วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2556

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2556

การที่โจทก์ร่วมเข้าเป็นโจทก์ในคดีนี้ ก็เพราะโจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นหมายเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีตาม ป.พ.พ.มาตรา 477 และ549 อันเป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(3) โจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 58 วรรคหนึ่ง หาใช่เป็นการร้องสอดเข้าเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(2) ซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ตนเข้าร่วมไม่ ดังนั้่นแม้ฟ้องเดิมโจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ร่วมก็เข้ามาในคดีได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในส่วนคดีของโจทก์ร่วมโดยเห็นว่าโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้องตามคดีส่วนของโจทก์และไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในคดีส่วนของโจทก์ร่วมนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย

การจ่ายเงินปันผล

การจ่ายเงินปันผล

                 การจ่ายเงินปันผลต้องได้รับอนุญาตจากที่ประชุมใหญ่ ตามคำเสนอแนะของคณะกรรมการ และการประกาศให้เงินปันผลเป็นอำนาจของที่ประชุมใหญ่ตามมาตรา 1201 วรรคแรก
                แต่กรรมการอาจจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลได้ ซึ่งเป็นการจ่ายไประหว่างปี ก่อนได้รับอนุญาตจากที่ประชุมใหญ่ตามมาตรา 1201 วรรคสอง แต่จะจ่ายได้บริษัทต้องมีกำไรพอจะจ่ายเงินปันผล โดยไม่มีกฎหมายให้กรรมการขออนุมัติจากที่ประชุมภายหลัง เว้นแต่ข้อบังคับของบริษัทจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
              ห้ามจ่ายเงินปันผลจาหกเงินอย่างอื่นนอกจากกำไร ตามมาตรา 1201 วรรคสาม
              ห้ามจ่ายเงินปันผลจนกว่าบริษัทจะแก้ไขให้หายขาดทุน ตามมาตรา 1201วรรคสาม
              ต้องจัดสรรกำไรสมทบทุนสำรองก่อนจ่ายเงินปันผล มาตรา 1202 อย่างน้อยหนึ่งในยี่สิบของจำนวนกำไร
              หากฝ่าฝืนมาตรา 1201 , 1202 เป็นความผิดบริษัทและกรรมการต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และ 50,000 บาท

วิธีการจ่ายเงินปันผล
1.กฎหมายกำหนดต้องมีการบอกกล่าวว่าจะจ่ายเงินปันผล มาตรา 1204 ไปยังตัวผู้ถือหุ้นที่ปรากฎชื่อในทะเบียนทุกคน แต่หากเป็นหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ ให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องถิ่นอย่างน้อยหนึ่งคราว หากฝ่าฝืนเป็นความผิดบริษัทและกรรมการต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และ 50,000 บาท

2.ต้องจ่ายตามส่วนที่ชำระราคาแล้วของแต่ละหุ้น เว้นแต่ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในเรื่องหุ้นบุริมสิทธิ

3.คิดดอกเบี้ยค้างจ่ายเงินปันผลกับบริษัทไม่ได้ มาตรา 1205


ผู้ถือหุ้น ตามมาตรา 1203 จะรับผิดคืนเงินปันผลต่อเมื่อไม่สุจริต รู้ถึงการจ่ายเงินที่ไม่ถูกต้อง ถ้าสุจริตก็ไม่ต้องคืน





วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

ฎีกาที่ 7032/2539

ฎีกาที่ 7032/2539

การที่ทนายโจทก์อ้างว่าหลงลืมวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงมิได้ยื่นฎีกาในกำหนดอายุฎีกานั้น มิใช่เหตุสุดวิสัย

คำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์

คำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ อ้างว่าที่ประชุมกรรมการบริษัทโจทก์เพิ่งมีมติให้ยื่นอุทธรณ์ เวลาที่เหลือยื่นอุทธรณ์ไม่ทัน เป็นพฤติการณ์พิเศษ เพราะโจทก์มีฐานะเป็นนิตบุคคลการใดๆเรื่องสำคัญต้องกระทำในรูปมติของคณะกรรมการบริษัทซึ่งไม่คล่องตัวหรือล่าช้า

ศาลที่บังคับคดีแทน



ศาลที่บังคับคดีแทนจะงดการบังคับคดีไม่ได้ ตามฎีกาที่ 2769/2539

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

การโอนหุ้น

มาตรา 1129

การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและมีพยานลงชื่อรับรองลายมืออย่างน้อย 1 คน มิฉะนั้นเป็นโมฆะ

มาตรา 1129 วรรคสอง หนังสือโอนหุ้นจะต้องระบุเลขหมายของหุ้น ฎีกาที่ 1086/2512

หุ้นและผู้ถือหุ้น

ฎีกาที่ 2131/2519

บริษัทเอาเงินที่ผู้ถือหุ้นให้ยืมมา หักกับราคาหุ้นที่ผู้ถือหุ้นค้างชำระ ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 1119 ถือว่ายังไม่ได้ชำระค่าหุ้นในส่วนนี้

ผู้เริ่มก่อการบริษัท

ผู้เริ่มก่อการบริษัท ต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัด ในส่วนของหนี้และเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทไม่อนุมัติ และถึงแม้จะอนุมัติยังต้องรับผิดจนกว่าจะจดทะเบียนตั้งบริษัท มาตรา 1113

ห้างหุ้นส่วนสามัญ

ห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่ได้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย จึงเข้าเป็นคู่ความในคดีไม่ได้ ฎีกาที่ 3625/2546

คำฟ้องขัดกันเอง

คำฟ้องขัดกันเองถือว่าเป้นคำฟ้องที่เคลือบคลุม  ฎีกาที่ 493/2495

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

การออกหุ้นบุริมสิทธิ

หุ้นบุริมสิทธิ หมายถึงหุ้นที่มีสิทธิ และหน้าที่ แตกต่างไปจากหุ้นสามัญ ซึ่งอาจจะมีสิทธิและหน้าที่ที่ดีกว่า หรือด้อยกว่าหุ้นสามัญก็ได้

บริษัทจำกัดที่มีหุ้นสามัญเพียงประเภทเดียว ถ้าประสงค์จะมีหุ้นบุริมสิทธิ สามารถทำได้ โดยการเพิ่มทุน ด้วยการออกหุ้นใหม่

ในการเพิ่มทุนออกหุ้นใหม่นั้น หุ้นที่ออกใหม่กรรมการต้องเสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละราย บริษัทไม่สามารถเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ให้กับบุคคลภายนอกได้ ตาม ปพพ. มาตรา 1222

โดยการเพิ่มทุนออกหุ้นสามารถทำเป็นหุ้นบุริมสิทธิ เพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่ดีกว่าหุ้นสามัญได้ เช่น การมีสิทธิออกเสียง หากต้องการให้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์ออกเสียง สามารถกำหนดได้ โดยจะให้ออกเสียงได้เท่ากับ น้อยกว่า หรือมากกว่าหุ้นสามัญ สามารถดำเนินการได้ ทำให้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ 1 หุ้น มีสิทธิลงคะแนนเสียง 10 เสียง   ก็ทำได้

แต่ถ้าบริษัทมีการออกหุ้นบุริมสิทธิไว้แล้ว ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ตามมาตรา 1142 กำหนดไว้ว่า “ถ้าบริษัทได้ออกหุ้นบุริมสิทธิไปแล้ว ได้กำหนดไว้ว่าบุริมสิทธิจะมีแก่หุ้นนั้นๆ เป็นอย่างไร ท่านห้ามมิให้แก้ไขอีกเลย

ลูกจ้างกระทำผิดระเบียบ วินัยของบริษัท

คำพิพากษาฎีกาที่ 599/2557

ระเบียบของจำเลยว่าด้วยการบริหารงานบุคคลตอนที่ 2 ว่าด้วยวินัย การลงโทษ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ พ.ศ.2537 ข้อ 5.12 ระบุว่า พนักงานต้องรักษาวินัยที่กำหนดไว้ต่อไปนี้โดยเคร่งครัด คือ รักษาเกียรติชื่อเสียงของบริษัท ไม่ประพฤติชั่ว ไม่ประพฤติตนเป็นอันธพาล ไม่กระทำผิดกฎหมายหรือศิลธรรมอันดี รวมทั้งไม่ประพฤติตนอันเป็นภัยต่อสังคม หรือบริษัท การที่โจทก์นำภาพถ่ายเปลือยของหญิงและภาพถ่ายการร่วมประเวณีระหว่างหญิงดังกล่าวกับโจทก์ที่โจทก์บันทึกไว้ออกเผยแพร่เพื่อประจานฝ่ายหญิงนั้น เป็นการกระทำของผู้ที่มีจิตใจผิดปกติที่คนธรรมดาจะพึงกระทำ และการกระทำของโจทก์ปรากฎเป็นข่าวทางหนังสือพิมพ์รายวัน โดยในข่าวระบุว่าโจทก์เป็นพนักงานฝ่ายช่างของจำเลย จึงย่อมกระทบต่อเกียรติและชื่อเสียงของจำเลย ถือว่าโจทก์ไม่รักษาเกียรติและชื่อเสียงของจำเลยและยังเป็นการประพฤติชั่ว รวมทั้งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีอีกด้วย แม้โจทก์จะกระทำนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลาทำงานก็เป็นกากระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

ฎีกาที่ 7114/2557

คำพิพากษาฎีกาที่ 7114/2557

ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยขอยืมโฉนดที่ดินของโจทก์เพื่อนำไปใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครูแต่ต้องให้จำเลยเข้าไปมีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินโดยจำเลยมิได้มีเจตนาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินกับโจทก์ ต่อมาจำเลยนำที่ดินของจำเลยไปจดทะเบียนจำนองเป็นหลักประกันแทนที่ดินของโจทก์ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูจึงมอบโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยและอนุมัติให้จำเลยไปไถ่ถอนจำนองได้ แต่จำเลยไม่ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์พร้อมคืนโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ จึงเป็นเรื่องของการฟ้องเพื่อติดตามเอาทรัพย์คืนในฐานะเจ้าของทรัพย์สินที่ได้ให้จำเลยยืมโฉนดที่ดินไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ แม้โจทก์จะอ้างว่านิติกรรมที่โจทก์ยินยอมให้จำเลยเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินเป็นการแสดงเจตนาลวงและเป็นนิติกรรมอำพรางกับมีคำขอให้บังคับให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นก็ไม่ใช่เป็นเรื่องฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลซึ่งนิติกรรมใดๆที่จำเลยได้กระทำขึ้นต่อมาหลังจากนั้นโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 อันจะทำให้มีกำหนดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 240

คำพิพากษาฎีกาที่ 609/2557

คำพิพากษาฎีกาที่ 609/2557

เมื่อจำเลยขอคืนเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดไว้ตามหมายบังคับคดีที่สิ้นผลแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลย และแม้จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาให้ศาลฎีกามีคำสั่งคืนเงินดังกล่าวนั้น เมื่อการเสนอคำร้องขอที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษา ป.วิ.พ. มาตรา 7(2) บัญญัติให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302 และศาลที่มีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใดๆอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 302 คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั่นต้นการที่ศาลชั้นต้นสอบถามและมีคำสั่งให้คืนเงินแก่จำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1421/2558

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1421/2558

จำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทการในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ต้องถือตามจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันจริงในชั้นอุทธรณ์ มิได้ถือตามจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันมาตั้งแต่ในศาลชั้นต้น แม้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลชั้นต้นเกินกว่า 50,000 บาท แต่อุทธรณ์ของผู้ร้องโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ผู้ร้องรับผิดเพียงจำนวน 36,000 บาท ส่วนค่าเสียหายรายเดือนภายหลังวันที่ยื่นคำร้องเป็นค่าเสียหายในอนาคตอันยังไม่ถึงกำหนดเกิดขึ้นในเวลายื่นคำร้องไม่อาจคำนวณรวมเข้าด้วยเป็นทุนทรัพย์ในคดี  อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าว

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559

หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี

หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีกฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้อง

คำพิพากษาฎีกาที่ 6154/2558

โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ก.เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทน ตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง แม้ไม่ปรากฎรอยตราสำคัญของบริษัทโจทก์ประทับไว้ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เสียไป เราพหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 18

คำพิพากษาฎีกาที่ 962/2534

คำพิพากษาฎีกาที่ 962/2534

             การที่ ฉ.ลงลายมือชื่อในคำรับเป็นทนายความในใบแต่งทนายความ 2 ฉบับซึ่งไม่มีข้อความระบุว่า ผู้ร้องทั้งสองได้แต่งตั้งให้ ฉ .เป็นทนายความแต่ระบุชื่อ น.เป็นทนายความเช่นนี้ ฉ. จึงมิใช่ทนายความของผู้ร้องทั้งสองและไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในคำร้องขัดทรัพย์แทนผู้ร้องทั้งสองตาม ป.วิ.พ.มาตรา 62
            คำร้องขัดทรัพย์มีลักษณะเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1(3) จึงต้องลงลายมือชื่อของผู้ร้องทั้งสองตามมาตรา 67(5) หรือลายมือชื่อของทนายความที่ผู้ร้องแต่งตั้งตามมาตรา 62 มิฉะนั้นคำร้องดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 67(5) ศาลต้องสั่งคืนคำร้องนั้นไปให้ผู้ร้องทั้งสองแก้ไขภายในระยะเวลาตามที่เห็นสมควรจะกำหนดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แต่คำร้องขัดทรัพย์ที่ลงลายมือชื่อโดยทนายความผู้ไม่มีอำนาจ มิใช่กรณีที่คำร้องไม่มีลายมือชื่อของผู้ร้องอันจะสั่งให้แก้ไขได้ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ศาลชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับคำร้องนั้น 
         

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562 แม้ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 จะให้สิทธิผู้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียเมื่อใดก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้...