหนี้กลายเป็นคนไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ไซร้ ท่านให้ถือเสมือนว่าเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัย  ฉะนั้น

การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 218
ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจะทำได้เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ต้องรับผิดชอบไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าหนี้เพื่อค่าเสียหายอย่างใดๆอันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้น
          ในกรณีที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยแต่เพียงบางส่วน ถ้าหากว่าบางส่วนที่ยังเป็นวิสัยจะทำได้นั้นจะเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้แล้ว เจ้าหนี้จะไม่ยอมรับชำระหนี้ส่วนที่ยังเป็นวิสัยจะทำได้นั้นแล้ว และเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้เสียทั้งหมดทีเดียวก็ได้

จากหลักกฎหมาย การชำระหนี้เป็นพ้นวิสัย หมายความว่า ไม่สามารถทำการชำระหนี้ให้สำเร็จตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ได้ อันเป็นการพ้นวิสัยที่เป็นการถาวร มิใช่เป็นเพียงชั่วคราว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2538

ผิดนัดหนี้อันเกิดจากการละเมิด

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206
ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด

จากหลักกฎหมายดังกล่าว คนที่ทำละเมิดต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในค่าเสียหายนับตั้งแต่วันทำละเมิด

วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การเตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204
ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว
      ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามปฏิทิน และลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตามกำหนดไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว

จากหลักกฎหมายดังกล่าว หากเป็นหนี้ที่กำหนดเวลาการชำระไว้แน่นอน เมื่อไม่ได้ชำระตามกำหนด ถือว่าผิดนัดโดยไม่ต้องเตือน

การซื้อขายสินค้าไม่ได้กำหนดเวลาชำระเงิน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203
ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็มิได้ไซร้ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันและฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน
ถ้าได้กำหนดเวลาไว้ แต่หากกรณีเป็นที่สงสัยท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่ แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดก็ได้

ตามหลักกฎหมาย การซื้อขายสินค้า ถ้าไม่ได้กำหนดเวลาอันพึงชำระเงินกันเอาไว้ เจ้าหนี้เรียกให้ชำระเงินได้โดยพลันและลูกหนี้ก็ชำระหนี้ได้โดยพลันดุจกัน สิทธิในการเรียกร้องค่าสินค้าเกิดขึ้นตั้งแต่รับมอบสินค้า

สัญญากู้มิได้กำหนดระยะเวลาชำระเงิน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203
ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็มิได้ไซร้ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันและฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน
ถ้าได้กำหนดเวลาไว้ แต่หากกรณีเป็นที่สงสัยท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่ แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดก็ได้

ตามหลักกฎหมาย เมื่อสัญญากู้มิได้กำหนดวันชำระเงินคืน ผู้ให้กู้เรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้โดยพลันได้

วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ซื้อที่ดินสาธารณะประโยชน์


ผู้ที่ซื้อที่ดินโดยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินเป็นที่สาธารณะประโยชน์
ผลก็คือ สัญญาซื้อขายที่ดินสาธารณะประโยชน์ตกเป็นโมฆะ และไม่มีสิทธิเรียกเงินที่จ่ายค่าที่ดินคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7464/2555
ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะประโยชน์จึงเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1305 บัญญัติว่าทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา การที่โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแก่กัน จึงเป็นการทำนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยย่อมตกเป็นโมฆะตาม ปพพ.มาตรา 150 และมีผลเป็นการเสียเปล่าเท่ากับโจทก์จำเลยมิได้ทำสัญญาซื้อขายกันและต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมแก่กัน โดยให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับตาม ปพพ. มาตรา172 แต่การที่โจทก์ชำระราคาที่ดินพิพาทแก่จำเลยตามสัญญาโดยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะประโยชน์ ถือว่าเป็นการกระทำตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ทั้งยังเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตาม ปพพ. มาตรา 407 และมาตรา 411 โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะได้รับคืนราคาที่ดินที่ชำระแก่จำเลยดังกล่าว

-จากฎีกานี้ ถ้าผู้ซื้อไม่รู้มาก่อนว่าที่ดินเป็นสาธารณะประโยชน์ เรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนได้

การแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้า

การแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้า
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 การแสดงเจตนาซึ่งกระทำต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้า ให้ถือว่ามีผลนับแต่ผู้รับการแสดงเจตนาได้ทราบการแสดงเจตนานั้น การแสดงเจตนาโดยเฉพาะหน้านี้รวมถึงการแสดงเจตนาทางโทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสาร หรือโดยวิธีอื่นทำนองเดียวกันด้วย

การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่

การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ
           การข่มขู่ที่จะทำให้การใดตกเป็นโมฆียะนั้นจะต้องเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันไกล้ตะถึง และร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัว ซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น การนั้นก็คงจะมิได้กระทำขึ้น

-ถ้าเป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือเป็นการข่มขู่ เช่น ขู่ว่าจะฟ้องร้องดำเนินคดี เพื่อบังคับชำระหนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2523

- การใดที่ตกเป็นโมฆียะ เป็นนิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง ตามมาตรา 175 ผู้ถูกข่มขู่บอกล้างเสียได้

วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2560

หลักฐานการกู้ยืมเงิน


การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาท ขึ้นไป ถ้าไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ 

วันพุธที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การซื้อขายมีเงื่อนไข

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 ถ้าสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข หรือ เงื่อนเวลาบังคับไว้ ท่านว่ากรรมสิทธิ์ในทรัย์สินยังไม่โอนไปจนกว่าการจะได้เป็นไปตามเงื่อนไขหรือถึงกำหนดเงื่อนเวลานั้น

🐸ยกตัวอย่างการซื้อขายรถยนต์ที่ในสัญญาระบุว่า กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะโอนไปยังผู้ซื้อ ต่อเมื่อผู้ซื้อชำระราคาครบถ้วนแล้ว อย่างนี้เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์  กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนจนกว่าผู้ซื้อจะชำระราคาครบถ้วน ฎ.7558/2549

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2557

เจตนาของคู่สัญญาที่ทำบันทึกแบ่งแยกทรัพย์สินกันไว้ท้ายทะเบียนการหย่าย่อมมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งแยกทรัพย์สินที่มีอยู่ร่วมกันทั้งหมดให้เสร็จสิ้นไป การตีความในบันทึกท้ายทะเบียนการหย่าจึงต้องตีความตามจ่อความที่ระบุไว้ในบันทึกนั้น เว้นแต่จะเห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า ข้อความที่ปรากฎในบันทึกท้ายทะเบียนการหย่ามีข้อความไม่ขัดเจน คลุมเครือหรืออ่านไม่เข้าใจ ตามบันทึกท้ายทะเบียนการหย่า ข้อ 3 ระบุว่า "คู่หย่าทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินว่าฝ่ายชายยินยอมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่ฝ่ายหญิงแต่เพียงผู้เดียว" ซึ่งข้อความในบันทึกดังกล่าวมีข้อความชัดแจ้งอ่านแล้วเข้าใจได้ว่าทรัพย์สินทั้งหมดที่ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรวมกันให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องทั้งหมด บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินตามป.พ.พ. มาตรา 1532 เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนทะเบียนการหย่าให้แล้ว ถือว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น นับแต่วันที่มีการทำบันทึกท้ายทะเบียนการหย่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจึงตกเป็นสิทธิของผู้ร้อตั้งแต่เวลานั้นแม้สินสมรสดังกล่าวเป็นที่ดินและบ้านก็ถือตกเป็นสิทธิของผู้ร้องตามบันทึกท้ายทะเบียนการหย่านั้นแล้วโดยไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนการโอนเพราะมิใช่การยกให้โดยเสน่หา ส่วนที่ผู้ร้องมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทำให้การได้มาดังกล่าวไม่บริบูรณ์ตามมาตรา 1299 วรรคหนึ่งก็ตาม แต่ผู้ร้องได้เข้าครอบครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแล้วเพียงแต่ผู้ร้องยังมิได้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ถือได้ว่าผู้รัองเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300




ที่มา:

วันอังคารที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560

จดทะเบียนสมรสซ้อน ตกเป็นโมฆะ




ประมวลกฎหมายแพ่งมาตรา 1452 ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้

🐰ชายหรือหญิงที่ทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้วเป็นการสมรสที่ฝ่าฝืน มาตรา 1452 ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6331-6332/2556
ขณะที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับ จ.(ปี2526) จ. มีคู่สมรสเป็นญิงอื่นอยู่แล้วการสมรสระหว่างโจทก์กับ จ. ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ มาตรา 1452 ประกอบมาตรา 1495 ซึ่งความเป็นโมฆะของการสมรสย่อมมีผลไปถึงวันที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับ จ. หาใช่มีผลนับแต่วันที่โจทก์จดทะเบียนหย่ากับ จ. ในปี 2532ไม่ ฉะนั้นขณะที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย (ปี 2529) ถือไม่ได้ว่าโจทก์ยังมีคู่สมรสอยู่ การสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายจึงไม่ฝ่าฝืนต่อมาตรา 1452 ย่อมมีผลสมบูรณ์ และโจทก์มีฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เมื่อจำเลยจดทะเบียนสมรสกับผู้ตายในปี 2533 โดยโจทก์กับผู้ตายยังเป็นคู่สมรสกันอยู่ การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงฝ่าฝืนต่อมาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495

วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560

วันศุกร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2560

กุ้งเครฟิช สวยๆสายp

เพิ่มคำอธิบายภาพ
กุ้งเครฟิช กุ้งโกส(Ghost)สาย p สวยๆ Tel :  0845312501(ป้อม) มีให้เลือกหลากหลาย ปากเกร็ด นนทบุรีส่งทั่วประเทศ

FB:bundit_Lee

วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2560

จอดรถยนต์ไม่ดับเครื่องยนต์แล้วรถถูกลักไป ประกันต้องจ่ายหรือไม่


จอดรถโดยติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ ถูกลัก บริษัทประกันไม่ต้องจ่าย

จากกรณีที่มีการจอดรถยนต์ โดยติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ ไปทำธุระส่วนตัว แล้วรถยนต์ถูกลักไป บริษัทประกันไม่ต้องจ่ายเงินในความสูญหายของรถยนต์ โดยศาลให้เหตุผลว่า พฤติกรรมของโจทก์ที่จอดรถโดยติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ แล้วลงจากรถ ไปซื้อของเป็นการขาดความระมัดระวังในการใช้ทรัพย์ หากโจทก์ใช้ความระมัดระวังตามสมควร โดยดับเครื่องยนต์และล๊อกประตูรถยนต์ให้เรียบร้อยแล้ว เชื่อว่าคนร้ายไม่สามารถลักรถยนต์ของโจทก์ไปได้โดยง่าย เหตุที่คนร้ายลักรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดในความสูญหายของรถยนต์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 879 วรรคหนึ่ง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2559)

แต่ถ้ามีการ  ดับเครื่องยนต์ ล๊อกประตู  เรียบร้อยแล้ว หากถูกลักไป ประกันต้องรับผิดในความสูญหายของรถยนต์ 



วันเสาร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2560

หลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เนติบัณฑิต

หลักกฎหมายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  เนติบัณฑิต

ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่ง ที่งอกย่อมเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1308 
สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น รวมทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304
ถ้าวัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญานั้น ว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาได้แสดงไว้ จะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลามีกำหนดก็ดี และกำหนดเวลาหรือระยะเวลานั้นได้ล่วงพ้นไปโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมิได้ชำระหนี้ไซร้ ท่านว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญานั้นเสียมิพักต้องบอกกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 388
และโดยเหตุผิดนัดการชำระหนี้เป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิบอกปัดไม่รับชำระหนี้และมีสิทธิเรียกค่าสินใหมทดแทนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 216 
ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบในความผิดของตัวแทนแห่งตนกับทั้งของบุคคลที่ใช้ในการกระทำนั้นโดยขนาดเสมอกับว่าเป็นความผิดของตนเอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 220
บุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอย่างใดๆอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบ เพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 437 วรรคหนึ่ง
ทรัพย์ซึ่งเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ ผู้มีไว้ครอบครองจะต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์นั้น  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 437 วรรคสอง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดเพราะเหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายเอง 
เช่าทรัพย์ คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สิน ซึ่งระยะเวลาจำกัด และผู้เช่าตกลงให้ค่าเช่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 537 
ผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 569 วรรคสอง
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดกว่า 3 ปีมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีผลบังคับเพียง 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 538 
การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2000 บาท ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
อันค้ำประกันจะมีได้แต่เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์ 
สัญญาค้ำประกันถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่


วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560

กลโกงนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโด


การโกงเงินของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือ คอนโด
การโกงเงินค่าส่วนกลางหรือเงินอื่นๆของนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือนิติบุคคลอาคารชุด คอนโด สามารถที่จะเกิดการทุจริตกันได้ง่าย ซึ่งคนที่สามารถกระทำการได้ก็อาจจะเป็นเจ้าหน้าที่ของนิติบุคคลเองหรือบุคคลอื่น โดยเฉพาะการรับเงินสดมาจากลูกค้า หรือเจ้าของร่วม พอจะยกตัวอย่างได้เช่น
- การใช้ใบเสร็จปลอม ใบรับเงินชั่วคราว หรือ รับเงินมาแล้วไม่นำเงินเข้าระบบการจัดเก็บของนิติบุคคลบ้างเอาเงินที่ได้ไปหมุนกัน
-การปลอมสำเนาใบเสร็จทำให้ยอดเงินน้อยลง  ทำให้ลูกค้าที่ชำระครบตามจำนวนแล้ว กลับต้องมียอดค้างค่าส่วนกลางกรณีลูกค้าไม่พักอาศัยเป็นประจำ
-การปลอม  ใบ pay-in
-การทุจริตการจัดซื้อจัดจ้าง เช่น การรักษาความปลอดภัย โดยการจ้างบริษัทรักษาความปลอดภัย การดูแลสวน การรักษาความสะอาด จัดจ้างพวกเดียวกันมาทำงาน ในราคาไม่สูงกินค่าหัวรายคน คนละจำนวนบาท ฮั้วกัน
-การปลอมใบเสร็จซื้อของใช้สิ้นเปลือง  การใช้ใบเสร็จที่ไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
-เปอร์เซ็นส่วนลดเพิ่มจากการประกันภัยอาคาร



ฯลฯ
หากพบการทุจริตหรือมีหลักฐานว่ากรรมการนิติบุคคลหรือเจ้าหน้าที่ปกปิดข้อมูลก็สามารถให้ชี้แจงข้อมูลทางบัญชีได้ โดยอ่านข้อบังคับของนิติบุคคล อำนาจหน้าที่ต่างๆเพื่อรักษาผลประโยชน์ที่ควรได้และป้องการการทุจริตเงินที่ท่านต้องจ่ายให้กับนิติบุคคล แต่อย่าไปหวังอะไรมากกับบริษัทรับทำบัญชีให้นิติบุคคลเนื่องจากบริษัทเหล่านี้ทำบัญชีแต่ ไม่รวมถึงการตรวจสอบการทุจริต

:ขอรับใบเสร็จ ตรวจสอบใบเสร็จ และเก็บใบเสร็จ หากมีการพิมพ์ผิดพลาดต้องให้แก้ไขต้นฉบับเอกสารใบแจ้งหนี้และสำเนาเอกสารอื่นๆด้วย เพื่อป้องกันนิติบุคคลนำเอกสารไปแก้ไขเอกสารภายหลัง
  

วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560

การจัดประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกคอนโด




การจัดประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกของคอนโดมิเนียม

ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 
                 ให้ผู้จัดการจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการ และพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อบังคับ และผู้จัดการที่จดทะเบียนตามที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดไว้แล้ว 
                   
                   การประชุมใหญ่ต้องมีผู้มาประชุมซึ่งมีเสียงลงคะแนนรวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนเสียงลงคะแนนทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ในกรณีที่เจ้าของร่วมมาประชุมไม่ครบองค์ประชุม ตามที่กำหนด ให้เรียกประชุมใหม่ ภายใน 15 วัน นับแต่วันเรียกประชุมครั้งก่อน และการประชุมใหญ่ครั้งหลังไม่บังคับว่าจะต้องครบองค์ประชุม 

                    ซึ่งมติเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้จัดการ หรือถอดถอน ต้องได้รับคะแนนเสียง 1 ใน 4 ของคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด (25%)

                    และคณะกรรมการต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญปีละ 1 ครั้งภายใน 120 วันนับแต่สิ้นปีทางบัญชี ของนิติบุคคลอาคารชุด เพื่อกิจการดังต่อไปนี้ 
1.พิจารณาอนุมัติงบดุล
2.พิจารณารายงานประจำปี
3.แต่งตั้งผู้สอบบัญชี
4.พิจารณาเรื่องอื่นๆ




                                 
     
                   


วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560

การขอรับชำระหนี้คดีล้มละลาย

การยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
การยื่นขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โดยในการยื่นคำขอนั้นกรณีอยู่ในราชอาณาจักรต้องยื่นคำขอ ภายใน  2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด หากอยู่นอกราชอาณาจักรให้ขยายได้ไม่เกิน 2 เดือนจากกำหนดเวลาการขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ในราชอาณาจักร ถ้าไม่ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กำหนด ก็หมดสิทธิที่จะบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา
หนี้ที่ขอรับชำระได้นั้น ต้องเป็นหนี้เงิน หากไม่ใช่หนี้เงิน ต้องไปฟ้อง

เจ้าหนี้ไม่มีประกัน ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 เจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจขอรับชำระหนี้ได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้น ก่อน วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม
การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน มาตรา 95
เจ้าหนี้มีประกันไม่ต้องขอรับชำระหนี้ แต่ต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจดูทรัพย์สินนั้น


วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2560

กุ้งโกส (Ghost) กุ้งสาย P

ขอบคุณภาพจากทนายบัณฑิต สนใจสั่งซื้อกุ้ง Tel : 0845312501

กุ้งโกส  ( Ghost ) กุ้งสาย P

เป็นกุ้งอีกชนิดหนึ่งที่มีความสวยงามเอามากๆ เป็นกุ้งที่นิยมเรียกกันว่า กุ้งโกส เป็นกุ้งสาย P (procambarus clarkii ) ขนาดของกุ้งเป็นกุ้งเล็กๆ ตัวไม่โต ขนาดประมาณ 3-4.5นิ้ว สามารถเลี้ยงในตู้กระจกเพื่อความสวยงาม ไว้ดูเพลินๆดีครับ 

ตัวนี้สีออกบลูไว ผมละชอบสีนี้เป็นพิเศษ ดูแล้วไม่อยากละสายตา

 วิธีการเลี้ยงก็ไม่ยาก เป็นกุ้งที่อึด ทน เลี้ยงง่ายในน้ำจืดสะอาด จะเลี้ยงใส่ตู้กระจกเล็กๆ หรือตู้ใหญ่ๆก็ได้แล้วแต่จะเลือก (แต่กุ้งตัวไม่โตนะ555) แต่งตู้สวยๆเก๋ๆตามแบบที่เราอยากได้ รับรองกุ้งสบายตัว คนเลี้ยงสะบายใจแน่นอน

 ในส่วนของราคานั้นปัจจุบันมีตั้งแต่ราคาไม่สูงมาก จนถึง สูงมากๆ แล้วแต่สีสันของกุ้ง ซึ่งในราคาตัวลูกกุ้งไซส์ลงเดิน ยังมีราคาที่ไม่สูง สามารถหาเลี้ยงได้ตั้งแต่ตัวเล็กๆ เพื่อไว้เป็นพ่อพันธ์ุ แม่พันธ์ุในอนาคตได้ ซื้อตัวเล็กมาในราคาหลักร้อย แต่พอโตอาจได้หลักหมื่น5555 เป็นไปได้นะครับ
 หลังจากผสมพันธ์ุ แม่กุ้งก็สามารถที่จะออกไข่ได้จำนวนหลาย 100 ฟอง ดูตามรูปสิครับ แน่นท้องไม่มีที่ว่างเลย แอบนึกสงสารแม่กุ้ง คงหนักท้องน่าดู


 ประมาณ 50 วัน ก็ถึงเวลา ลูกกุ้งจะลงเดินแล้ว ก็สามารถที่จะออกจำหน่ายได้เลย หรือ เลี้ยงไว้ขายตอนโตก็ได้






Fb : Bundit Lee




วันศุกร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2560

กุ้งเดสทรัคเตอร์ Cherax destructor (กุ้งสายc)

    
ขอบคุณภาพจากทนายบัณฑิต สนใจสั่งซื้อกุ้ง Tel : 0845312501          
        

กุ้งเดสทรัคเตอร์  Cherax destructor (กุ้งสาย C )

เป็นกุ้งที่มีความสวยงาม และมีสีที่โดดเด่นชนิดหนึ่ง เป็นกุ้งสาย C คือกุ้งที่มีลักษณะของก้ามที่เรียบ และมีขนาดของก้ามที่ใหญ่มาก แถมตัวใหญ่อีกตังหาก เหมาะสำหรับเลี้ยงเพื่อความสวยงาม หรือกินเป็นอาหาร (แต่ผมคงไม่กินมันแน่นอน เพราะมันสวยและน่ารักมากๆดูตามันสิ)กินไม่ลง555 



แต่การเลี้ยงนั้นก็เลี้ยงไม่ยากเลย สำหรับคนที่สนใจ ขอบอกว่าเลี้ยงง่ายมาก แค่ต้องสนใจเอาใจใส่มันนิดนึง เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์อื่นนั่นละครับ อาหารก็หาได้ง่ายมากมีขายทั่วไป ทั้งอาหารเม็ด คาว หวาน 55 เยอะครับ ซึ่งน้องกุ้งก็กินง่ายอยู่ง่ายด้วย

 กุ้งชนิดนี้เป็นกุ้งที่สวยมีสเน่ห์ของมันอยู่นะครับ เหมาะสำหรับเลี้ยงในตู้ หรือ บ่อปูนซิเมนต์ก็ได้ แต่ถ้าเลี้ยงเพื่อความสวยงามแนะนำให้เลี้ยงในตู้กระจก จะดูสวยครับ สามารถเลี้ยงได้ตั้งแต่ตัวเล็กๆ จนถึงตัวใหญ่ๆ สามารถผสมพันธุ์เองได้ ราคานั้นก็ขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของกุ้ง

FB: bundit Lee

วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

การเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือล๊อบสเตอร์น้ำจืด

การเลี้ยงกุ้งก้ามแดงหรือล๊อบสเตอร์น้ำ ในบ่อซิเมนต์
การเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในบ่อปูน สามารถเลี้ยงได้ตั้งแต่กุ้งมีขนาดไซส์เล็กหรือไซส์ลงเดิน ไปจนถึงการเลี้ยงพ่อพันธ์แม่พันธ์
ขั้นตอน
1.เตรียมกุ้ง และเตรียมบ่อปูน ที่สะอาด และใส่น้ำสะอาดลงไปในบ่อระดับพอประมาณ อยู่ที่ขนาดไซส์กุ้งที่เลี้ยง เน้นเลยนะครับต้องเป็นน้ำสะอาด ไม่มีสารเคมีเจือปน เพราะกุ้งไม่ชอบสารเคมี  แล้วใส่กุ้งลงไป พร้อมทั้ง ใส่อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นรู อิฐ หิน หรือถ้าจะให้ดีก็จำพวกสาหร่ายหางกระรอก เพื่อให้ลูกกุ้งไว้หลบ ไว้เป็นอาหาร แต่ต้องล้างให้
สะอาดนะครับ และไว้เพื่อป้องกันการกินกันเอง กุ้งชนิดนี้ เวลามันลอกคราบมันจะอ่อนแอ เหมาะสำหรับเป็นอาหารของตัวที่จ้องจะกิน5555 
อาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้ง ก็มีหลายชนิดมีทั้งอาหารเม็ด ขนาดต่างๆ เลือกดูตามขนาดของกุ้ง สาหร่ายหางกระรอก ไส้เดือน หรือปลา หาซื้อได้ทั่วไปเพราะเดี่ยวนี้มีขายให้เลือกซื้อได้ง่าย เน้นอาหารที่มีโปรตีนสูงไว้ก่อนนะครับ
2.พอกุ้งได้ขนาด 1 นิ้วขึ้นไปก็สามารถย้ายไปยังสถานที่จะเลี้ยงเช่นบ่อปูนที่เตรียมเอาไว้ กุ้งก้ามแดงเป็นกุ้งที่ทน เลี้ยงง่าย ไม่ค่อยตาย บางครั้งปล่อยเดินลงบนพื้นยังเดินได้ไกลหลายนาทีเลยนะ

3.กุ้งก้ามแดง ถ้าเลี้ยงจนอายุพร้อมในการผสมพันธ์ุของพ่อแม่พันธ์ุกุ้งอยู่ที่ อายุประมาณ 8 เดือน ก็สามารถนำพ่อพันธ์ุและแม่พันธ์ุ อัตราส่วนอยู่ที่ ตัวผู้ 1 ตัวต่อตัวเมีย 2-3 ตัว ใส่รวมกันในบ่อ  แต่ของผมนั้น ใส่รวมกันเลยในบ่อปูนซิเมนต์บ่อใหญ่แล้วค่อยสังเกตตัวเมีย แล้วค่อยจับแยกเวลาตัวเมียม้วนหาง แสดงว่ากำลังจะไข่แล้ว 
4.ส่วนในเรื่องระยะเวลานั้น ประมาณ 2 เดือนเมื่อกุ้งผสมพันธ์ุ  ตัวเมียจะทำการอุ้มไข่หรือห่อไข่ สังเกตดูถ้ามันม้วนหางให้จับแยกอยู่สันโดดเลยนะครับ ใส่ตะกร้าสี่เหลี่ยมไว้ก็ได้ และต้องไม่ไปยุ่งกับแม่พันธ์ุตัวนั้น  เพราะมันจะตกใจและดีดไข่ ทำให้ความหวังของคนเลี้ยงต้องเสียใจ แถมเสียเวลาอีกตังหาก น่าเศร้าเลยนะครับ 
5.หลังจากแม่กุ้งไข่ ประมาณ 45 ถึง 50 วัน ลูกกุ้งจะเป็นตัว และลงเดินจากท้องแม่กุ้ง ได้ ซึ่งกุ้งตัวเล็กๆนั้นจะเรียกว่ากุ้งไซส์ลงเดิน สามารถที่จะจำหน่ายได้เลย หรือจะคัดแยกเลี้ยงเอาไว้จนขนาดใหญ่ ไว้ผสมพันธ์ต่อหรือจำหน่ายกุ้งตัวใหญ่ก็สามารถทำได้ ซึ่งในส่วนของราคานั้นก็แตกต่างกันแล้วแต่ขนาดของกุ้ง

มีต่อ

จับแม่ไข่ใส่ตะกร้า ป้องกันการถูกรบกวน


ลักษณะกุ้งตัวเมียก้ามจะไม่มีสีแดง

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560

เรียกดอกเบี้ยเกินอัตรารวมกับต้นเงินกรอกลงในสัญญากู้

กรณีเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายแล้วรวมกับต้นเงินกรอกลงในสัญญากู้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2657/2534
จำเลยรู้เห็นยินยอมให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมกับต้นเงินกรอกลงในสัญญากู้ สัญญากู้จึงไม่เป็นเอกสารปลอม การกู้เงินดังกล่าวไม่ผิดกฎหมาย แต่การคิดดอกเบี้ยเป็นความผิดตามกฎหมายต่างหากซึ่งแยกจากกันได้ สัญญากู้ในส่วนต้นเงินจึงไม่เป็นโมฆะ

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560

กรณีทำสัญญากู้เงินแล้วมอบสมุดบัญชีกับบัตรเอทีเอ็มให้เอาไว้

คำพิพากษาฎีกาที่ 4643/2539
ผู้กู้ทำสัญญากู้เงินโจทก์และมอบสมุดบัญชีเงินฝากและบัตรถอนเงินอัตโนมัติไว้กับโจทก์ โดยมีข้อตกลงให้โจทก์ไปเบิกเงินชำระหนี้เงินกู้ได้ แม้การใช้เงินกู้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง แต่การที่โจทก์ได้รับมอบสิทธิในการถอนเงิน โดยมอบบัตรถอนเงินอัตโนมัติให้โจทก์ไปถอนเงินของผู้กู้จากบัญชีเงินฝากของผู้กู้ ถือว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่น ซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคแรก

สัญญากู้ไม่ได้กำหนดเวลาชำระเงินต้นคืน


สัญญากู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดระยะเวลาชำระเงินต้นกันไว้ ผู้ให้กู้เรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้ได้โดยพลัน ผู้กู้ก็สามารถชำระเงินได้โดยพลันเช่นกัน


คำพิพากษาฎีกาที่ 2103/2535
สัญญากู้ไม่ได้กำหนดระยะเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ ผู้ให้กู้ย่อมเรียกให้ผู้กู้ชำระเงินได้โดยพลันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 และมีอำนาจฟ้องให้ผู้กู้ชำระหนี้โดยไม่ต้องบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 652 ก่อนก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562 แม้ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 จะให้สิทธิผู้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียเมื่อใดก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้...