วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

อายุความเช่าซื้อ

อายุความเช่าซื้อ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572  อันว่าเช่าซื้อนั้น คือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว
           สัญญาเช่าซื้อนั้นถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าเป็นโมฆะ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (6) เรียกค่าเช่าซื้อค้างชำระ อายุความ 2 ปี
เรียกทรัพย์คืนหรือให้ใช้ราคาแทน อายุความ 10 ปี
เรียกค่าเสียหายกรณีทรัพย์สูญหาย อายุความ 10 ปี
เรียกค่าขาดประโยชน์ หรือ ค่าติดตามทวงถาม อายุความ 10 ปี
เรียกค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์ อายุความ 6 เดือน

วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

การเรียกค่าสินไหมกรณีตาย

1.ค่าปลงศพ
2.ค่ารักษาพยาบาล
3.ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย
4.ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย
5.ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นที่เกี่ยวกับงานศพ ตามจำเป็นและสมควร
6.ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดแรงงาน

วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ละเมิด

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420
      ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

จากหลักกฎหมาย เมื่อมีการทำละเมิดเกิดขึ้น จนทำให้ผู้อื่นเสียหาย ผู้ที่กระทำละเมิดก็ต้องชดใช้ค่าสินไหม เพื่อบรรเทาหรือเยียวยาความเสียหายให้ผู้ถูกกระทำ ซึ่งก็แล้วแต่จะตกลงกัน และเป็นหน้าที่ของผู้ถูกทำละเมิดที่จะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าเสียหายอย่างไร เพียงใด

การโอนสิทธิเรียกร้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306
การโอนหนี้อันจะพึงต้องชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงนั้น ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือท่านว่าไม่สมบูรณ์ อนึ่งการโอนหนี้นั้นท่านว่าจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้ แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้น คำบอกกล่าวหรือความยินยอมเช่นว่านี้ท่านว่าต้องทำเป็นหนังสือ
     ถ้าลูกหนี้ทำให้พอใจผู้โอนด้วยการใช้เงิน หรือ ด้วยประการอื่นเสียแต่ก่อนได้รับบอกกล่าว หรือก่อนได้ตกลงให้โอนไซร้ ลูกหนี้นั้นก็เป็นอันหลุดพ้นจากหนี้


จากหลักกฎหมาย การโอนสิทธิเรียกร้องต้องทำเป็นหนังสือ จึงจะสมบูรณ์ ลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียวก็ได้

วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

สร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่น



ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310
    บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้นๆแต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้สร้าง
   แต่ถ้าเจ้าของที่ดินสามารถแสดงได้ว่า มิได้มีความประมาทเลินเล่อจะบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้นและเนียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไป และทำที่ดินให้เป็นตามเดิมก็ได้ เว้นไว้แต่ถ้าการนี้จะทำไม่ได้โดยใช่เงินพอสมควรไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างซื้อที่ดินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามราคาตลาดก็ได้

จากหลักกฎหมาย สามารถแยกผลได้ คือถ้ามีการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือน แต่ต้องใช้ค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้แก่คนสร้าง

แต่ถ้าสร้างโรงเรือนไม่สุจริต ต้องทำให้เหมือนเดิมแล้วส่งคืนเจ้าของที่ดิน


ที่ดินเกิดที่งอกริมตลิ่ง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308
ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่งที่งอกย่อมเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น

จากหลักกฎหมาย ที่ดินที่งอกออกไปจากตลิ่ง ต้องเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ถ้างอกออกไปจากที่ดินมีโฉนดที่งอกนั้นก็เป็นที่ดิน มีโฉนด ถ้างอกออกไปจากที่ดินมือเปล่าที่งอกนั้นก็เป็นที่ดินที่มีสิทธิครอบครอง

วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เจ้าหนี้เพิกถอนการฉ้อฉล

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใดๆอันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฎว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทำให้โดยเสน่หา ท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้
  บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน


#ต้องเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้วในขณะที่ลูกหนี้กระทำการให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มีสิทธิร้องขอเพิกถอนได้

วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

การรับช่วงสิทธิของผู้ค้ำประกัน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229
  การรับช่วงสิทธิย่อมมีขึ้นด้วยอำนาจกฎหมาย และย่อมสำเร็จเป็นประโยชน์แก่บุคคลดังจะกล่าวต่อไปนี้
คือ
1.บุคคลซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่เอง และมาใช้หนี้ให้แก่เจ้าหนี้อีกคนหนึ่งผู้มีสิทธิจะได้รับใช้หนี้ก่อนตนเพราะเขามีบุริมสิทธิ หรือมีสิทธิจำนำจำนอง
2.บุคคลผู้ได้ไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์ใด และเอาเงินราคาค่าซื้อใช้ให้แก่ผู้รับจำนองทรัพย์นั้นเสร็จไป
3.บุคคลผู้มีความผูกพันร่วมกันกับผู้อื่น หรือเพื่อผู้อื่นในอันจะต้องใช้หนี้ มีส่วนได้เสียด้วยในการใช้หนี้นั้น และเข้าใช้หนี้นั้น

จากหลักกฎหมาย ถ้าผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนลูกหนี้ไปแล้ว ก็รับช่วงสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ค้ำประกันคนอื่นได้ครึ่งนึง และไล่เบี้ยเอากับลูกหนี้ได้ทั้งหมด

การรับช่วงสิทธิ กับการรับช่วงทรัพย์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 226
บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง
   ช่วงทรัพย์ ได้แก่เอาทรัพย์สินอันหนึ่งเข้าแทนที่ทรัพย์สินอีกอันหนึ่ง ในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับทรัพย์สินอันก่อน

จากหลักกฎหมาย การรับช่วงสิทธินั้นต้องมีกฎหมายบัญญัติให้รับช่วงสิทธิได้ หากไม่มีกฎหมายให้สิทธิไว้ก็รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้มาเรียกไม่ได้

หนี้เงินคิดดอกเบี้ยผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี






ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น
   ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
   การพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นนอกกว่านั้นท่านอนุญาตให้พิสูจน์ได้

จากหลักกฎหมายดังกล่าว ดอกเบี้ยผิดนัดเรียกได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่ถ้าในสัญญาระบุเอาไว้ให้เรียกเกินอัตราดังกล่าว ก็สามารถเรียกได้ตามนั้น แต่ต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดด้วย

วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

การเรียกเอาค่าเสียหาย มาตรา 222

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222
การเรียกเอาค่าเสียหายนั้น ได้แก่ เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น
        เจ้าหนี้จะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ แม้กระทั่งเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ หากว่าคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว


การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย มาตรา 219

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219
ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ และซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบนั้นไซร้ ท่านว่าลูกหนี้เป็นอันหลุดพ้นจากการชำระหนี้นั้น
          ถ้าภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้วนั้น ลูกหนี้กลายเป็นคนไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ไซร้ ท่านให้ถือเสมือนว่าเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัย  ฉะนั้น

การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 218
ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจะทำได้เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ต้องรับผิดชอบไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าหนี้เพื่อค่าเสียหายอย่างใดๆอันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้น
          ในกรณีที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยแต่เพียงบางส่วน ถ้าหากว่าบางส่วนที่ยังเป็นวิสัยจะทำได้นั้นจะเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้แล้ว เจ้าหนี้จะไม่ยอมรับชำระหนี้ส่วนที่ยังเป็นวิสัยจะทำได้นั้นแล้ว และเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้เสียทั้งหมดทีเดียวก็ได้

จากหลักกฎหมาย การชำระหนี้เป็นพ้นวิสัย หมายความว่า ไม่สามารถทำการชำระหนี้ให้สำเร็จตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ได้ อันเป็นการพ้นวิสัยที่เป็นการถาวร มิใช่เป็นเพียงชั่วคราว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2538

ผิดนัดหนี้อันเกิดจากการละเมิด

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206
ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด

จากหลักกฎหมายดังกล่าว คนที่ทำละเมิดต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในค่าเสียหายนับตั้งแต่วันทำละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562 แม้ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 จะให้สิทธิผู้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียเมื่อใดก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้...