วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2562

การประกันตัวผู้ต้องหา

การประกันตัวผู้ต้องหา

ผู้มีสิทธิขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย
1.ตัวผู้ต้องหาเอง
2.จำเลย
3.ผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาหรือจำเลย เช่น พ่อ แม่ ลูก คู่สมรส ญาติพี่น้อง ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง หรือบุคคลอื่นที่ศาลเห็นว่ามีความสัมพันธ์ไกล้ชิดสมควรให้ประกันได้

หลักทรัพย์ที่ใช้ประกันตัวได้
1.เงินสด + สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน + สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกัน

2.โฉนดที่ดิน (ต้นฉบับ+สำเนา) +หนังสือรับรองการประเมินราคาที่ดินไม่เกิน 1 เดือน + แผนที่ไป
ที่ดิน+รูปถ่ายที่ดินและบริเวณไกล้เคียง+สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของเจ้าของที่ดิน+หนังสือยินยอมคู่สมรส+สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส

3.สมุดบัญชีเงินฝากประจำ สลากออมสิน โดยธนาคารระบุว่าได้ทำการอายัดไว้+สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน+หนังสือให้ความยินยอมคู่สมรส

4.ใช้บุคคลประกัน
-มีตำแหน่งหรือรายได้แน่นอน
-เป็นญาติพี่น้องหรือผู้บังคับบัญชา นายจ้าง
-วงเงินไม่เกิน 10 เท่าของรายได้สุทธิ
-หนังสือรับรองจากต้นสังกัด
-สลิปเงินเดือนล่าสุด
-สำเนาบัตรข้าราชการที่ผู้บังคับบัญชารับรองให้
-หนังสือยินยอมให้หักเงินเดือน
-บัญชีเครือญาติ
-สำเนาบัตรข้าราชการ
-สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน
-หนังสือให้ความยินยอมคู่สมรส
-สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านคู่สมรส

5.กรมธรรม์ประกันอิสระภาพ ติดต่อซื้อกรมธรรมม์จากบริษัทประกันได้โดยตรง

***********การประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย จะได้รับการประกันตัวต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลเท่านั้น****************





การลาคลอดบุตร

การลาคลอด

ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ลาเพื่อคลอดบุตรได้ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดยนับรวมวันหยุดด้วย
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร
จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง

 สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน

สำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน
กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง 

เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
  2. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) 
  3. สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
  4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมี 11 ธนาคาร ดังนี้
  • 1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)             
  • 2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)             
  • 3) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)             
  • 4) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)             
  • 5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)             
  • 6) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)             
  • 7) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)            
  • 8) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย                
  • 9) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)           
  • 10) ธนาคารออมสิน            
  • 11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 


ที่มา www.sso.go.th

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562 แม้ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 จะให้สิทธิผู้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียเมื่อใดก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้...