วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2561

น้ำท่วมคอนโดรถยนต์เสียหายใครต้องรับผิดชอบ


เป็นคำถามที่น่าสนใจ เหตุการณ์ฝนตกไม่ว่าจะในฤดูหรือฝนนอกฤดูกาล เมื่อตกจนท่วมลานจอดรถชั้นใต้ดิน ทำให้รถยนต์เจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมที่จอดไว้ ได้รับความเสียหาย         ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ?

การหาผู้รับผิดชอบในเหตุการณ์ดังกล่าว นั้นต้องหาข้อเท็จจริง ถึงสาเหตุที่น้ำท่วมให้ได้เสียก่อนว่าเกิดจากอะไร ใครมีส่วนประมาทเลินเล่อหรือไม่ 

ซึ่งบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้ ก็มี เจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม ผู้ครอบครองห้องชุด ผู้ครอบครองรถยนต์ นิติบุคคลอาคารชุด บริษัทที่รับจ้างบริหารจัดการธุรกิจงานนิติบุคคล เจ้าของโครงการคอนโดมิเนียม บริษัทที่รับประกันภัย ทั้งของนิติบุคคลอาคารชุดและบริษัทประกันภัยรถยนต์ เป็นต้น

ทีนี้ก็มาดูหลักกฎหมายกันสักนิดเรื่องเหตุสุดวิสัย

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 วางหลักเรื่องเหตุสุดวิสัย ไว้ว่า มาตรา 8  คำว่า “เหตุสุดวิสัย” หมายความว่า เหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น

ถ้าเหตุการณ์น้ำท่วมเกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัย หมายความว่า เหตุการณ์นี้โทษใครไม่ได้ ต้องโทษฟ้าโทษฝน

แต่มีเหตุการณ์น้ำท่วมคอนโดมิเนียม โดยเฉพาะพื้นที่ลานจอดรถชั้นใต้ดิน ซึ่งเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อ ของนิติบุคคลอาคารชุด บริษัทที่รับว่าจ้างดำเนินการจัดการดูแลทรัพย์ส่วนกลาง หรืออาจเกิดจากความประมาทตั้งแต่การก่อสร้างคอนโด ซึ่งในส่วนนี้ต้องอาศัยข้อเท็จจริงพยานหลักฐาน เป็นสำคัญ ซึ่งต้องพิจารณาว่า ตั้งแต่ เมื่อฝนเริ่มตั้งเค้า และตกลงมา นิติบุคคล มีการป้องกันอย่างไร การเตรียมการป้องกันทำหรือไม่ การประเมินสถานการณ์มีความล่าช้า เกินไปหรือไม่ การแจ้งเตือน แผนรับมือกับสถานการณ์ต่างๆมีหรือไม่ เพราะอะไรก็เพราะเวลาฝนตกไม่ว่าในฤดูกาล หรือนอกฤดูกาล มีการแจ้งเตือนจากกรมอุตุ หรือไม่มีก็ตามแต่ ใน กทม หรือต่างจังหวัด เวลาฝนตก ไม่ใด้ท่วมทันทีทันใด ต้องอาศัยการตกสะสม ปริมาณน้ำถึงจะสูงขึ้น มีเวลาในการป้องกัน คนที่เกี่ยวข้องต้องรู้และสังเกตุได้ เพราะเชื่อว่าเจ้าของร่วมอาคารชุดทุกคนคงจะไม่ทราบมาก่อนว่าน้ำจะท่วมลานจอดรถชั้นใต้ดิน รู้เพียงแค่จ่ายค่าส่วนกลางทุกๆเดือนทุกๆปี เขาต้องได้รับความสะดวกสบาย ปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เพราะถ้ารู้ว่าท่วมจะไม่ซื้อคอนโดโครงการนี้แน่นอน และโครงการคอนโดก็จะไม่มีใครบอกด้วยว่าน้ำจะท่วมลานจอดรถนะ เพราะอาจทำให้ไม่มีผู้ซื้อ

ดังนั้น ถ้าพิสูจน์ได้ว่าเหตุที่น้ำท่วมเกิดจากความประมาทเลินเล่อของนิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคคลอาคารชุด บริษัทรับจ้างดูแลทรัพย์ส่วนกลาง บริษัทประกันภัย ก็ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เสียหาย ส่วนโครงการนั้นถ้าส่งมอบงานให้กับนิติบุคคลอาคารชุดแล้วก็ไม่ต้องร่วมรับผิดชอบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4493/2543
พระราชบัญญัติอาคารชุดฯ ต้องการให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องชุดอันเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลสามารถใช้สิทธิในห้องชุดได้ตามสิทธิของตนแต่ทรัพย์ส่วนกลางถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างเจ้าของห้องชุดซึ่งมีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันทั้งกฎหมายและข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดล้วนกำหนดให้เป็นหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 1 ต้องดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนกลางของอาคารชุดเมื่อสาเหตุที่น้ำท่วมห้องชุดของโจทก์เพราะน้ำฝนเอ่อล้นจากท่อรับน้ำภายในอาคารชุดเนื่องจากท่อรวมรับน้ำอุดตัน ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลให้ท่อระบายน้ำดังกล่าวระบายน้ำได้ตลอดเวลา แม้โจทก์มิได้นำสืบว่าเหตุใดท่อน้ำจึงอุดตันและจำเลยที่ 1 ได้กระทำอย่างไรกับสิ่งอุดตันนั้นหรือบริเวณที่อุดตันนั้นไม่อาจตรวจพบได้โดยง่าย ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 แล้วเพราะจำเลยที่ 1 ได้เก็บเงินค่าดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนกลาง แล้วว่าจ้างบริษัทเอกชนที่มีอาชีพในการบริหารอาคารชุดมาทำหน้าที่แทน เมื่อบริษัทดังกล่าวละเว้นหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อปล่อยให้ท่อระบายน้ำอุดตันจนน้ำท่วมห้องชุดของโจทก์เช่นนี้ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้

มาตรา 680 วรรคสอง สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้
ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันส่วนเจ้าหนี้ไม่ต้องลงลายมือชื่อก็ได้ ส่วนหนี้ที่ค้ำประกันนั้นต้องเป็นหนี้อันสมบูรณ์ มาตรา681 วรรคหนึ่ง  ไม่เช่นนั้นสัญญาค้ำประกันตกเป็นโมฆะ ตามผลของมาตรา 685/1

ข้อตกลงเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นโมฆะ
-ให้ผู้ค้ำประกันเป็นบุคคลธรรมดารับผิดร่วมกับลูกหนี้  ตามมาตรา 681/1 กฎหมายใหม่
-ข้อตกลงการค้ำประกันที่แตกต่างไปจากมาตรา 685/1

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2561

อายุความคดีเช็ค

อายุความคดีเช็ค
ทางอาญา ต้องแจ้งความร้องทุกข์ ภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินครั้งแรก และเมื่อร้องทุกข์ไว้เรียบร้อยแล้ว จะฟ้องคดีด้วยตนเองต้องฟ้องภายใน 5 ปี นับแต่วันกระทำความผิด ถ้าไม่แจ้งความร้องทุกข์กับตำรวจ ต้องฟ้องคดีด้วยตนเอง ภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน

ทางแพ่ง ต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงในเช็ค 

คำร้องทุกข์ หมายถึง

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (7) คำร้องทุกข์ หมายความถึง การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่ามีผู้กระทำความผิดเกิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้น ได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 157 การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมฆะ
           ความสำคัญผิดตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นความสำคัญผิดในคุณสมบัติ
ซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญ ซึ่งหากมิได้มีความสำคัญผิดดังกล่าวการอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

จดทะเบียนยกที่ดินให้โดยไม่ได้ตั้งใจให้จริงๆ

คำพิพากษาฎีกาที่ 1016/2513
จำเลยจดทะเบียนนกที่ดินให้ ส. โดยไม่ได้ตั้งใจให้จริงๆแต่จดทะเบียนยกให้เพื่อให้ผู้รับการยกให้คือ ส. ไปสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ โดยเอาที่ดินแปลงนั้นไปจำนองสหกรณ์ได้เท่านั้น ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า นิติกรรมการยกให้ที่ดินเป็นโมฆะ เพราะเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีทั้งสอง

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561

จ่ายค่าโทรศัพท์ให้ทุกเดือน ถือเป็นค่าจ้าง

คำพิพากษาฎีกาที่ 2873/2557
จำเลยจ่ายค่าโทรศัพท์อัตราเดือนละ 1,000 บาท ในลักษณะเหมาจ่ายเท่ากันทุกเดือน โดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะจ่ายเป็นค่าโทรศัพท์หรือไม่ หรือได้ใช้ไปจำนวนมากน้อยเพียงใด ทั้งโจทก์ไม่ต้องแสดงใบเสร็จเป็นหลักฐาน จึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ถือได้ว่าเป็นค่าจ้าง

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ชกต่อยกันชั่วครู่ ไม่มีบาดแผล และทำงานกันต่อ เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับไม่ร้ายแรง

คำพิพากษาฎีกาที่ 10452/2546
เหตุชกต่อยระหว่างลูกจ้างเกิดอยู่เพียงชั่วครู่ประมาณ 3 นาที โดยลูกจ้างคนที่หนึ่งถูกลูกจ้างถูกชก 2 ครั้ง ถูกเบ้าตาซ้ายไม่มีบาดแผล หลังเกิดเหตุแล้วยังทำงานล่วงเวลาด้วยกันจนถึง 20 นาฬิกา โดยไม่มีเรื่องอะไรต่อกันอีก เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีไม่ร้ายแรง

คำพิพากษาฎีกาที่ 4320/2546
ลูกจ้างหญิงตบหน้าลูกจ้างหญิงอีกคนหนึ่ง 1 ครั้ง เนื่องจากลูกจ้างหญิงดังกล่าวใช้ไขควงปาใส่แต่ไม่ปรากฎว่าได้รับบาดเจ็บ มิใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีที่ร้ายแรง

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2561

เขตอำนาจศาล

เรื่องเขตอำนาจศาลที่จะฟ้องคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 3
ในกรณีที่มูลคดีเกิดขึ้นในเรือไทย หรืออากาศยานไทยที่อยู่นอกราชอาณาจักร ➡️ ศาลแพ่ง เป็นศาลที่มีเขตอำนาจ


กรณีที่จำเลย ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร
(ก)ถ้าจำเลยเคยมีภูมิลำเนา อยู่ณ ที่ใดในราชอาณาจักรภายใน 2 ปี ก่อนเสนอคำฟ้อง ให้ถือว่าที่นั้นเป็นภูมิลำเนา
(ข)ถ้าจำเลยประกอบหรือเคยประกอบกิจการ ไม่ว่าโดยตนเองหรือตัวแทน หรือมีบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการนั้นในราชอาณาจักร ให้ถือว่าสถานที่ที่ใช้นั้นหรือเคยใช้ประกอบกิจการหรือติดต่อดังกล่าวหรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของตัวแทนหรือของผู้ติดต่อในวันที่มีการเสนอคำฟ้องหรือภายในกำหนดสองปีก่อนนั้นเป็นภูมิลำเนา


ถ้าจำเลยมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรหรือมูลคดีเกิดในราชอาณาจักรไทย

มาตรา 4
คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาล ที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่

ถ้าจำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทยและมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทย
ถ้าโจทก์มีสัญชาติไทยหรือมีภูมิลำเนาอยู่ในราขอาณาจักรไทย ให้เสนอต่อศาล ➡️ ศาลแพ่ง หรือ ศาลที่โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือถ้ามีทรัพย์สินอยู่ในราชอาณาจักรก็เสนอต่อศาลที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในเขตศาล





วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การหมั้นชายและหญิงต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว

                 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435 การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว
                การหมั้นที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติวรรคหนึ่งเป็นโมฆะ
-มาตรา 172 วรรคสอง ถ้าจะต้องคืนของหมั้น ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ ตามมาตรา 142 ฎีกา 3072/2547 (ประชุมใหญ่)

โมฆะกรรม

โมฆะกรรมเป็นนิติกรรมที่เสียเปล่ามาแต่ต้น ถือเสมือนไม่เกิดนิติกรรมนั้นขึ้นเลย ผู้มีส่วนได้เสียสามารถยกขึ้นอ้างเกี่ยวกับโมฆะกรรมได้โดยไม่มีการจำกัดเวลา

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การทำสัญญาซื้อขายนั้นถือเอาตัวทรัพย์เป็นสาระสำคัญ

การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม อันจะมีผลให้นิติกรรมเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 156 จะต้องเป็นการสำคัญผิดในทรัพย์สินที่จะต้องส่งมอบแก่กันตามสัญญาซื้อขาย โดยการทำสัญญาซื้อขายนั้นถือเอาตัวทรัพย์เป็นสาระสำคัญ การที่ผู้ซื้อรับสินค้าและใช้สินค้าจนกระทั่งชำระค่าสินค้าถึง 9 งวด โดยมิได้ทักท้วงเรื่องยี่ห้อของสินค้า จึงเป็นการซื้อสินค้าโดยมิได้สำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นสาระสำคัญ สัญญาซื้อขายไม่ตกเป็นเป็นโมฆะ

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 157
            การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ
             ความสำคัญผิดตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นความสำคัญผิดในคุณสมบัติซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญ ซึ่งหากมิได้มีความสำคัญผิดดังกล่าวการอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น


ซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง คนขายชี้ให้ดูที่ดินแล้ว ขายอีกแปลงหนึ่งให้

ซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง ผู้ขายไปชี้ให้ดูที่ดินแล้วว่าเป็นแปลงนั้น แต่กลับส่งมอบที่ดินอีกแปลงหนึ่งให้ สัญญาซื้อขายที่ดินนี้ย่อมตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 156 

วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

โจทก์เข้าประมูลซื้อทรัพย์เอง ต้องวางหลักประกันการเข้าสู้ราคาหรือไม่

หากโจทก์เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ เช่น ผู้รับจำนอง และศาลอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้บุริมสิทธิ์แล้ว จะเข้าประมูลซื้อทรัพย์เอง ไม่ต้องวางหลักประกันการเข้าสู้ราคา แต่หากโจทก์ซื้อได้ ต้องวางมัดจำร้อยละ 5 ของราคาเริ่มต้นในวันที่ซื้อได้

หากโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ ต้องวางเงินประกันการเข้าสู้ราคาตามเงื่อนไขที่ระบุในประกาศขายทอดตลาด

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ศาลพิพากษาให้ชำระค่าเลี้ยงดูเป็นประจำทุกเดือน แต่ค้างชำระจะทำอย่างไร


กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นประจำทุกเดือน แต่ไม่ชำระ เจ้าหนี้ขออายัดเงินเดือนของลูกหนี้ได้ โดยแม้จะมีเงินเหลือน้อยกว่า 20,000 บาท ก็ตาม เพราะเป็นการชำระตามจำนวนเงินที่ศาลสั่ง อายัดตามคำสั่งศาล อายัดเดือนปัจจุบันเป็นต้นไป ส่วนที่ค้างชำระมาก่อนเจ้าหนี้แถลงขออายัดเพิ่มเติมต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ หรือจะบังคับคดีโดยยึดทรัพย์ก็ได้ในส่วนที่ค้างชำระ

ลูกหนี้ขอลดการอายัดเงินเดือนได้หรือไม่


ลูกหนี้ขอลดอายัดการอายัดเงินเดือนได้ หากลูกหนี้มีความจำเป็น ขอลดได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่อายัดไว้เดิมซึ่งลูกหนี้ต้องนำส่งหลักฐานประกอบการพิจารณาของเจ้าพนักงานบังคับคดี ได้แก่ หลักฐานเกี่ยวกับการดำรงชีพ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่า ค่าผ่อนบ้าน ค่าเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น แต่ถ้าลูกหนี้จะขอลดมากกว่าครึ่งหนึ่ง ต้องขอลดโดยยื่นคำร้องขอลดต่อศาล แต่อย่าลืมว่าถ้าขอลดเยอะ หนี้ก็จะชำระครบช้าลงและดอกเบี้ยก็จะเพิ่มขึ้นเพราะเหลือต้นเงินเยอะ

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ลูกหนี้เป็นหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลต่อมาถูกอายัดเงินเดือน

กรณีลูกหนี้เป็นหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลรวมกันหลายบาท ต่อมาถูกเจ้าหนี้ฟ้องจนศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้ เจ้าหนี้จะดำเนินการอายัดเงินเดือนได้หรือไม่
1. เมื่อศาลออกหมายบังคับคดีแล้วเจ้าหนี้จะดำเนินการ อายัดเงินเดือนของลูกหนี้ได้ ทั้งนี้เงินเดือนของลูกหนี้ก่อนหักรายจ่ายอื่น ต้องมีเงินคงเหลือให้ลูกหนี้ไม่น้อยกว่า 20,000 บาท
-โบนัส อายัดไม่เกินร้อยละ50
-เบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลา อายัดไม่เกินร้อยละ 30
-เงินตอบแทนกรณีออกจากงาน อายัดได้ต้องมีเงินเหลือไว้ไม่น้อยกว่า 300,000 บาท
2.เมื่อนายจ้างรับคำสั่งอายัดจากเจ้าพนักงานบังคับคดี ต้องนำส่งเงินตามคำสั่งอายัดอย่างเคร่งครัด หากมีเหตุขัดข้องต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ มิฉะนั้น อาจต้องชำระหนี้เสมือนเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา เท่ากับจำนวนที่นายจ้างไม่ได้นำเงินส่งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าหนี้จะยื่นคำร้องขอศาลไต่สวนนายจ้างให้ส่งเงินอายัด หากยังไม่ส่งอาจบังคับคดีเอากับนายจ้าง
3. ลูกหนี้ประสงค์นำส่งเงินด้วยตนเอง ลูกหนี้ต้องไปตกลงกับนายจ้างก่อนเพราะนายจ้างมีหน้าที่ต้องนำส่งเงิน ถือว่าลูกหนี้นำส่งแทนนายจ้าง ต้องนำส่งใบเสร็จรับเงินของเจ้าพนักงานบังคับคดีให้นายจ้างทราบทุกครั้ง หากลูกหนี้ไม่ส่งนายจ้างมีความผิดตามที่กล่าวมาข้างต้น

ที่มา : กรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรม

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ฟ้องนายวงแชร์ (ท้าวแชร์)

ตามพระราชบัญญัติ การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 6(3) ประกอบกฎกระทรวง พ.ศ.2534 ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่าสามแสนบาท เป็นการห้ามนายวงแชร์หรือผู้จัดเท่านั้น ถ้านายวงแชร์ไม่ชำระเงิน สมาชิกวงแชร์จะฟ้องคดีเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ได้

ห้ามนิติบุคคลเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์

ตาม พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 5 บัญญัติว่า" ห้ามมิให้นิติบุคคลเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ " ถ้านิติบุคคลเป็นนายวงแชร์ ย่อมเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ไม่มีมูลหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย ฎีกา 875/2551

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

คนล้มละลายทำสัญญากู้ยืมเงิน

บุคคลล้มละลายทำสัญญากู้ยืมเงินในขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว
สัญญากู้ยืมเงินนั้นตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150

การซื้อขายที่ดินที่มีข้อกำหนดห้ามโอน

การซื้อขายที่ดินที่ มีข้อกำหนดห้ามโอนตามกฎหมาย การซื้อขายย่อมตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ผู้ซื้อไม่รู้มาก่อนว่าที่ดินอยู่ในบังคับห้ามโอนตามกฎหมาย ผู้ซื้อไม่มีหน้าที่ชำระเงินค่าที่ดิน และถ้ามีการชำระไปแล้ว ก็มีสิทธิเรียกเงินคืน

การซื้อขายที่ธรณีสงฆ์

การซื้อขายที่ธรณีสงฆ์ เป็นการซื้อขายที่วัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 การซื้อขายนั้นตกเป็นโมฆะ

กู้ยืมเงินซื้อเมทเอมเฟตามีน

การกู้ยืมเงินบุคคลอื่นเพื่อนำเงินมาซื้อเมทเอมเฟตามีน โดยคนที่ผู้ให้กู้รู้และทราบว่าผู้กู้จะนำเงินไปซื้อเมทเอมเฟตามีน จึงเป็นการกู้ยืมเงินที่เป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามกฎหมาย การกู้ยืมเงินนั้นเป็นโมฆะ 

นิติกรรม

นิติกรรม หมายความว่า การใดๆอันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 149

การกระทำที่มีวัตถุประสงค์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มาตรา 150 การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนการนั้นเป็นโมฆะ




วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561

ประกาศควบคุมธุรกิจให้เช่า มีผลบังคับ 1 พ.ค.2561


ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา
เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.. ๒๕๖๑ 

สรุป


ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยหมายความว่า การประกอบธุรกิจที่ผู้ประกอบธุรกิจตกลงให้ผู้เช่าซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา***ได้ใช้อาคารเพื่ออยู่อาศัย และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น โดยมีสถานที่ที่จัดแบ่งให้เช่าตั้งแต่ ๕ หน่วยขึ้นไป ไม่ว่าจะอยู่ในอาคารเดียวกันหรือหลายอาคารรวมกัน
ผู้เช่าหมายความรวมถึงผู้เช่าช่วงซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาด้วย**** (ไม่หมายความถึงผู้เช่าซึ่งเป็นนิติบุคคล)


*******ประเด็นสำคัญ ที่เป็นข้อห้าม*******

ข้อ ๔ ข้อสัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจทํากับผู้เช่าต้องไม่ใช้ข้อสัญญาที่มีลักษณะหรือความหมาย ในลักษณะทํานองเดียวกัน ดังต่อไปนี้

() ข้อสัญญาที่เป็นการยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดจากการผิดสัญญาหรือการกระทําละเมิด ของผู้ประกอบธุรกิจ

***() ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเก็บค่าเช่าล่วงหน้าเกินกว่าหนึ่งเดือน (ห้ามเกิน 1 เดือน)

() ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าอาคาร อัตราค่า สาธารณูปโภค อัตราค่าใช้จ่ายในการให้บริการ และอัตราค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ก่อนสัญญาเช่าอาคารสิ้นสุดลง

***() ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเก็บเงินประกันเกินกว่าหนึ่งเดือนของอัตรา ค่าเช่าอาคารเมื่อคํานวณเป็นรายเดือน (ห้ามเกิน 1เดือน)

() ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิริบเงินประกันหรือค่าเช่าล่วงหน้า

() ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจหรือตัวแทนเข้าตรวจสอบอาคารโดยมิต้องแจ้งให้ ผู้เช่าทราบก่อนล่วงหน้า

() ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดอัตราค่าบริการกระแสไฟฟ้าและน้ําประปา เกินกว่าอัตราที่ผู้ให้บริการกระแสไฟฟ้าและน้ําประปาเรียกเก็บจากผู้ประกอบธุรกิจ

() ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิกระทําการปิดกั้นไม่ให้ผู้เช่าเข้าใช้ประโยชน์อาคาร หรือมีสิทธิเข้าไปในอาคารเพื่อยึดทรัพย์สิน หรือขนย้ายทรัพย์สินของผู้เช่า ในกรณีที่ผู้เช่าไม่ชําระค่าเช่า หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อันเกี่ยวกับการเช่าอาคาร

() ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิเรียกค่าต่อสัญญาเช่าอาคารจากผู้เช่ารายเดิม (๑๐) ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าอาคารกับผู้เช่า โดยผู้เช่า
มิได้ผิดสัญญา หรือผิดเงื่อนไขอันเป็นสาระสําคัญข้อหนึ่งข้อใดในสัญญา

(๑๑) ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้เช่าต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้งานตามปกติ
ต่อทรัพย์สินและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ของอาคาร

(๑๒) ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้เช่าต้องรับผิดในความเสียหายต่ออาคาร ทรัพย์สิน และอุปกรณ์
เครื่องใช้ต่าง ๆ ในเหตุใดอันมิใช่ความผิดของผู้เช่า และในเหตุสุดวิสัย

(๑๓) ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้เช่าต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องต่ออาคาร ทรัพย์สิน และ
อุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานหรือเกิดการเสื่อมสภาพจากการใช้งานตามปกติ 

ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป 

ที่มา:เวปไซต์ราชกิจจานุเบกษา

วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2561

คำรับสารภาพต่อเจ้าพนักงานผู้จับกุม

ผู้ต้องหารับสารภาพในชั้นจับกุม

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 84 วางหลักไว้ว่า ถ้อยคำใดๆที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจในชั้นจับกุม หรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิด ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน


******ศาลจะนำคำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมของผู้ต้องหาหรือจำเลยมารับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้

****แต่ถ้าไม่ใช่คำรับสารภาพ ศาลรับฟังได้ในฐานะถ้อยคำอื่นเป็นพยานหลักฐาน พิสูจน์ความผิดของผู้ที่ถูกจับได้

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2561

สัญญาให้ที่ดินทำเป็นหนังสือ แต่ไม่ได้จดทะเบียนที่สำนักงานที่ดิน

ในเรื่องการทำสัญญาให้ที่ดินมีโฉนดหรือที่ดิน น.ส.3 ก เป็นหนังสือ แต่ไม่นำไปจดทะเบียน ที่สำนักงานที่ดิน นิติกรรมการให้ที่ดิน จึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ไม่สามารถฟ้องบังคับให้อีกฝ่ายไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้
มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2537 (ฉบับย่อ)
จำเลยทำหนังสือสัญญาให้ที่ดินโฉนดโดยเสน่หาแก่โจทก์โดยจะนำไปจดทะเบียน ณสำนักงานที่ดินภายใน 7 วันแต่เมื่อการให้ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ นิติกรรมการให้ย่อมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959:2536

ที่มา:www.Deka.co.th

วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ความผิดฐานยักยอกและความผิดฐานรับของโจร

ความผิดฐานยักยอก
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                  ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิดเพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียงกึ่งหนึ่ง

-ถ้าการเอาทรัพย์นั้นเป็นการเอาไปโดยรู้ หรือควรที่จะรู้ว่า เจ้าของทรัพย์นั้นกำลังติดตามอยู่ เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

-ถ้าการเอาทรัพย์นั้นเป็นการเอาไปโดยไม่รู้หรือไม่มีเหตุอันสมควรจะรู้ได้ เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหาย


ความผิดฐานรับของโจร
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 357 ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ จำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                   ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำเพื่อค้ากำไรหรือได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ ตามมาตรา 335 (10) ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสองหมื่นบาท
                    ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา 335 ทวิ การชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 ทวิ หรือการปล้นทรัพย์ตามมาตรา 340 ทวิ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท



วันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ผู้นั้นกระทำไม่มีความผิด

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68
ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตราย ซึ่งเกิดขึ้นจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ไกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด


วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561

ทิ้งฟ้อง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174
มาตรา 174  ในกรณีต่อไปนี้ให้ถือว่าโจทก์ได้ทิ้งฟ้อง คือ (1) ภายหลังที่ได้เสนอคำฟ้องแล้ว โจทก์เพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่จำเลย และไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้นภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง (2) โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว


วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

ฟ้องแย้ง

หลักประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
ฟ้องแย้ง นั้นต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิม พอที่จะพิจารณาชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562 แม้ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 จะให้สิทธิผู้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียเมื่อใดก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้...