วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

เมื่อโจทก์ต้องการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีผู้บริโภคแต่ศาลไม่อนุญาต

เมื่อโจกท์ต้องการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ แต่เกิดปัญหาในกรณีมีการขออนุญาตขยายระยะเวลาอุทธรณ์หรือระยะเวลายื่นคำขออนุญาตอุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการรีบส่งคำขอและอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาสั่งโดยเร็ว 
ซึ่งมีขั้นตอนปฏิบัติตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณา
และการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดีในคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ 
ข้อ ๓๐  ในกรณีที่มีการยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องเพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา ๔๘ ให้ศาลชั้นต้นมีอำนาจตรวจคำขอและอุทธรณ์ และมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๘ หากผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคำขอและอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาสั่งโดยเร็วต่อไป
ในกรณีมีการขออนุญาตขยายระยะเวลาอุทธรณ์หรือระยะเวลายื่นคำขออนุญาตอุทธรณ์ หากศาลชั้นต้นเห็นสมควรอนุญาตให้ขยาย ให้ศาลชั้นต้นสั่งตามที่เห็นสมควร หากจะไม่อนุญาตให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๓๑  เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำขอตามข้อ ๓๐ แล้วให้รีบส่งสำเนาคำขอพร้อมอุทธรณ์ให้คู่ความอีกฝ่ายทราบและส่งคำขอดังกล่าวพร้อมอุทธรณ์และสำนวนคดีไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาสั่งโดยเร็ว โดยไม่จำต้องรอคำคัดค้านของคู่ความฝ่ายอื่น
ข้อ ๓๒  การพิจารณาคำขอเพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ตามข้อ ๓๑ ศาลอุทธรณ์มีดุลพินิจที่จะพิจารณาอนุญาตให้อุทธรณ์ได้เมื่อเห็นว่าเป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมหรือประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นส่วนรวม
ข้อ ๓๓  เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรอนุญาตให้อุทธรณ์ ให้มีคำสั่งรับอุทธรณ์ไว้พิจารณาและให้ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งดังกล่าวให้คู่ความฟัง
จำเลยอุทธรณ์อาจยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันฟังคำสั่งและภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่จำเลยอุทธรณ์ยื่นคำแก้อุทธรณ์ หรือนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้สิ้นสุดลง ให้ศาลชั้นต้นส่งคำแก้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์หรือแจ้งให้ทราบว่าไม่มีคำแก้อุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ได้รับคำแก้อุทธรณ์หรือแจ้งความเช่นว่าแล้ว ให้นำคดีลงสารบบความโดยพลัน
ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้อุทธรณ์ ให้มีคำสั่งยกคำขอและสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้วส่งสำนวนความคืนศาลชั้นต้นเพื่อแจ้งให้คู่ความทราบโดยเร็ว

วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ผลของการสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต

ผลของการสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต

ผู้ที่สร้างเป็นเจ้าของโรงเรือนที่สร้างขึ้น แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดินและจดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 วรรคหนึ่ง

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2562

หลักฐานการกู้ยืมเงินไม่ต้องระบุวันเดือนปีที่ทำสัญญาก็ได้

หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินไม่จำต้องระบุวันเดือนปีที่ทำสัญญา แต่กฎหมายบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๖๕๓ วรรคหนึ่ง บังคับให้ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ 

วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2562

สิทธิของผู้ขอปล่อยตัวชั่วคราว

สิทธิของผู้ที่ร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว
เมื่อศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ตามที่ผู้ต้องหา หรือจำเลย ร้องขอหรือ ผู้ที่เป็นญาติหรือผู้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง ร้องขอปล่อยชั่วคราว มีสิทธิขอดำเนินการได้ 2 แนวทาง
1.ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวใหม่
2.อุทธรณ์ หรือฎีกา คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี การยื่นอุทธรณ์กรณีศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์เมื่อใดก็ได้ แม้เกิน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง 

วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2562

การประกันตัวผู้ต้องหา

การประกันตัวผู้ต้องหา

ผู้มีสิทธิขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย
1.ตัวผู้ต้องหาเอง
2.จำเลย
3.ผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาหรือจำเลย เช่น พ่อ แม่ ลูก คู่สมรส ญาติพี่น้อง ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง หรือบุคคลอื่นที่ศาลเห็นว่ามีความสัมพันธ์ไกล้ชิดสมควรให้ประกันได้

หลักทรัพย์ที่ใช้ประกันตัวได้
1.เงินสด + สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน + สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกัน

2.โฉนดที่ดิน (ต้นฉบับ+สำเนา) +หนังสือรับรองการประเมินราคาที่ดินไม่เกิน 1 เดือน + แผนที่ไป
ที่ดิน+รูปถ่ายที่ดินและบริเวณไกล้เคียง+สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของเจ้าของที่ดิน+หนังสือยินยอมคู่สมรส+สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส

3.สมุดบัญชีเงินฝากประจำ สลากออมสิน โดยธนาคารระบุว่าได้ทำการอายัดไว้+สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน+หนังสือให้ความยินยอมคู่สมรส

4.ใช้บุคคลประกัน
-มีตำแหน่งหรือรายได้แน่นอน
-เป็นญาติพี่น้องหรือผู้บังคับบัญชา นายจ้าง
-วงเงินไม่เกิน 10 เท่าของรายได้สุทธิ
-หนังสือรับรองจากต้นสังกัด
-สลิปเงินเดือนล่าสุด
-สำเนาบัตรข้าราชการที่ผู้บังคับบัญชารับรองให้
-หนังสือยินยอมให้หักเงินเดือน
-บัญชีเครือญาติ
-สำเนาบัตรข้าราชการ
-สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน
-หนังสือให้ความยินยอมคู่สมรส
-สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านคู่สมรส

5.กรมธรรม์ประกันอิสระภาพ ติดต่อซื้อกรมธรรมม์จากบริษัทประกันได้โดยตรง

***********การประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย จะได้รับการประกันตัวต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลเท่านั้น****************





การลาคลอดบุตร

การลาคลอด

ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ลาเพื่อคลอดบุตรได้ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดยนับรวมวันหยุดด้วย
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร
จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง

 สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน

สำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน
กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง 

เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
  2. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) 
  3. สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
  4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมี 11 ธนาคาร ดังนี้
  • 1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)             
  • 2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)             
  • 3) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)             
  • 4) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)             
  • 5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)             
  • 6) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)             
  • 7) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)            
  • 8) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย                
  • 9) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)           
  • 10) ธนาคารออมสิน            
  • 11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 


ที่มา www.sso.go.th

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2562

คำพิพากษาฎีกาที่ 11/2561 บวกโทษ มาตรา 58

คำพิพากษาฎีกาที่ 11/2561 บวกโทษ ประมวลกฎหมายอาญามาตรามาตรา 58

 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคแรก บัญญัติว่า เมื่อความปรากฎแก่ศาลเอง หรือความปรากฎตามคำแถลงของโจทก์หรือเจ้าพนักงานว่า ภายในเวลาที่ศาลกำหนดตามมาตรา 56 ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาได้กระทำความผิดอันมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดนั้น ให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังกำหนดโทษที่รอการกำหนดไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีหลัง หรือบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลัง แล้วแต่กรณี ดังนั้น ความปรากฎต่อศาลตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยว่า ภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษให้จำเลย จำเลยได้กระทำความผิดคดีนี้อีก และคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นให้ลงโทษจำคุกจำเลย โดยไม่ลงโทษปรับ ไม่คุมความประพฤติจำเลย และไม่รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์จึงต้องนำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับโทษของจำเลยคดีนี้ด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคแรก



ที่มา: หนังสือคำพิพากษาฎีกาเนติบัณฑิตยสภา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562 แม้ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 จะให้สิทธิผู้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียเมื่อใดก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้...