คำพิพากษาฎีกาที่ 2531/2557
ส. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของ ส. ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599 โจทก์ทั้งสองเป็นบตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ส. เป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทตามมาตรา 1603 ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อติดตามเอาคืนที่พิพาท ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ได้ เมื่อ ส. ถึงแก่ความตายแล้วย่อมไม่สามารถทำนิติกรรมใดๆได้ตามมาตรา 149 นิติกรรมการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 1 กระทำขึ้นหลังจาก ส. ถึงแก่ความตายจึงไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย ถือเสมือนว่าไม่ได้มีนิติกรรมการขายฝากเกิดขึ้นเลย สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทยังเป็นของกองมรดกของ ส. อยู่ตามเดิมมิได้เป็นของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิใดๆในที่ดินพิพาท ไม่มีสิทธิจดทะเบียนการขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากผู้ไม่มีสิทธิจะขาย จึงไม่มีสิทธิใดๆในที่ดินพิพาทและไม่มีสิทธิเอาที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองแก่ผู้ใดได้ การที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับจำนองที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่ 2 ย่อมไม่เกิดผลให้จำเลยที่ 3 มีสิทธิตามนิติกรรมจำนองแม้จำเลยที่ 3 อ้างว่ารับจำนองไว้โดยสุจริตก็หามีผลให้จำเลยที่ 3 กลับมีสิทธิตามนิติกรรมจำนองไม่ การจำนองไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่ดินพิพาทของ ส.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195/2567
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195/2567 โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ หลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาได้ชำระค่าเช่าซื้อ...
-
จากข้อเท็จจริง ขาวยิงแดงตายโดยคิดว่าแดงเป็นหมูป่า ซึ่งหลบอยู่หลังพุ่มไม้ แม้ขาวไม่ผิดฐานฆ่าแดงตายโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 เพราะ...
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 712/2557 จำเลย ประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดิน ทราบดีว่าที่ดินมีแนวสายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านไม่อาจปลูกสร้างบ้านในที่ดินเต็มเนื้อที่ ...
-
ในสัญญาเช่า มักมีข้อความว่า ผู้เช่าสัญญาว่าจะจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น