วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11000/2556

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11000/2556

คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยร่วม เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์จึงถือว่าพอใจในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องจำเลยร่วมแล้ว คดีโจทก์สำหรับจำเลยร่วมย่อมเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คงมีแต่จำเลยฝ่ายเดียวที่อุทธรณ์เพียงว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ก้าวล่วงไปวินิจฉัยให้จำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ทั้งที่คดีโจทก์สำหรับจำเลยร่วมได้ยุติไปแล้วนั้น จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขออุทธรณ์ของจำเลยและนอกประเด็น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2556

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2556

การที่โจทก์ร่วมเข้าเป็นโจทก์ในคดีนี้ ก็เพราะโจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นหมายเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีตาม ป.พ.พ.มาตรา 477 และ549 อันเป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(3) โจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 58 วรรคหนึ่ง หาใช่เป็นการร้องสอดเข้าเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(2) ซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ตนเข้าร่วมไม่ ดังนั้่นแม้ฟ้องเดิมโจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ร่วมก็เข้ามาในคดีได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในส่วนคดีของโจทก์ร่วมโดยเห็นว่าโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้องตามคดีส่วนของโจทก์และไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในคดีส่วนของโจทก์ร่วมนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย

การร่างคำฟ้องคดีแพ่ง

การร่างคำฟ้องคดีแพ่ง
ผมจะจำหลักการแบบสั้นๆ แล้วนำข้อเท็จจริงมาปรับใช้เป็นเรื่องๆไป
1.ฐานะโจทก์ นิติบุคคล/บุคคลธรรมดากรณีมีฐานะพิเศษ
2.การมอบอำนาจ (ถ้ามี)ไล่เรียงเป็นลำดับถ้ามีการมอบหลายครั้ง
3.ฐานะของจำเลย นิติบุคคล/บุคคลธรรมดากรณีมีฐานะพิเศษ...
4.ข้อเท็จจริง นิติสัมพันธ์
5.การโต้แย้งสิทธิ
6.ได้รับความเสียหายอย่างไร
7.ให้รับผิดอย่างไร
8.การบอกกล่าวทวงถาม (ถ้ามี)
แยกเป็นข้อๆไป ประมาณ 3-5 ข้อก็พอแล้ว

เอาข้อเท็จจริงในปัญหามาเขียนตามลำดับเหตุการณ์ดูจากวันที่ เรียงความเป็นมาเป็นลำดับจะได้ไม่สับสน และนำไปปรับใช้กับคำฟ้องแพ่งทุกประเภทได้

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2557

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2557

คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมของคณะกรรมการสมาคมผู้คัดค้าน จึงเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอคดีเป็นคำร้องขออันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ซึ่งการร้องขอในลักษณะเช่นนี้ ต้องมีกฎหมายสารบัญญัติรับรองให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลได้ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยสมาคม คงมีแต่บัญญัติให้สมาชิกหรือพนักงานอัยการร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติในที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกสมาคมตามที่บัญญัติในมาตรา 100 ได้เท่านั้น แต่คดีนี้เป็นการร้องขอเพิกถอนมติที่ประชุมของคณะกรรมการสมาคม มิใช่ขอเพิกถอนมติในที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกสมาคม กรณีจึงไม่มีบทบัญญัติใดรับรองให้สมาชิกสมาคมหรือผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมของคณะกรรมการสมาคมเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท เมื่อผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิโดยคณะกรรมการสมาคมผู้คัดค้าน ก็ต้องใช้สิทธิฟ้องคดีเป็นคดีมีข้อพิพาท ไม่มีสิทธิหรืออำนาจยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทคำร้องขอของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ภายหลังมีผู้คัดค้านเข้ามาก็ไม่ทำให้อำนาจการยื่นคำร้องขอที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่ต้นเป็นคำร้องขอที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3783/2557

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3783/2557

ป.วิ.พ.มาตรา 24 ที่ให้ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายนั้นกฎหมายมีความประสงค์จะให้ใช้ในศาลชั้นต้นเท่านั้น ดังจะเห็นได้ว่าวรรคสุดท้ายของมาตรา 24 ดังกล่าวได้บัญญัติไว้ว่า คำสั่งใดๆของศาลที่ได้ออกตามมาตรานี้ให้อุทธรณ์และฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227 , 228 และ 247 เมื่อ ป.วิ.อ. ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการขอให้ศาลชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 24 มาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้ จำเลยทั้งห้าจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งคำร้องของจำเลยทั้งห้า (ว่ากรณีฟังไม่ได้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง) จึงเป็นการไม่ชอบ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ที่จะฎีกาคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทั่วไป ภาษาอังกฤษ

ใช่

Yes

ไม่ใช่

No

ขอบคุณ

Thank you

โปรด

Please

ไม่มีปัญหา

No problem

ขออภัย

Excuse me


ขอโทษ

Sorry

ฉันไม่รู้

I don  t  know

คุณเข้าใจใหม?

Do you understand me ?

ฉันเข้าใจ

I understand

ฉันไม่เข้าใจ

I don t understand


พูดอีกครั้งได้ใหม?

Pardon?

รอสักครู่

Just a momemt

ไม่เป็นไร

You re welcome


คำถาม

อะไร?

what?

อันไหน?

which?

เมื่อไหร่?

when?

ที่ไหน?

where?


ทำไม?

why?


ใคร?

who?

เท่าไหร่?

how many?


เท่าไหร่?

how much?


วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คำทักทายภาษาอังกฤษ

สวัสดี

Hello

ยินดีที่ได้รู้จัก

Nice to meet you.

ยินดีที่ได้รู้จักเช่นกัน

Nice to meet you too

คุณชื่ออะไร.....?

What your name ?

ฉันชื่อ....

My name is ......

คุณสบายดีไหม

How are you ?

ฉันสบายดี

I am fine.


ฉันไม่ค่อยสบาย

I am not fine.

แล้วคุณละ

And you ?


คุณอายุเท่าไหร่

How old are you ?

ฉันอายุ....ปี

I am ... year old.


คุณมาจากที่ไหน

Where are you from?


ฉันมาจาก

I am from ...

คุณอาศัยอยู่ที่ไหน

Where do you live ?

ฉันอาศัยอยู่ที่

I live in ...

ช่วงนี้คุณงานยุ่งหรือเปล่า

Have you been busy recently?


คุณกำลังจะไปที่ไหน

Where are you going ?

ลาก่อน

Bye.

แล้วเจอกันใหม่

See you later.

แล้วเจอกันพรุ่งนี้

See you tomorrow.

ขอให้โชคดี

Good luck

ดูแลตัวเองด้วย

Take care


ยินดีด้วย

Congratulations

อรุณสวัสดิ์

Good morning


สวัสดีตอนบ่าย

Good afternoon


สวัสดีตอนเย็น

Good evening


สวัสดีปีใหม่

Happy new year



สุขสันต์วันคริสต์มาส


Merry christmas

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6434/2557

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6434/2557

บทบัญญัติในมาตรา 22 และมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้กล่าวไว้ชัดแจ้งว่าเมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ลูกหนี้หามีอำนาจต่อสู้คดีใดๆหรือกระทำการใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินไม่ ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือในชั้นพิจารณาคดี การร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินเป็นการต่อสู้คดีใดๆหรือกระทำการใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างหนึ่งอันเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยจึงไม่มีอำนาจร้องคัดค้านการขายทอดตลาดเพราะกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่เพียงผู้เดียว จำเลยจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามคำร้องดังกล่าว แม้ภายหลังศาลฎีกาคดีที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจะพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยไม่พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจะพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยไม่พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของจำเลยก็ตาม ก็มิอาจทำให้คำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้เป็นคำร้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คำพิพากษาฎีกาที่ 6363/2557

คำพิพากษาฎีกาที่ 6363/2557

ป.วิ.พ.มาตรา 23 บัญญัติให้เป็นสิทธิแก่คู่ความในคดีเท่านั้นที่จะร้องขอให้ขยายระยะเวลาดังกล่าวได้ แม้ผู้ร้องจะได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้จากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แต่เมื่อขณะยื่นคำร้องนี้ผู้ร้องยังมิได้รับอนุญาตจากศาลให้เข้าสวมสิทธิแทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงไม่อยู่ในฐานะคู่ความในคดีนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาบังคับคดี ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลาบังคับคดีของผู้ร้อง (เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555)ชอบแล้ว
อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฎต่อมาว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิแทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2556 อันเป็นเวลาล่วงพ้นกำหนดเวลาบังคับคดีนี้ตาม ...ป.วิ.พ.มาตรา 271 แล้ว กรณีถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ผู้ร้องไม่อาจร้องขอขยายระยะเวลาบังคับคดีก่อนสิ้นสุดเวลาดังกล่าวได้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเห็นสมควรขยายระยะเวลาบังคับคดีแก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562 แม้ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 จะให้สิทธิผู้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียเมื่อใดก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้...