วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สิทธิของผู้ถูกจับ

ชั้นจับกุม
มาตรา 83 ในการจับนั้น เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่าเขาต้องถูกจับ แล้วสั่งให้ผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับพร้อมด้วยผู้ถูกจับ เว้นแต่สามารถนำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ในขณะนั้น ให้นำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ในขณะนั้น ให้นำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดังกล่าว แต่ถ้าจำเป็นก็ให้จับตัวไป
                  ในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้จับ ต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกจับทราบหากมีหมายจับให้แสดงต่อผู้ถูกจับ พร้อมทั้งแจ้งด้วยว่า ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้และผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ ถ้าผู้ถูกจับประสงค์จะแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุมที่สามารถดำเนินการได้โดยสะดวกและไม่เป็นการขัดขวางการจับหรือการควบคุมผู้ถูกจับหรือทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดก็ให้เจ้าพนักงานอนุญาตให้ผู้ถูกจับดำเนินการได้ตามสมควรแก่กรณี ในการนี้ให้เจ้าพนักงานผู้จับนั้นบันทึกการจับดังกล่าวไว้ด้วย
                   ถ้าบุคคลซึ่งถูกจับขัดขวางหรือจะขัดขวางการจับ หรือหลบหนีหรือพยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือการป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับนั้น


วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2560

อำนาจสืบสวนและสอบสวน

อำนาจสืบสวนและสอบสวน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 17 พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้

มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้

มาตรา 18 วรรคสอง สำหรับในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดหรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้

มาตรา 18 วรรคสาม ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในมาตรา 19 มาตรา 20 และมาตรา 21 ความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำนาจพนักงานสอบสวนคนใด โดยปกติให้เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนผู้นั้น เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนความผิดนั้นๆเพื่อดำเนินคดี เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็นหรือเพื่อความสะดวก จึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวน

มาตรา 18 วรรคสี่ ในเขตท้องที่ใดมีพนักงานสอบสวนหลายคน การดำเนินการสอบสวนให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้าในท้องที่นั้น หรือ ผู้รักษาการแทน

วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2560

บุคคลที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล

1.พนักงานอัยการ
2.ผู้เสียหาย

ตามมาตรา 28
ส่วนถ้าผู้เสียหายฟ้องคดีไว้แล้ว เกิดตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา จะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปก็ได้ ตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง

ส่วนถ้าผู้เสียหายที่ฟ้องคดีแล้วตาย เป็นผู้เยาว์ ผู้วิกลจริต หรือผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้แทนเฉพาะคดี ได้ยื่นฟ้องไว้แล้ว ผู้ฟ้องคดีแทนนั้นจะว่าคดีต่อไปก็ได้ ตามมาตรา 29 วรรคสอง

ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ถือตามความเป็นจริง ส่วนสามีภรรยา ต้องจดทะเบียนสมรส

วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ

การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ
เงื่อนไขที่ขอฟื้นฟูกิจการ
เมื่อลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และเป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม อาจยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีการฟื้นฟูกิจการได้ มาตรา 90/3

มาตรา 90/6
เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจะต้องแสดงถึง
-ความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้
-รายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนที่ลูกหนี้เป็นหนี้อยู่รวมกันไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
-เหตุอันสมควรและช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ
-ชื่อและคุณสมบัติของผู้ทำแผน
-หนังสือยินยอมของผู้ทำแผน

มาตรา 90/12 
นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาจนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผน หรือวันที่ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผน หรือวันที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้อวขอ หรือจำหน่ายคดี หรือยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการหรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการหรือพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ห้าม ตาม(1)-(11) 

เมื่อศาลสั่งรับคำขอแล้ว ให้ศาลดำเนินการไต่สวนเป็นการด่วน และให้ศาลประกาศคำสั่งรับคำร้องขอและวันเวลานัดไต่สวนในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อยหนึ่งฉบับไม่น้อยกว่าสองครั้งห่างกันไม่เกิน 7 วัน กับให้ส่งสำเนาให้เจ้าหนี้ทั้งหลายเท่าที่ทราบ และแก่นายทะเบียน... ให้ส่งก่อนวันนัดไต่สวนไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน มาตรา 90/9 

ระยะเวลาคัดค้านคำขอฟื้นฟูกิจการ
ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจยื่นคำคัดค้านก่อนวันนัดไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่าสามวัน มาตรา 90/9 วรรคสาม


การไต่สวนคำร้องขอ 
มาตรา 90/10 ในการไต่สวนคำร้องขอ ศาลต้องไต่สวนเอาความจริง ถ้าได้ความจริงและมีเหตุอันสมควรที่จะฟื้นฟูกิจการทั้งผู้ร้องขอยื่นคำร้องขอโดยสุจริตให้ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ มิฉะนั้นให้มีคำสั่งยกคำร้อง ในกรณีที่ไม่มีผู้คัดค้านคำร้องขอ ถ้าศาลเห็นสมควรจะงดการไต่สวน และมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการก็ได้







คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562 แม้ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 จะให้สิทธิผู้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียเมื่อใดก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้...