วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สามีภริยาหย่ากัน

สามีภริยา ตกลงหย่ากัน แล้วตกลงยกทรัพย์สินให้ลูก ตราบใดที่ลูกยังไม่ได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาหย่า สามีภริยายังเป็นเจ้าของ คนละครึ่งนะครับ

การตีความสัญญา

การตีความสัญญา
การตีความสัญญาต้องตีความตามประเพณีที่ปฏิบัติและความสุจริต

ความผูกพันตามสัญญา กรณียื่นซองประกวดราคา

กรณีสัญญาที่จะทำมุ่งจะต้องทำเป็นหนังสือ

ฎีกาที่ 6014/2539 โจทก์ยื่นซองประกวดราคาเสนอขายเครื่องดูดฝุ่นให้จำเลยต่อมาจำเลยมีหนังสือเชิญโจทก์ไปทำสัญญา โจทก์ส่งผู้แทนไปลงนามในสัญญาซื้อขายแล้วแต่ผู้อำนวยการของจำเลยยังไม่ลงนามเนื่องจากยังมีการต้อรองราคากันอยู่ และปรากฎเงื่อนไขในการประกวดราคาว่า ถ้าโจทก์ไม่ไปทำสัญญากับจำเลย จำเลยจะริบหลักประกัน ต้องถือว่ายังไม่มีสัญญาต่อกัน ตาม ป.พ.พ.366วรรคสอง สัญญาซื้อขายยังไม่เกิด

ซื้อที่ดินที่ห้ามแบ่งแยกหรือห้ามโอน

ถ้าไม่รู้มาก่อนว่าว่าเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตปฎิรูปที่ดิน หรือเป็นที่ดินที่มีข้อกำหนดห้ามโอน คนที่ซื้อที่ดินดังกล่าว สามารถเรียกเงินคืนจากผู้ขายได้ ฎีกาที่ 2889/2553

ยักยอกเงินฝากธนาคาร

การฝากเงินธนาคาร นั้นถือว่าเงินตกเป็นของธนาคารแล้ว ถ้ามีคนอื่นถอนเงินของลูกค้าแล้วยักยอกเงิยนั้นไป ถือเป็นการละเมิดต่อธนาคาร ธนาคารฟ้องคืนเงินได้ ฎีกา 333/2550

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกทายาทคนเดียวกัน

เรื่่องการฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกจากทายาทคนเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์อย่างเดียวกันหรือไม่ ถือว่าเป็นทรัพย์มรดกอย่างเดียวกัน ต้องฟ้องร้องให้เสร็จไปในคราวเดียวกัน ฎีกาที่ 121/2506

อายุความฟ้องร้องเกี่ยวกับสัญญาเช่า

อายุความฟ้องร้องเกี่ยวกับสัญญาเช่า
-ค่าเช่าค้างชำระ สัญญาเช่าสังหาริมทรัพย์ อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/33 ประกอบมาตรา 193/34 (6)
-อสังหาริมทรัพย์ 5 ปี ตาม มาตรา 193/33
-ฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่า ห้ามฟ้องเมื่อพ้น 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า มาตรา 563

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

หนี้ร่วม

สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันให้ชำระหนี้จากสินสมรส และสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย มาตรา 1489

ให้สินสอดเป็นสัญญากู้

คำพิพากษาฎีกาที่ 2237/2519

ให้สินสอดโดยทำสัญญากู้ให้ แม้เงินที่ลงไว้ในสัญญากู้จะไม่ใช่สินสอดตามความหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 1436 (ม.1437 แก้ไข) เพราะเป็นการแต่งงานกันตามประเพณีโดยคู่กรณีไม่ถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นสำคัญก็ตาม แต่เมื่อจำเลยตกลงจะให้เงินตอบแทนแก่โจทก์ในการที่บุตรสาวของโจทก์จะแต่งงานอยู่กินกับบุตรชายของจำเลยโดยทำสัญญากู้ให้ไว้ดังกล่าว เมื่อได้มีการแต่งงานอยู่กินเป็นสามีภรรยากันแล้วจำเลยก็ต้องชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ได้

วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การปลดหนี้เฉพาะดอกเบี้ย

หนี้มีหลักฐานเป็นหนังสือว่าต้องเสียดอกเบี้ย การปลดหนี้แม้จะปลดเฉพาะดอกเบี้ยก็ต้องทำเป็นหนังสือ ฎีกาที่ 108/2485

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เจ้าของรถแท็กซี่ต้องร่วมรับผิดกับคนขับแท็กซี่ด้วย

กรณีมีการเช่ารถแท็กซี่มาขับ แล้วเกิดอุบัติเหตุ ใครจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนบ้าง ดูฎีกานี้คับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2544   รถแท็กซี่คันเกิดเหตุมีชื่อจำเลยที่ 2 และหมายเลขโทรศัพท์ ของจำเลยที่2 ปรากฎอยู่ข้างรถ การที่จำเลยที่ 1 นำรถคันดังกล่าวออกมารับส่งผู้โดยสาร ย่อมเป็นการแสดงออกต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยสุจริตว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 เข้าของรถในการรับจ้างบรรทุกผู้โดยศาล จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 427,821

ถือว่าอยู่ในทางการที่จ้าง

  • นายจ้างยินยอมให้ลูกจ้างนำรถไปใช้ในวันหยุด หรือนอกเวลาทำงานได้ เมื่อลูกจ้างขับรถไปในวันหยุด ก็ถือว่าอยู่ในทางการที่จ้าง ฎีกาที่ 1196/2531

  • ในกรณีลูกจ้างมีหน้าที่ขับรถยนต์ ได้ใช้หรือมอบหมายให้ผู้อื่นขับแทน ถือว่าอยู่ในทางการที่จ้างอยู่

  • ลูกจ้างจุดบุหรี่สูบขณะทำงานให้นายจ้าง ไฟจากหัวไม้ขีดกระเด็นไปไหม่ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย ถือเป็นการกระทำในทางการที่จ้าง


อุบัติเหตุจากการจอดรถริมถนนล้ำออกไปในผิวจราจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2517

คนขับรถของจำเลยจอดรถไว้ริมถนนในเวลากลางคืน ท้ายรถล้ำออกไปในผิดจราจร โดยไม่ได้มีเครื่องหมายแสดงว่ามีรถจอดอยู่ อันเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบก ซึ่งเป็นบทบัญญัติเพื่อป้องกันอันตรายแก่บุคคลอื่น และเป็นหน้าที่ของคนขับรถของจำเลยจะต้องปฏิบัติตาม เป็นเหตุให้รถของโจทก์ได้รับความเสียหาย เพราะชนท้ายรถของจำเลย ดังนี้ จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์

การบอกเลิกสัญญาเช่าช่วง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6179/2551

สัญญาเช่าช่วงอาคารชั้นล่างบางส่วนมีข้อตกลงว่าเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา การเลิกสัญญาจึงต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 566 สัญญาเช่าช่วงดังกล่าวมีข้อตกลงระบุชำระค่าเช่าเดือนละ 2,000 บาท ไม่ระบุวันที่ชำระค่าเช่าแน่นอน จึงต้องถือเอาวันสิ้นเดือนเป็นกำหนดระยะเวลาค่าเช่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 559 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าช่วงและจำเลยได้รับหนังสือวันที่ 4 สิงหาคม 2537 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 21 มีนาคม 2537 การบอกเลิกสัญญาเช่าช่วงชอบแล้ว

การเพิกถอนการฉ้อฉล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2553

การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 เป็นการให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะสงวนไว้ซึ่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้ เพราะทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นหลักประกันในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา214 ดังนั้นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลจึงหมายถึง เจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้และต้องเสียเปรียบจากการที่ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลง ไม่พอชำระหนี้อันเนื่องมาจากการทำนิติกรรมฉ้อฉลของลูกหนี้ ไม่ว่าเจ้าหนี้ดังกล่าวจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ก็ตาม แม้เจ้าหนี้ในหนี้ที่ยังไม่ได้มีการฟ้องร้องบังคับให้ชำระหนี้ก็มีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอนได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 2625/2551 บริการเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคม

คำพิพากษาฎีกาที่ 2625/2551

       โจทก์จัดให้มีบริการเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และอุปกรณ์โดยผู้เช่าจะต้องเสียเงินค่าเช่าเครื่องวิทยุคมนาคมและเสีค่าตอบแทน ในการใช้ความถี่วิทยุ ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (6) และค่าตอบแทนที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยมีลักษณะทำนองเดียวกับค่าเช่าเมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าตอบแทนเกินกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์สามารถทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ได้ จึงขาดอายุความ และเมื่อสิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนอันเป็นหนี้ประธานขาดอายุความ ค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่มซึ่งเป็นเบี้ยปรับและเป็นหนี้อุปกรณ์ ย่อมขาดอายุความด้วยตามมาตรา 193/26

หญิงหม้ายสมรสใหม่ได้เมื่อใด

หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อเวลาผ่านไปไม่น้อยกว่า 310 วัน นับแต่วันที่ ขาดจากการสมรสเดิมได้ล่วงพ้นไปเสียก่อน

ยกเว้น
1.คลอดบุตรแล้วในระหว่างเวลา 310 วัน
2.สมรสกับคู่สมรสเดิม
3.มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้มีครรภ์ หรือ
4.มีคำสั่งศาลให้สมรสได้

กรณีคู่หมั้นตายก่อนสมรสกัน

ถ้าคู่หมั้นฝ่ายหนึ่งตายก่อนสมรส อีกฝ่ายหนึ่งจะเรียกค่าทดแทนฝ่ายที่ตายไม่ได้ ส่วนของหมั้นหรือสินสอด ไม่ว่าฝ่ายไหนตาย หญิงหรือฝ่ายหญิงไม่ต้องคืนให้แก่ชายหรือฝ่ายชาย ม.1441

การหมั้นไม่สามารถฟ้องให้จดทะเบียนสมรสได้

มาตรา 1483
การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีการผิดสัญญาก็ไม่อาจจะฟ้องบังคับอีกฝ่ายให้ไปจดทะเบียนสมรสได้

วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เช่น ปัญหาเกี่ยวกับฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อน ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง นิติกรรมใดตกเป็นโมฆะ เป็นต้น

ฎีกาที่ 7465/2552 , 4399/2545


แต่ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ คดีขาดอายุความหรือไม่ ไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

การชี้สองสถาน

 การชี้สองสถาน ประกอบด้วยการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดหน้าที่นำสืบ

กำหนดเวลาการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง หรือคำให้การ

ระยะเวลาการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง หรือคำให้การ ตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา 180 ต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน ไม่น้อยกว่า 7 วัน

ฟ้องแย้งเกินอำนาจศาลไม่ได้

ฟ้องแย้งเกินอำนาจศาลไม่ได้ เช่น ศาลแขวง ทุนทรัพย์ต้องไม่เกิน 300,000 บาท ฎีกาที่ 2483/2516

ค่าส่งหมาย ไม่ใช่ค่าธรรมเนียมศาล ที่จะได้รับยกเว้น

ค่าธรรมเนียมการส่งหมาย ไม่ใช่ค่าธรรมเนียมศาล การได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจึงไม่รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่งหมาย ฎีกาที่ 4886/2546

ฟ้องซ้อน

เรื่องฟ้องซ้อน มาตรา 173 วรรค 2(1)

วางหลักไว้ว่า นับแต่เวลายื่นฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ระหว่างพิจารณา ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่น

  • ฟ้องคดีหลังขณะคดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณา (ต้น -อุทธรณ์-ฎีกา)
  • โจทก์จำเลยทั้งสองคดีเป็นคนเดียวกัน (ห้ามโจทก์)
  • คดีเป็นเรื่องเดียวกัน

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การจัดทำข้อบังคับการทำงาน

นายจ้างที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป จะต้องจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็น
ภาษาไทย อย่างน้อยต้องมี รายละเอียดดังนี้
- วันทำงาน เวลาทำงานปกติ และเวลาพัก
- วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด
- หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด
- วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
- วันลาและหลักเกณฑ์การลา
- วินัยและโทษทางวินัย
- การร้องทุกข์
- การเลิกจ้าง ค่าชดเชยและชดเชยพิเศษ
นายจ้างต้องประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานภายใน 15 วัน นับจากวันที่มีลูกจ้าง
รวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
นายจ้างต้องปิดประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยเปิดเผย ณ สถานที่ ทำงานของ
ลูกจ้างให้ประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต่อไปแม้ว่านายจ้างจะมีลูกจ้าง ลดต่ำกว่า
10 คนก็ตาม

ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงทำงานต่อไปนี้

ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงทำงานต่อไปนี้
- งาน เหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขา
เว้นแต่ลักษณะของงาน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ ร่างกายของลูกจ้างหญิงนั้น
- งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
- งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ
- งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ข้อยกเว้นนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย : ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยในกรณีใดกรณีหนึ่ง
ดังนี้
- ลูกจ้างลาออกเอง
- ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
- จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
- ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
- ฝ่าฝืน ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง
นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน ซึ่งหนังสือเตือนนั้นให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่
วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
- ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดย
ไม่มีเหตุอันสมควร
- ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

การจ่ายค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง

ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ดังนี้
1. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
2. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับ
ค่าจ้างอัตราสุดท้าย90 วัน
3. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับ
ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
4. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับ
อัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
5. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง
อัตราสุดท้าย300 วัน

ผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนกรณีลูกจ้างตาย

ผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนกรณีลูกจ้างตาย ตามมาตรา 20 พ.ร.บ.เงินทดแทน  พ.ศ.2537

ได้แก่
1.บิดามารดา
2.สามีภรรยา
3.บุตรที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เว้นแต่ยังศึกษาอยู่ในระดับที่ไม่สูงกว่าปริญญาตรี ที่แม้อายุเกิน 18 ปี ก็มีสิทธิได้รับเงินทดแทนได้
4.บุตรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี และทุพพลภาพ จิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
5.บุตรที่เกิดภายใน 310 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างถึงแก่ความตาย
6.ผู้อยู่ในอุปการะของลูกจ้าง กรณีได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะจากลูกจ้างที่ตายหรือสูญหาย (ไม่จำเป็นต้องเป็นญาติ)

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การถอนฟ้อง ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ

ถ้าโจทก์ขอถอนฟ้องโดยไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไป โดยจำเลยยังไม่ยื่นคำให้การ โจทก์สามารถถอนฟ้องได้โดยทำเป็นคำแถลงบอกกล่าวขอถอนฟ้อง ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 175 วรรคหนึ่ง

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ฟ้องค่าเสียหายหลังจากยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อมาแล้ว

การที่ไฟแนนท์รถยนต์ฟ้องตามสัญญาเช่าซื้อ ครั้งแรกให้ผู้เช่าซื้อส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืน หรือใช้ราคาแทน จนศาลมีคำพิพากษาตามขอ แล้ว ต่อมา ไฟแนนท์ฟ้องคดีอีกในส่วนของค่าเสียหายในการติดตามยึดรถยนต์และค่าเสื่อมราคาเนื่องจากรถยนต์มีสภาพทรุดโทรม (ฟ้องขาดทุน) ความเสียหายเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำพิพากษา จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ฎีกาที่ 1395/2545

การต้อสู้เรื่องขาดอายุความ

จำเลยที่จะต่อสู้เรื่องอายุความนั้น ต้องเขียนคำให้การโดยต้องให้การให้ชัดแจ้ง ว่าขาดอายุความเมื่อใด นับแต่เมื่อใด ถึงวันฟ้องคดีขาดอายุความไปแล้ว ตามฎีกาที่ 10683/2550

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562 แม้ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 จะให้สิทธิผู้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียเมื่อใดก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้...