วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558

คำพิพากษาฎีกาที่ 671/2557

คำพิพากษาฎีกาที่ 671/2557

ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ดังนี้คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156/1 วรรคสี่ ซึ่งมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่อนุญาตให้ผู้ร้องได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลนั่นเอง ผู้ร้องจึงมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 กล่าวคือ ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นมาชำระภายใน 15 วัน การที่ผู้ร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลอีก ซึ่งศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาตามคำร้องของผู้ร้องมาแล้ว 2 ครั้ง ก่อนหน้าที่จะยกคำร้องในครั้งนี้ และศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลอันเป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษาต่อเนื่องจากคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ไม่อนุญาตให้ผู้ร้องได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้ย่อมเป็นที่สุดเช่นเดียวกับคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 อันเป็นที่สุดนั้นด้วย ผู้ร้องไม่มีสิทธิฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต่อมาได้อีก

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เจ้าพนักงานขอให้ราษฎรช่วยจับ

มาตรา 82 เจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายจับ จะขอความ ช่วยเหลือจากบุคคลใกล้เคียงเพื่อจัดการตามหมายนั้นก็ได้แต่จะ บังคับให้ผู้ใดช่วยโดยอาจเกิดอันตรายแก่เขานั้นไม่ได้

*****หลัก คือ ต้องเป็นเจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายจับ   (ต้องมีหมายจับด้วย)

******จะ บังคับให้ผู้ใดช่วยโดยอาจเกิดอันตรายแก่เขานั้นไม่ได้

การจับโดยราษฎร

มาตรา 79 ราษฎรจะจับผู้อื่นไม่ได้เว้นแต่จะเข้าอยู่ในเกณฑ์แห่ง มาตรา 82 หรือเมื่อผู้นั้นกระทำความผิดซึ่งหน้า และความผิดนั้นได้ ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ด้วย


*******หลัก คือ ราษฎร จับผู้อื่นไม่ได้

เว้นแต่

1.เข้าอยู่ในเกณฑ์แห่ง มาตรา 82  คือ เจ้าพนักงานขอให้ช่วยจับตามหมายจับ
2.เมื่อผู้นั้นกระทำความผิดซึ่งหน้า และความผิดนั้นได้ ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ ได้แก่ ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก  ถ้าไม่ซึ่งหน้าราษฎรจับไม่ได้



พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับโดยไม่มีหมายจับ

มาตรา 78 พนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่
(1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำ ความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 80
(2) เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติ การณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด
(3) เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้นตาม มาตรา 66(2) แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้
(4) เป็นการจับผู้ต้องหาหรือ จำเลยที่หนีหรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราวตามมาตรา 117



*******หลัก คือ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือ ตำรวจ จับโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งศาลไม่ได้


เว้นแต่

1.เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำ ความผิดซึ่งหน้า ตามมาตรา 80

มาตรา 80 ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ความผิดซึ่งเห็น กำลังกระทำ หรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขา ได้กระทำผิดมาแล้วสด ๆ
อย่างไรก็ดี ความผิด อาญาดั่งระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ ให้ถือว่าความผิดนั้นเป็นความ ผิดซึ่งหน้าในกรณีดั่งนี้
(1) เมื่อบุคคลหนึ่งถูกไล่จับดั่ง ผู้กระทำโดยมีเสียงร้องเอะอะ
(2) เมื่อพบบุคคลหนึ่งแทบจะ ทันทีทันใดหลังจากการกระทำผิด ในถิ่นแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุนั้นและมีสิ่งของที่ได้มาจากการ กระทำผิดหรือมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสันนิษฐานได้ว่า ได้ใช้ในการกระทำผิด หรือมีร่องรอยพิรุธเป็นประจักษ์ที่เสื้อผ้า หรือเนื้อตัวของผู้นั้น


2. เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติ การณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด


3. เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้นตาม มาตรา 66(2) แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้
4. เป็นการจับผู้ต้องหาหรือ จำเลยที่หนีหรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราวตามมาตรา 117 

คำพิพากษาฎีกาที่ 5767/2557

คำพิพากษาฎีกาที่ 5767/2557

ระหว่างการพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 1611/2556 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์คดีนี้ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จำเลยมิได้ฎีกา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นที่สุด ดังนั้น ในระหว่างพิจารณาครั้งใหม่ของศาลชั้นต้น จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายเรื่องเดียวกันนี้ซ้ำได้อีกแม้คำร้องขอให้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นของจำเลยฉบับหลังมีเหตุแตกต่างจากที่ยื่นคำร้องขอฉบับแรกเนื่องจากศาลฎีกาในคดีหมายเลขแดงที่ 1611/2546 ของศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วและผลคดีแตกต่างจากคำพิพากษาในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม เพราะการพิจารณาว่าฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีเดิมตาม ป.วิ.พ มาตรา 144 หรือไม่ จะต้องพิจารณาจากประเด็นข้อพิพาทของคดีนี้ว่าเป็นประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันกับที่ศาลในอีกคดีหนึ่งได้มีคำพิพากษา คำวินิจฉัย หรือคำสั่งนั้นแล้วหรือไม่ ไม่ได้พิจารณาจากการที่ศาลสูงมีคำพิพากษาที่แตกต่างจากคำพิพากษาของศาลล่าง คำร้องขอให้ชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายของจำเลยฉบับหลังมีประเด็นต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกับคำร้องขอของจำเลยฉบับแรก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ มาตรา 144 วรรคหนึ่ง

วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

คำพิพากษาฎีกาที่ 2513/2557

คำพิพากษาฎีกาที่ 2513/2557

ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องลดจำนวนค่าเสียหายที่จำเลยที่ 2 ...ต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 1 ลงจากคำขอท้ายฟ้องเดิม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องของโจทก์ว่า สำเนาให้จำเลย รอสั่งวันนัด หลังจากนั้นศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อมาจนเสร็จสำนวนโดยมิได้มีคำสั่งคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์แต่ประการใด ถือว่าศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามคำขอท้ายคำฟ้องเดิมจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ...แต่ทำให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเกินกว่าที่โจทก์มีสิทธิ เป็นการไม่ชอบ และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11000/2556

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11000/2556

คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยร่วม เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์จึงถือว่าพอใจในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องจำเลยร่วมแล้ว คดีโจทก์สำหรับจำเลยร่วมย่อมเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คงมีแต่จำเลยฝ่ายเดียวที่อุทธรณ์เพียงว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ก้าวล่วงไปวินิจฉัยให้จำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ทั้งที่คดีโจทก์สำหรับจำเลยร่วมได้ยุติไปแล้วนั้น จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขออุทธรณ์ของจำเลยและนอกประเด็น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2556

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2556

การที่โจทก์ร่วมเข้าเป็นโจทก์ในคดีนี้ ก็เพราะโจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นหมายเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีตาม ป.พ.พ.มาตรา 477 และ549 อันเป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(3) โจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 58 วรรคหนึ่ง หาใช่เป็นการร้องสอดเข้าเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(2) ซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ตนเข้าร่วมไม่ ดังนั้่นแม้ฟ้องเดิมโจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ร่วมก็เข้ามาในคดีได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในส่วนคดีของโจทก์ร่วมโดยเห็นว่าโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้องตามคดีส่วนของโจทก์และไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในคดีส่วนของโจทก์ร่วมนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย

การร่างคำฟ้องคดีแพ่ง

การร่างคำฟ้องคดีแพ่ง
ผมจะจำหลักการแบบสั้นๆ แล้วนำข้อเท็จจริงมาปรับใช้เป็นเรื่องๆไป
1.ฐานะโจทก์ นิติบุคคล/บุคคลธรรมดากรณีมีฐานะพิเศษ
2.การมอบอำนาจ (ถ้ามี)ไล่เรียงเป็นลำดับถ้ามีการมอบหลายครั้ง
3.ฐานะของจำเลย นิติบุคคล/บุคคลธรรมดากรณีมีฐานะพิเศษ...
4.ข้อเท็จจริง นิติสัมพันธ์
5.การโต้แย้งสิทธิ
6.ได้รับความเสียหายอย่างไร
7.ให้รับผิดอย่างไร
8.การบอกกล่าวทวงถาม (ถ้ามี)
แยกเป็นข้อๆไป ประมาณ 3-5 ข้อก็พอแล้ว

เอาข้อเท็จจริงในปัญหามาเขียนตามลำดับเหตุการณ์ดูจากวันที่ เรียงความเป็นมาเป็นลำดับจะได้ไม่สับสน และนำไปปรับใช้กับคำฟ้องแพ่งทุกประเภทได้

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2557

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2557

คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมของคณะกรรมการสมาคมผู้คัดค้าน จึงเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอคดีเป็นคำร้องขออันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ซึ่งการร้องขอในลักษณะเช่นนี้ ต้องมีกฎหมายสารบัญญัติรับรองให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลได้ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยสมาคม คงมีแต่บัญญัติให้สมาชิกหรือพนักงานอัยการร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติในที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกสมาคมตามที่บัญญัติในมาตรา 100 ได้เท่านั้น แต่คดีนี้เป็นการร้องขอเพิกถอนมติที่ประชุมของคณะกรรมการสมาคม มิใช่ขอเพิกถอนมติในที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกสมาคม กรณีจึงไม่มีบทบัญญัติใดรับรองให้สมาชิกสมาคมหรือผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมของคณะกรรมการสมาคมเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท เมื่อผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิโดยคณะกรรมการสมาคมผู้คัดค้าน ก็ต้องใช้สิทธิฟ้องคดีเป็นคดีมีข้อพิพาท ไม่มีสิทธิหรืออำนาจยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทคำร้องขอของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ภายหลังมีผู้คัดค้านเข้ามาก็ไม่ทำให้อำนาจการยื่นคำร้องขอที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่ต้นเป็นคำร้องขอที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3783/2557

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3783/2557

ป.วิ.พ.มาตรา 24 ที่ให้ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายนั้นกฎหมายมีความประสงค์จะให้ใช้ในศาลชั้นต้นเท่านั้น ดังจะเห็นได้ว่าวรรคสุดท้ายของมาตรา 24 ดังกล่าวได้บัญญัติไว้ว่า คำสั่งใดๆของศาลที่ได้ออกตามมาตรานี้ให้อุทธรณ์และฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227 , 228 และ 247 เมื่อ ป.วิ.อ. ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการขอให้ศาลชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 24 มาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้ จำเลยทั้งห้าจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งคำร้องของจำเลยทั้งห้า (ว่ากรณีฟังไม่ได้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง) จึงเป็นการไม่ชอบ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ที่จะฎีกาคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทั่วไป ภาษาอังกฤษ

ใช่

Yes

ไม่ใช่

No

ขอบคุณ

Thank you

โปรด

Please

ไม่มีปัญหา

No problem

ขออภัย

Excuse me


ขอโทษ

Sorry

ฉันไม่รู้

I don  t  know

คุณเข้าใจใหม?

Do you understand me ?

ฉันเข้าใจ

I understand

ฉันไม่เข้าใจ

I don t understand


พูดอีกครั้งได้ใหม?

Pardon?

รอสักครู่

Just a momemt

ไม่เป็นไร

You re welcome


คำถาม

อะไร?

what?

อันไหน?

which?

เมื่อไหร่?

when?

ที่ไหน?

where?


ทำไม?

why?


ใคร?

who?

เท่าไหร่?

how many?


เท่าไหร่?

how much?


วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คำทักทายภาษาอังกฤษ

สวัสดี

Hello

ยินดีที่ได้รู้จัก

Nice to meet you.

ยินดีที่ได้รู้จักเช่นกัน

Nice to meet you too

คุณชื่ออะไร.....?

What your name ?

ฉันชื่อ....

My name is ......

คุณสบายดีไหม

How are you ?

ฉันสบายดี

I am fine.


ฉันไม่ค่อยสบาย

I am not fine.

แล้วคุณละ

And you ?


คุณอายุเท่าไหร่

How old are you ?

ฉันอายุ....ปี

I am ... year old.


คุณมาจากที่ไหน

Where are you from?


ฉันมาจาก

I am from ...

คุณอาศัยอยู่ที่ไหน

Where do you live ?

ฉันอาศัยอยู่ที่

I live in ...

ช่วงนี้คุณงานยุ่งหรือเปล่า

Have you been busy recently?


คุณกำลังจะไปที่ไหน

Where are you going ?

ลาก่อน

Bye.

แล้วเจอกันใหม่

See you later.

แล้วเจอกันพรุ่งนี้

See you tomorrow.

ขอให้โชคดี

Good luck

ดูแลตัวเองด้วย

Take care


ยินดีด้วย

Congratulations

อรุณสวัสดิ์

Good morning


สวัสดีตอนบ่าย

Good afternoon


สวัสดีตอนเย็น

Good evening


สวัสดีปีใหม่

Happy new year



สุขสันต์วันคริสต์มาส


Merry christmas

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6434/2557

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6434/2557

บทบัญญัติในมาตรา 22 และมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้กล่าวไว้ชัดแจ้งว่าเมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ลูกหนี้หามีอำนาจต่อสู้คดีใดๆหรือกระทำการใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินไม่ ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือในชั้นพิจารณาคดี การร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินเป็นการต่อสู้คดีใดๆหรือกระทำการใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างหนึ่งอันเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยจึงไม่มีอำนาจร้องคัดค้านการขายทอดตลาดเพราะกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่เพียงผู้เดียว จำเลยจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามคำร้องดังกล่าว แม้ภายหลังศาลฎีกาคดีที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจะพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยไม่พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจะพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยไม่พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของจำเลยก็ตาม ก็มิอาจทำให้คำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้เป็นคำร้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คำพิพากษาฎีกาที่ 6363/2557

คำพิพากษาฎีกาที่ 6363/2557

ป.วิ.พ.มาตรา 23 บัญญัติให้เป็นสิทธิแก่คู่ความในคดีเท่านั้นที่จะร้องขอให้ขยายระยะเวลาดังกล่าวได้ แม้ผู้ร้องจะได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้จากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แต่เมื่อขณะยื่นคำร้องนี้ผู้ร้องยังมิได้รับอนุญาตจากศาลให้เข้าสวมสิทธิแทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงไม่อยู่ในฐานะคู่ความในคดีนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาบังคับคดี ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลาบังคับคดีของผู้ร้อง (เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555)ชอบแล้ว
อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฎต่อมาว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิแทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2556 อันเป็นเวลาล่วงพ้นกำหนดเวลาบังคับคดีนี้ตาม ...ป.วิ.พ.มาตรา 271 แล้ว กรณีถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ผู้ร้องไม่อาจร้องขอขยายระยะเวลาบังคับคดีก่อนสิ้นสุดเวลาดังกล่าวได้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเห็นสมควรขยายระยะเวลาบังคับคดีแก่ผู้ร้อง

วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558

คำพิพากษาฎีกาที่ 609/2557

คำพิพากษาฎีกาที่ 609/2557

เมื่อจำเลยขอคืนเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดไว้ตามหมายบังคับคดีที่สิ้นผลแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลย และแม้จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาให้ศาลฎีกามีคำสั่งคืนเงินดังกล่าวนั้น เมื่อการเสนอคำร้องขอที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษา ป.วิ.พ. มาตรา 7(2) บัญญัติให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302 และศาลที่มีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใดๆอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 302 คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั่นต้นการที่ศาลชั้นต้นสอบถามและมีคำสั่งให้คืนเงินแก่จำเลยจึงชอบแล้ว

วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2558

คำพิพากษาฎีกาที่ 15227/2556

คำพิพากษาฎีกาที่ 15227/2556

โจทก์ฎีกาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้เนื่องจากโจทก์ไม่ใช่คู่ความและผู้ค้ำประกันในคดีหมายเลขแดงที่ 778/2554 ของศาลชั้นต้น คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ให้ต้องปฏิบัติตามนั้น เห็นว่า แม้โจทก์ไม่ได้ถูกฟ้องเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์ยินยอมใช้รถแทรกเตอร์ 2 คันของตนเป็ฯประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่มีต่อจำเลยที่ 1 ด้วยการตกลงนำหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของรถแทรกเตอร์ดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ยึดถือไว้และลงลายมือชื่อยืนยันการตกลงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย และศาลได้พิพากษาไปตามนั้น ผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความจึงผูกพันโจทก์ให้ต้องปฏิบัติตาม และต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิตามกฎหมายที่จะโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาหรือการบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ เมื่อโจทก์เห็นว่าการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิม โจทก์ชอบที่จะขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7(2) ประกอบมาตรา 302 วรรคหนึ่ง โจทก์จะยกข้ออ้างนี้ขึ้นฟ้องเป็นคดีใหม่หาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เขตอำนาจศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2556

โจทก์กับจำเลยทั้งสามมุ่งจะทำสัญญาเป็นหนังสือระหว่างกัน ย่อมถือได้ว่าสถานที่ที่โจทก์ลงชื่อเป็นคู่สัญญาในฐานะผู้ขายเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดอีกแห่งหนึ่งด้วย ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(1) และมาตรา 5

วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง

ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง       พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543   
   
มาตรา 44 ผู้จัดสรรที่ดินจะพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามมาตรา 43 เมื่อได้มีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินรับผิดชอบการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามมาตรา 23 (5) แล้วตามลำดับ ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามพระราชบัญญัตินี้ หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นเพื่อรับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไปจัดการและดูแลบำรุงรักษา ภายในเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินกำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้จัดสรรที่ดิน
(2) ผู้จัดสรรที่ดินได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
(3) ผู้จัดสรรที่ดินจดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้เป็นสาธารณประโยชน์
              การดำเนินการตาม (1) และ (2) ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด ทั้งนี้ โดยต้องกำหนดให้ผู้จัดสรรที่ดินรับผิดชอบจำนวนเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคส่วนหนึ่งด้วย

มาตรา 49 ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค ให้จัดเก็บเป็นรายเดือนจากที่ดินแปลงย่อยในโครงการจัดสรรที่ดินทุกแปลง ทั้งนี้ อาจกำหนดค่าใช้จ่ายในอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือขนาดพื้นที่ได้ตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด
ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรออกค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคสำหรับที่ดินจัดสรรที่ตนซื้อ และให้ผู้จัดสรรที่ดินออกค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคสำหรับที่ดินแปลงย่อยที่ยังไม่มีผู้ซื้อ
               การกำหนดและการแก้ไขอัตราค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค จะต้องได้รับความเห็นชอบจากมติที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกตามมาตรา 44 (1)หรือคณะกรรมการตามมาตรา 44 (2)
ให้เริ่มเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคเมื่อเริ่มจัดตั้งนิติบุคคลตามมาตรา 44 (1) หรือเมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการตามมาตรา 44 (2) โดยให้นิติบุคคลตามมาตรา 44 (1) หรือผู้ซึ่งดำเนินการเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการตามมาตรา 44(2) ที่มีหน้าที่ในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคมีอำนาจในการจัดเก็บ
                 หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคและการจัดทำบัญชี ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด

มาตรา 50 ผู้มีหน้าที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคตามมาตรา 49 วรรคสอง ที่ชำระเงินดังกล่าวล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด จะต้องจ่ายค่าปรับสำหรับการจ่ายเงินล่าช้าตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด
ผู้ที่ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคติดต่อกันตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปอาจถูกระงับการให้บริการหรือการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค และในกรณีที่ค้างชำระติดต่อกันตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระจนกว่าจะชำระให้ครบถ้วน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
               ให้ถือว่าหนี้ค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคเป็นหนี้บุริมสิทธิในมูลรักษาอสังหาริมทรัพย์เหนือที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระ



***ในส่วนของค่าใช้จ่ายส่วนกลาง กรณีหมู่บ้านยังไม่ได้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ค่ารักษาความปลอดภัย ค่าไฟฟ้าส่องสว่างในโครงการ ค่ารักษาความสะอาดส่วนกลาง ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรออกค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคสำหรับที่ดินจัดสรรที่ตนซื้อ และให้ผู้จัดสรรที่ดินออกค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคสำหรับที่ดินแปลงย่อยที่ยังไม่มีผู้ซื้อ 
           ดังนั้น เมื่อมีผู้ซื้อที่ดินจัดสรรและมีการให้บริการสาธารณะ เมื่อใด ผู้จัดสรรที่ดินก็สามารถเรียกเก็บและใช้จ่ายค่าใช้บริการ และค่าบำรุงรักษาบริการสาธารณะได้ โดยค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคเป็นจำนวนเท่าไรนั้น ต้องพิจารณาตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในโครงการวิธีการจัดสรรหรือเอกสารสัญญาที่ตกลงกันระหว่างผู้จัดสรรและผู้ซื้อ 



 
 


 

หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน

คำพิพากษาฎีกาที่ 759/2557

จำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินไปจำนวน 390,000 บาท ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน โจทก์กรอกจำนวนเงินในภายหลังว่าจำเลยกู้ยืมเงินจำนวนดังกล่าวซึ่งมากกว่าจำนวนหนี้กู้ยืมที่มีอยู่จริงในวันทำสัญญากู้ยืมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย หนังสือสัญญากู้ยืมเงินจึงเป็นเอกสารปลอมและถือได้ว่าการกู้ยืมตามฟ้องโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ โจทก์ไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่ง และมิใช่เป็นกรณีที่จำเลยให้การรับแล้วที่โจทก์ไม่จำต้องอ้างสัญญากู้ยืมเงินเป็นพยานหลักฐาน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินในจำนวนที่รับว่าได้กู้ยืมจากโจทก์

ถอนคืนการ ให้

คำพิพากษาฎีกาที่ 6424/2557

จำเลยยักยอกเงินโจทก์ เมื่อโจทก์ไปทวงเงินคืนจำเลยได้พูดว่าโจทก์ต่อหน้าผู้อื่นว่า "ไอ้แก่ แก่แล้วเลอะเลือน" เป็นการด่าโจทก์ผู้เป็นบิดาโดยไม่ให้ความเคารพนับถือยำเกรงเป็นถ้อยคำที่หยาบคายแสดงถึงการเหยียดหยามไม่นับถือโจทก์เป็นบิดา เพราะใช้คำว่า "ไอ้แก่" ถือได้ว่าเป็นถ้อยคำที่หมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง โจทก์จึงมีสิทธิถอนคืนการให้ที่ดินพิพาทเพราะเหตุประพฤติเนรคุณจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 531(2)

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558

คำพิพากษาฎีกาที่ 7460/2556

คำพิพากษาฎีกาที่ 7460/2556

การต่อเติมและซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้างซึ่งชำรุดทรุดโทรมให้เหมาะแก่การอยู่อาศัยโดยปลอดภัย ไม่ได้เป็นการก่อสร้างขึ้นใหม่ เมื่อคำนึงถึงค่าแรงและค่าวัสดุก่อสร้างที่ใช้แล้วไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมใหญ่ การที่จำเลยปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นการกระทำขึ้นเพื่อความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการใช้สอยทรัพย์สินที่เช่าจากโจทก์ร่วม ไม่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าการเช่าธรรมดาที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิยิ่งไปกว่าการเช่าได้เมื่อโจทก์ร่วมผู้ให้เช่าและโจทก์ผู้รับโอนทรัพย์สินที่เช่าไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าต่อหลังจากสัญญาเช่าครบกำหนด โดยมีหนังสือแจ้งให้จำเลยออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพร้อมให้รื้อถอนส่วนที่ต่อเติมออกไปเมื่อครบกำหนดการเช่าแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาท
           แม้ขณะโจทก์ร่วมประสงค์จะขายที่ดินได้แจ้งให้จำเลยทราบโดยให้จำเลยเป็นผู้มีสิทธิซื้อก่อนก็เป็นเพียงการเปิดโอกาสให้จำเลยในฐานะผู้เช่า ไม่ใช่ข้อผูกมัดว่าโจทก์ร่วมต้องปฏิบัติตามทั้งคำมั่นในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดหรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง เมื่อเป็นคำมั่นด้วยวาจาจำเลยย่อมไม่อาจบังคับให้โจทก์ร่วมโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยได้ แม้โจทก์ทราบข้อตกลงเช่นว่านั้นก็ถือไม่ได้ว่าการโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ร่วมกับโจทก์เป็นไปโดยไม่สุจริต นิติกรรมการซื้อขายจึงเป็นไปโดยชอบ ไม่อาจเพิกถอนได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 891/2557

คำพิพากษาฎีกาที่ 891/2557

คำกล่าวของจำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องที่ว่า "พวกมันมีเหี้ย 7 ตัว " หรือ "มันเป็นสามานย์" แม้เป็นการกล่าวกระทบถึงโจทก์ทั้งเจ็ดแต่ก็ไม่ใช่การนำความเท็จหรือข้อความที่ไม่เป็นความจริงเกี่ยวกับตัวโจทก์ทั้งเจ็ดมากล่าว หากแต่เป็นการด่าโจทก์ทั้งเจ็ดด้วยความรู้สึกเกลียดชังว่าโจทก์ทั้งเจ็ดเป็นคนไม่ดี โดยเปรียบเทียบเหมือนสัตว์ซึ่งไม่ใช่เป็นการนำข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงมากล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้กล่าวไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 423 แต่การพูดปราศรัยด้วยถ้อยคำตามฟ้องต่อประชาชนที่มาฟังการชุมนุม ณ ที่เกิดเหตุนั้น ประชาชนที่ฟังย่อมรู้สึกได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดเป็นคนไม่ดี ไม่เหมาะสม แก่ตำแหน่งประธานสภาหรือสมาชิกเทศบาล อันเข้าลักษณะเป็นการละเมิดต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 420 ซึ่งทำให้โจทก์ทั้งเจ็ดเสียชื่อเสียงอันเป็นสิทธิอย่างหนึ่ง ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งเจ็ดและจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

คำพิพากษาฎีกาที่ 5268/2557

คำพิพากษาฎีกาที่ 5268/2557

จำเลยให้การว่า บริษัท ม.คู่สัญญาปฏิเสธความรับผิด แสดงว่าหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้ บริษัท ม. คู่สัญญาไม่ยอมรับ จึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยไม่มีสิทธิที่จะนำหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มมาหักกลบลบหนี้ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 344 จำเลยเป็นหนี้ค้างชำระค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษารถโดยสารบริษัท และบริษัท ม. แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทราบแล้ว การโอนหนี้จึงสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง จำเลยต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้โดยตรง

คำพิพากษาฎีกาที่ 7114/2557

คำพิพากษาฎีกาที่ 7114/2557

ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยขอยืมโฉนดที่ดินของโจทก์เพื่อนำไปใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครูแต่ต้องให้จำเลยเข้าไปมีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินโดยจำเลยมิได้มีเจตนาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินกับโจทก์ ต่อมาจำเลยนำที่ดินของจำเลยไปจดทะเบียนจำนองเป็นหลักประกันแทนที่ดินของโจทก์ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูจึงมอบโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยและอนุมัติให้จำเลยไปไถ่ถอนจำนองได้ แต่จำเลยไม่ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์พร้อมคืนโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ จึงเป็นเรื่องของการฟ้องเพื่อติดตามเอาทรัพย์คืนในฐานะเจ้าของทรัพย์สินที่ได้ให้จำเลยยืมโฉนดที่ดินไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ แม้โจทก์จะอ้างว่านิติกรรมที่โจทก์ยินยอมให้จำเลยเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินเป็นการแสดงเจตนาลวงและเป็นนิติกรรมอำพรางกับมีคำขอให้บังคับให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นก็ไม่ใช่เป็นเรื่องฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลซึ่งนิติกรรมใดๆที่จำเลยได้กระทำขึ้นต่อมาหลังจากนั้นโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 อันจะทำให้มีกำหนดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 240

คำพิพากษาฎีกาที่ 4205/2557

คำพิพากษาฎีกาที่ 4205/2557

จำเลยยังไม่ชำระค่าหุ้นตามฟ้องแก่จำเลยร่วมและจำเลยร่วมไม่มีทรัพย์สินพอชำระหนี้แก่โจทก์ และผู้ชำระบัญชีของจำเลยร่วมขัดชืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องหรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้นั้นก็ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 233

คำพิพากษาฎีกาที่ 8811/2556

คำพิพากษาฎีกาที่ 8811/2556

สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับ ส.ไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดจากวันทำสัญญากู้เงิน และแม้ ส. ถึงแก่ความตาย ก่อนที่โจทก์ทวงถามก็ไม่อาจใช้อายุความทั่วไปเพราะสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกยังไม่ถึงกำหนดเวลาบังคับ เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายก่อนถึงกำหนดนั้นเจ้าหนี้ก็ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นภายในหนึ่งปีนับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก เมื่อ ส. ถึงแก่ความตายวันที่ 1 ธันวาคม 2548 และโจทก์อยู่ช่วยงานศพด้วย แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการตายของ ส. ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของ ส. ให้ชำระหนี้เงินกู้ยืมวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 25541 พ้นกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ โจทก์รู้ถึงการตายของ ส. ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ฎีกาที่ 3536/2557

คำพิพากษาฎีกาที่ 3536/2557

         บันทึกคำให้การที่โจทก์ได้จัดทำขึ้นต่อพนักงานตรวจแรงงานเมื่อได้รับค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยมีข้อความระบุว่าโจทก์ขอยุติเรื่องแต่เพียงนี้ และจะไม่ร้องทุกข์ ร้องเรียนที่ใด หรือเรื่องใดๆ อีก ถือได้ว่าโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องใดๆ เกี่ยวกับการเลิกจ้างอีก ซึ่งรวมถึงค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมด้วย โจทก์จะฟ้องจำเลยให้ชำระค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมอีกไม่ได้

ฎีกาที่ 4916/2557

คำพิพากษาฎีกาที่ 4916/2557

          โจทก์ทำนิติกรรมขายฝากที่ดินให้แก่จำเลย เพราะโจทก์เชื่อถ้อยคำของ ร. ซึ่งเป็นบุตรของตนเพราะ ร. เป็นผู้ดำเนินการที่สำนักงานที่ดินโดยโจทก์ไม่ได้สอบถามผู้เกี่ยวข้องและเจ้าพนักงานในสำนักงานที่ดินให้กระจ่างชัดเสียก่อน การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดของโจทก์จึงเกิดขึ้นโดยความประมาทเงินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์เอง โจทก์จะถือเอาความสำคัญผิดนั้น มาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 158 เป็นผลให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยตามฟ้อง

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ฎีกาที่ 712/2557

คำพิพากษาฎีกาที่ 712/2557

จำเลยประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดินทราบดีว่าที่ดินมีแนวสายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านไม่อาจปลูกสร้างบ้านในที่ดินเต็มเนื้อที่ เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องบอกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องแนวสายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านที่ดินจนไม่อาจปลูกสร้างบ้านในที่ดินได้เต็มเนื้อที่แก่ลูกค้าซึ่เป็นผู้บริโภคแต่ไม่มีการบอกแก่โจทก์ ถือได้ว่าจำเลยปกปิดข้อเท็จจริงซึ่งเป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับคุณสมบัติของที่ดินจนเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดว่าที่ดินใช้ปลูกสร้างบ้านได้เต็มพื้นที่ แม้ก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน จ.พนักงานบริษัทจำเลยพาโจทก์ไปดูที่ดินซึ่งโจทก์สังเกตเห็นสายไฟฟ้าแรงสูงตั้งอยู่ในบริเวณที่ดินก็ตาม แต่โจทก์ได้รับคำชี้แจงว่าสายไฟฟ้าติดตั้งไว้นานหลายปีแล้ว และที่ดินสามารถปลูกสร้างบ้านตามแบบบ้านได้ โจทก์จึงทำสัญญาจองซื้อที่ดินและวางเงินมัดจำและทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน แสดงว่าโจทก์ไม่ทราบว่าที่ดินมีสายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านไม่อาจปลูกสร้างบ้านได้เต็มเนื้อที่ การที่โจทก์ไม่ทราบข้อเท็จจริงไม่อาจถือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์เพราะโจทก์ได้รับคำยืนยันว่าสามารถปลูกสร้างบ้านบนที่ดินได้ นับได้ว่าโจทก์ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่วิสัยของผู้บริโภคในพฤติการณ์เช่นนั้นแล้ว ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์แสดงเจตนาทำสัญญาจะซื้อจะขายโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของที่ดินด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ.มาตรา 158 ประกอบมาตรา 157 สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินอันเกิดจากความสำคัญผิดของโจทก์ในคุณสมบัติของทรัพย์สินซึ่งเป็นสาระสำคัญตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ.มาตรา 157 ชอบที่โจทก์จะบอกล้างโดยบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย เมื่อโจทก์บอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว ต้องถือว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก โจทก์และจำเลยผู้เป็นคู่สัญญาย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา 176 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยได้รับไว้จากโจทก์

ฎีกาที่ 766/2557

คำพิพากษาฎีกาที่ 766/2557

บริษัท อ. ดำเนินกิจการคลินิกและว่าจ้างให้โจทก์ปรับปรุงตกแต่งภายในอาคารโดยจำเลยเป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ มิได้ว่าจ้างในนามบริษัท อ. จึงมีลักษณะเป็นตัวแทนของตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ในฐานะที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงตาม ป.พ.พ.มาตรา 154 เว้นแต่ตัวการที่ไม่ได้เปิดเผยชื่อจะกลับแสดงให้ปรากฎและเข้ารับเอาสัญญาใดๆซึ่งตัวแทนได้ทำไว้แทนตน จำเลยจึงจะหลุดพ้นความรับผิดเป็นส่วนตัว แต่ตัวการหาอาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันเขามีต่อตัวแทนและเขาขวนขวายได้มาแต่ก่อนที่รู้ว่าเป็นตัวแทนได้ไม่ตามมาตรา 806 บริษัท อ.ซึ่งเป็นตัวการได้แสดงตนให้ปรากฎเข้ารับเอาข้อตกลงว่าจ้างที่จำเลยทำกับโจทก์ และโจทก์ทราบเรื่องที่บริษัท อ. แสดงตนให้ปรากฎเข้ารับเอาข้อตกลงว่าจ้างที่จำเลยทำกับโจทก์ก่อนฟ้องจำเลยแล้ว จึงถือว่าบริษัท อ. เป็นผู้ว่าจ้างโจทก์มีจำเลยเป้นตัวแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดเป็นส่วนตัว

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ฎีกาที่ 4569/2557

คำพิพากษาฎีกาที่ 4569/2557

สัญญาจ้างแรงงานข้อ 11 ระบุประเภทกิจการที่ลูกจ้างจะไม่ประกอบกิจการหรือเข้าทำงานหลังจากที่ลูกจ้างได้ออกจากงานของโจทก์ไว้ว่า "กิจการอย่างหนึ่งอย่างใดอันมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของนายจ้าง" ส่วนการเข้าทำงานกับบุคคลหรือนิติบุคคลใดก็ระบุไว้ว่า "มีสภาพการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของนายจ้าง" อันเป็นการห้ามเฉพาะสิ่งที่เป็นการแข่งขันกับกิจการของโจทก์และเฉพาะส่วนงานที่จำเลยเคยทำกับโจทก์ ทั้งกำหนดเวลาที่ห้ามไว้ก็มีเพียง 2 ปี นับแต่จำเลยออกจากการเป็นลูกจ้างของโจทก์ ไม่เป็นการตัดโอกาสการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งหมด ประกอบกับจำเลยมีตำแหน่งเป็นถึงผู้ช่วยผู้จัดการเขตการขายต่างประเทศและธุรกิจการค้าของโจทก์ต้องอาศัยการแข่งขัน โจทก์มีสิทธิป้องกันสงวนรักษาข้อมูลและความลับในทางการค้าเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจของโจทก์ได้ สัญญาจ้างแรงงานข้อ 11 จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและเป็นประโยชน์ของคู่กรณีในเชิงการประกอบธุรกิจโดยชอบ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150  

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ฎีกาที่ 1880/2542

คำพิพากษาฎีกาที่ 1880/2542

คำว่า โทรศัพท์ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนอธิบายว่าโทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลย ลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้ เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้า

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ฎีกาที่ 2531/2557

คำพิพากษาฎีกาที่ 2531/2557

ส. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของ ส. ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599 โจทก์ทั้งสองเป็นบตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ส. เป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทตามมาตรา 1603 ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อติดตามเอาคืนที่พิพาท ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ได้ เมื่อ ส. ถึงแก่ความตายแล้วย่อมไม่สามารถทำนิติกรรมใดๆได้ตามมาตรา 149 นิติกรรมการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 1 กระทำขึ้นหลังจาก ส. ถึงแก่ความตายจึงไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย ถือเสมือนว่าไม่ได้มีนิติกรรมการขายฝากเกิดขึ้นเลย สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทยังเป็นของกองมรดกของ ส. อยู่ตามเดิมมิได้เป็นของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิใดๆในที่ดินพิพาท ไม่มีสิทธิจดทะเบียนการขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากผู้ไม่มีสิทธิจะขาย จึงไม่มีสิทธิใดๆในที่ดินพิพาทและไม่มีสิทธิเอาที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองแก่ผู้ใดได้ การที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับจำนองที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่ 2 ย่อมไม่เกิดผลให้จำเลยที่ 3 มีสิทธิตามนิติกรรมจำนองแม้จำเลยที่ 3 อ้างว่ารับจำนองไว้โดยสุจริตก็หามีผลให้จำเลยที่ 3 กลับมีสิทธิตามนิติกรรมจำนองไม่ การจำนองไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่ดินพิพาทของ ส.

ฎีกาที่ 774/2557

คำพิพากษาฎีกาที่ 774/2557

แม้โรงพยาบาลส่งสำเนาบันทึกประวัติการรักษาคนไข้ให้แก่สำนักงานของจำเลยสาขาอุบลราชธานี แต่สำนักงานของจำเลยสาขาอุบลราชธานี ไม่มีอำนาจพิจารณาบอกล้างประกันชีวิตได้ ทั้ง ก.ผู้รับเอกสารเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสินไหมของจำเลย มิได้เป้นผู้มีอำนาจกระทำการแทนหรือเป็นตัวแทนของจำเลยในการทำความเห็นเกี่ยวกับอาการป่วยของ บ. ผู้ตายการที่ ก. ได้รับสำเนาบันทึกประวัติการรักษาของ บ. จะถือว่าจำเลยได้ทราบข้อมูลอันจะบอกล้างโมฆียะกรรมแล้วหาได้ไม่
         สำนักงานของจำเลยสาขาอุบลราชธานี ต้องส่งสำเนาบันทึกประวัติการรักษาของ บ. ไปยังสำนักงานใหญ่ของจำเลย แสดงว่าสำนักงานสาขาอุบลราชธานี ไม่มีอำนาจพิจารณาบอกล้างสัญญา ทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินใหมทดแทนของจำเลยยังทำความเห็นว่าสมควรบอกล้างสัญญาทั้งฉบับเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2558 ศ. ผู้จัดการส่วนสินใหมของจำเลยทำความเห็นในวันเดียวกันว่าควรบอกล้างสัญญาตามเสนอ และ ม.ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจำเลยทำความเห็นให้บอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ถือได้ว่าจำเลยโดย ม. ได้ทราบข้อมูลอันจะบอกล้างโมฆียะกรรมในวันที่ 19 กรกฎาคม 2558 ซึ่งเป็นวันที่ได้รับรายงานของ ศ.ผู้จัดการส่วนสินใหมของจำเลย

           บ.รู้อยู่ว่าตนเป็นโรคเกาต์เรื้อรังและโรคความดันโลหิตสูงมาก่อนทำสัญญาประกันชีวิตแต่ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงที่อาจจูงใจให้จำเลยปฏิเสธไม่ทำสัญญาหรือเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นย่อมทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง บ. กับจำเลยเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ.มาตรา 865 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยบอกล้างสัญญาประกันชีวิตภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่จำเลยทราบข้อมูลอันจะบอกล้างได้ตามมาตรา 865 วรรคสอง สัญญาประกันชีวิตระหว่าง บ. กับจำเลยจึงเป็นโมฆะจำเลยไม่ต้องชดใช้ค่าสินใหมทดแทนตามสัญญาแก่โจทก์

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ฎีกา 1734/2515

ฎีกาที่ 1734/2515

ผู้ที่ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็ค แม้ตนเองจะมิใช่เจ้าของบัญชีเช็คนั้น ก็ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คแก่ผู้ทรงซึ่งนำเช็คนั้นไปรับเงินไม่ได้

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การโอนสิทธิการเช่า

ฎีกาที่ 1248/2538

บันทึกการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าจาก ส.ผู้เช่าเดิม มาเป็นจำเลย ผู้เช่่าใหม่ ในหนังสือสัญญาเช่าตึกแถวหน้าแรกระบุไว้ว่า โจทก์ในฐานะผู้ให้เช่า จำเลยในฐานะผู้เช่าใหม่ และ ส. ในฐานะผู้เช่าเดิมได้ลงลายมือชื่อ รับทราบการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าตึกแถวแล้ว ถือได้ว่าโจทก์และ ส. ได้บอกกล่าวการโอนและให้ความยินยอมการโอนสิทธิการเช่า ตึกแถวเป้นหนังสือตาม ป.พ.พ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง การโอนสิทธิการเช่าตึกแถวจึงสมบูรณ์
           แม้หนังสือสัญญาเช่าตึกแถวระหว่างโจทก์กับ ส. จะได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มาก่อน แต่ก็ไม่มีกฎหมายบังคับให้การเปลี่ยนแปลงผู้เช่าจากผู้เช่าเดิมมาเป็นผู้เช่าใหม่ต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหนังสือสัญญาเช่ารับทราบด้วย แม้โจทก์จำเลย หรือ ส.ไม่ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมบันทึกเปลี่ยนแปลงผู้เช่าก็สมบูรณ์ จำเลยย่อมต้องผูกพันต่อโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่า เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ฎีกาที่ 2369/2557

คำพิพากษาฎีกาที่ 2369/2557

               นิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 3 ไม่มีหน้าที่รักษาทรัพย์ส่วนบุคคลมีเพียงหน้าที่ในการจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดที่เกิดเหตุ รวมทั้งมีอำนาจกระทำการใดๆ เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ตามข้อบังคับและมติของเจ้าของร่วมตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 4, 17, 33, 36 และ 37 ซึ่งข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 3 ระบุว่า จำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการดูแลทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดและให้มีอำนาจกระทำการใดๆ ตามวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สูงสุดในการพักอาศัยและการใช้ทรัพย์ส่วนกลางร่วมกัน สัญญาที่จำเลยที่ 3 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 รักษาความปลอดภัยก็มีข้อความระบุชัดเจนว่า จำเลยที่ 3 จ้างจำเลยที่ 2 รักษาความปลอดภัยให้แก่บรรดาทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ซึ่งหมายถึงทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดเท่านั้น จึงไม่รวมไปถึงรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลของโจทก์ในความครอบครองของ ส. ด้วย
               แม้ภายหลังจำเลยที่ 3 ทำสัญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยแก่บรรดาทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 3 ได้แจ้งระเบียบรักษาความปลอดภัยซึ่งได้มาจากการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะแนวทางป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สินจากคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดและเจ้าของร่วม เช่น การตรวจสอบสติกเกอร์ที่ติดรถยนต์ การรับบัตอนุญาตจอดรถยนต์และการตรวจสอบการขนของเข้าออกอาคารตามระเบียบรักษาความปลอดภัย แต่เป็นเพียงมาตรการให้เกิดความปลอดภัยหรือความสงบเรียบร้อยในอาคารชุด ทั้งเป็นการควบคุมผู้ใช้สอยอาคารจอดรถซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนกลางในอาคารชุดมิให้บุคคลภายนอกเข้ามาใช้ หาได้มีความหมายครอบคลุมไปถึงการรักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์ส่วนบุคคลของผู้ใด เพราะไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 3 พฤติการณ์เช่นว่านั้นจึงไม่ก่อให้เกิดหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ในอันที่จะต้องดูแลรักษาความปลอดภัยแก่รถยนต์อันเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลของผู้เป็นเจ้าของร่วมทั้งสัญญาที่จำเลยที่ 3 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 รักษาความปลอดภัยยังมีลักษณะเป็นการทำแทนเพื่อประโยชน์ของเจ้าของร่วมทุกคนในอาคารชุดรวม ทั้ง ส. ผู้ครอบครองรถยนต์ของโจทก์ด้วย เงินที่ใช้ในการว่าจ้างจำเลยที่ 2 ก็มาจากเงินที่เจ้าของร่วมทุกคนชำระเป็นเงินกองทุนและเงินค่าใช้จ่ายส่วนกลาง จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าของร่วมในการว่าจ้างจำเลยที่ 2 รักษาความปลอดภัย จึงไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดต่อโจทก์


วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ฎีกาที่ 1788/2557


ฎีกาที่ 1788/2557

ป.พ.พ. มาตรา 1387 บัญญัติว่า อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภาระจำยอม

อันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้น

การใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น

ตามความหมายแห่งบทบัญญัติดังกล่าวแสดงว่าอสังหาริมทรัพย์อันเป็นภารยทรัพย์กับ

อสังหาริมทรัพย์อันเป็นสามยทรัพย์จะต้องเป็นเจ้าของคนละราย เพราะถ้าเป็นเจ้าของราย

เดียวกันเจ้าของทรัพย์ย่อมมีสิทธิใช้สอยทรัพย์อีกแปลงหนึ่งในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้อยู่

แล้ว ดังนั้น ตามข้อเท็จจริงแห่งคดีนี้ เมื่อนับแต่วันที่โจทก์ทั้งสิบเข้าซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์

จากธนาคาร ก. จนถึงวันที่โจทก์ทั้งสิบอ้างว่าจำเลยปิดกั้นเส้นทางพิพาทตามฟ้องในเดือน

เมษายน 2551 ยังไม่ครบระยะเวลา 10 ปี แม้จะฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสิบใช้ทางพิพาทต่อเนื่องมา

ตั้งแต่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์จากธนาคาร ก. โจทก์ทั้งสิบก็ไม่ได้ภาระจำ

ยอมโดยอายุความ ตาม ป.พ.พ มาตา 1401 ประกอบมาตรา 1382 แต่อย่างใด

ฎีกาที่ 13899/2556


ฎีกาที่ 13899/2556

ข้อเท็จจริงได้ความว่า ที่ดินของโจทก์ไม่ใช่ที่ดินที่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ

ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๕๐ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปิดทางพิพาท

ตาม มาตรา ๑๓๔๙ แห่ง ป.พ.พ. ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๗ วินิจฉัยคดีโดยอ้าง ป.พ.พ. มาตรา

๑๓๔๙ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นตามที่โจทก์ฎีกามา เพราะ ป.พ.พ. มาตรา

๑๓๔๙ มีใจความสำคัญว่า ที่ดินแปลงใดที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ

เจ้าของที่ดินผู้มีสิทธิจะผ่านได้แต่ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ แต่ ป.พ.พ.

มาตรา ๑๓๕๐ ระบุว่า หากเป็นที่ดินที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่

ทางสาธารณะ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องตามมาตรา ๑๓๔๙ โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน

ที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินที่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินในที่ดิน

พิพาท

ฎีกาที่ 10992/2556


ฎีกาที่ 10992/2556

ป.พ.พ. มาตรา ๕๘๗ บัญญัติว่า อันว่าจ้างทำของนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง

เรียกว่าผู้รับจ้างตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้

ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น แต่ตรวจดูจากคำให้การของ

จำเลยที่ ๒ แล้วพบว่าจำเลยที่ ๒ ยังไม่ได้ตกลงสินจ้างกันว่าเที่ยวละเท่าไร ดังนั้น เมื่อยังมิได้มี

การตกลงในเรื่องสินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องจ้างทำของตาม

มาตรา ๕๘๗

ฎีกาที่ 7380 -7381/2556


ฎีกาที่ 7380 -7381/2556

โจทก์ที่ ๖ เป็นน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายเป็นทายาทโดยธรรมลำดับ

สาม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (3) เมื่อผู้ตายมีโจทก์ที่ ๑ ถึงที่ ๕ เป็นทายาทโดยธรรมลำดับ

หนึ่ง โจทก์ที่ ๖ ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับสาม จึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ตาม

ป.พ.พ.มาตรา 1630 วรรคหนึ่ง แต่เนื่องจากขณะผู้ตายถึงแก่ความตาย มารดาผู้ตายและโจทก์

ที่ ๖ ยังมีชีวิตอยู่ มารดาผู้ตายเพิ่งจะถึงแก่ความตายในภายหลัง มารดาผู้ตายจึงมีสิทธิรับมรดก

ของผู้ตายโดยได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1630

วรรคสอง ทรัพย์มรดกของผู้ตายในส่วนที่ตกแก่มารดา โจทก์ที่ ๖ ในฐานะซึ่งเป็นบุตร ย่อมมีสิทธิ

รับมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และ 1629 (1) โจทก์ที่ ๖ จึงมีอำนาจฟ้อง

แม้โจทก์ทั้งหกจะฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ ๑ กับ

จำเลยที่ ๒ และนิติกรรมการจดทะเบียนหรือกรรมสิทธิ์รวมหรือข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวม และ

นิติกรรมเช่าที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ ๒ กับจำเลยที่ ๓ มิได้ฟ้องเรียกร้องที่ดินพิพาทให้มาเป็น

ของโจทก์ทั้งหกโดยตรง ก็เป็นการฟ้องขอให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งหกอยู่ดี ฟ้อง

โจทก์ทั้งหกจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์

ฎีกาที่ 13399/2556


ฎีกาที่ 13399/2556

แม้ข้ออ้างของผู้คัดค้านที่ว่าการจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น เพราะผู้ร้อง

ยักยอกมรดกไปเป็นของผู้ร้องและสามีเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นการจัดการมรดกโดยทุจริตไม่ชอบ

ด้วยกฎหมาย ตราบใดส่วนของนาย ท. สามีผู้คัดค้านยังไม่ได้รับส่วนแบ่งจากกองมรดกของ

เจ้ามรดก ต้องถือว่าการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ร้องยังไม่เสร็จสิ้นลงนั้น อาจเป็นเหตุในการร้อง

ขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ก็ตาม แต่หาเป็นเหตุทำให้การจัดการมรดกหรือการ

ปันทรัพย์มรดกรายนี้ยังไม่เสร็จสิ้นลงแต่อย่างใด ไม่เช่นนั้นแล้วก็เท่ากับเป็นการขยายอายุความ

มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๕๔ ออกไปอีกไม่สิ้นสุดเพราะเหตุที่กองมรดกอยู่ระหว่างจัดการโดย

มีผู้จัดการมรดกครอบครองแทนตามมาตรา ๑๗๔๘ ฉะนั้น แม้ผู้คัดค้านจะมีส่วนได้เสียในกอง

มรดกส่วนที่ตกได้แก่สามีของตนก็ตาม แต่เมื่อการปันมรดกของเจ้ามรดกเสร็จสิ้นลงแล้ว

ผู้คัดค้านจึงไม่อาจร้องขอถอนผู้จัดการมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๒๗ วรรคหนึ่ง แล้วขอให้ตั้ง

ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทนได้

ฎีกาที่ 8982/2556


ฎีกาที่ 8982/2556 

นาย อ. และโจทก์ช่วยนำเงิน ๓๕๐,๐๐๐ บาท ไปใช้หนี้ให้เจ้าหนี้ แล้วเอาโฉนด

ที่ดินกลับคืนมาให้นาง จ. ส่วนสัญญากู้โจทก์เก็บไว้เอง กรณีจึงเป็นเรื่องนาง จ. ให้ที่ดินแก่

นาย อ. และโจทก์โดยมีค่าภาระติดพัน เมื่อนาย อ. ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว โจทก์จึงอยู่ใน

ฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา

๑๓๐๐ ที่บัญญัติว่า ถ้าได้จดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับ

อสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่

ก่อนไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นอาจเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ แต่การโอนอันมีค่าตอบแทน

ซึ่งผู้รับโอนกระทำการโดยสุจริตนั้น ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ท่านว่าจะเรียกให้เพิกถอน

ทะเบียนไม่ได้ แต่กรณีในคดีนี้จำเลยได้รับการให้จากมารดาโดยเสน่หาจำเลยจึงเป็นผู้รับโอนโดย

สุจริตแต่การโอนไม่มีค่าตอบแทน โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนจึง

ชอบที่จะเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ ดังนั้น จำเลยจึงต้องแบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาทจำนวน ๑

งาน ๕๑ ตารางวา ตามแผนที่วิวาทให้แก่โจทก์

ฎีกาที่ 3580/2556


ฎีกาที่ 3580/2556

ทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์สินที่นาย จ. กับจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันอันเป็นกรรมสิทธิ์
ร่วมกันของนาย จ. กับจำเลยคนละครึ่ง โดยจำเลยถือกรรมสิทธิ์แทนนาย จ. ครึ่งหนึ่ง
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนทรัพย์พิพาทให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง หากไม่ดำเนินการ
ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาและหากจำเลยไม่สามารถโอนทรัพย์พิพาทได้ให้จำเลย
ใช้ราคาแทน ๗๐๐,๐๐๐ บาท แก่โจทก์นั้น ไม่ถูกต้องเพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๓๖๔ บัญญัติวิธีแบ่งทรัพย์สินเจ้าของรวมไว้เป็นขั้นตอนแล้ว ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหา
อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจ
ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา

๑๔๒ (๕) ประกอบ มาตรา ๒๔๖ และ ๒๔๗

ฎีกาที่ 4571/2556


ฎีกาที่ 4571/2556

จำเลยถืออาวุธปืนติดตัวออกมาบริเวณทางเดินเท้าสาธารณะซึ่งอยู่ติดกับถนน

สาธารณะหลังจากมีปากเสียงกับโจทก์ ประกอบกับจำเลยยังรับข้อเท็จจริงในคดีนี้อีกว่า จำเลยได้

พูดขู่เข็ญโจทก์ว่า มึงอยากตายหรือการกระทำดังกล่าวนับว่าเป็นการกระทำโดยจงใจทำให้

โจทก์เสียหาย เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๐

แล้ว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยและแม้ว่าจำเลยจะมิได้ยิงอาวุธปืนดังกล่าวก็ตาม แต่การ

ที่จำเลยใช้อาวุธปืนข่มขู่โจทก์เช่นนี้ เป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ร่างกายและอนามัยของโจทก์

แล้ว เพราะเป็นการทำให้โจทก์ตกใจกลัวเป็นความเสียหายเกี่ยวกับความรู้สึกทางด้านจิตใจ ซึ่ง

เป็นความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๔๖

ฎีกาที่ 2520/2556


ฎีกาที่ 2520/2556

การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยที่ 2

ให้แก่โจทก์ตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงิน โดยในข้อ 2 ของสัญญาระบุว่าหากเงินที่ได้

รับโอนตามสิทธิเรียกร้องเกินกว่าหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ ให้โจทก์คืนส่วนที่เกินแก่จำเลยที่ 1

ในวันที่รับเงินจากจำเลยที่ 2 แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงโอนสิทธิเรียกร้องตามจำนวน

ค่าวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างที่ซื้อไปจากโจทก์เท่านั้น แม้ตามสัญญาในข้อ 3 จะมีข้อตกลงว่า หากเกิด

ความเสียหายใดๆ แก่ผู้รับโอนอันเนื่องมาจากการรับโอนสิทธิในการรับเงิน ผู้โอนยินยอมชดใช้

ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับโอนทั้งสิ้นก็ตาม ก็เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยินยอมผูกพันยอมชำระหนี้

แก่โจทก์แม้จะได้โอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแก่โจทก์แล้ว ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงข้อตกลงผิดแผก

แตกต่างจากบทบัญญัติของกฎหมาย และไม่ใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม

อันดี หรือเป็นข้อตกลงที่ต้องห้ามตามกฎหมาย จึงย่อมมีผลบังคับได้ เมื่อโจทก์ได้บอกกล่าว

การโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย

โดยจำเลยที่ 2 ไม่อาจโต้แย้งการโอนสิทธิเรียกร้องได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามสิทธิ

เรียกร้องแก่โจทก์

ฎีกาที่ 108/2556


ฎีกาที่ 108/2556
 
นาง ป. ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองขณะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ถึงแม้

ไม่มีพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของนาง ป. แต่เมื่อนาง ฐ. และ นาย น. เป็นพยานรู้เห็นในการ

ทำพินัยกรรม จึงถือว่าเป็นพยานรับรองลายมือชื่อและรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของนาง ป.

โดยไม่จำต้องมีพยานอีก 2 คนรับรองลายพิมพ์นิ้วมืออีก

พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองมี 2 หน้า ถึงแม้ในหน้าแรกไม่มีลายมือชื่อ

ของนาง ป. แต่การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนั้นเป็นไปตามแบบของทางราชการ

ที่ปฏิบัติกันมา และตามบทบัญญัติในเรื่องการทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง รวมทั้ง

พินัยกรรมแบบอื่น ก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายว่าจะต้องให้มีการลงลายมือชื่อในเอกสาร

ทุกหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562 แม้ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 จะให้สิทธิผู้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียเมื่อใดก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้...