วันพุธที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2560

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2557

เจตนาของคู่สัญญาที่ทำบันทึกแบ่งแยกทรัพย์สินกันไว้ท้ายทะเบียนการหย่าย่อมมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งแยกทรัพย์สินที่มีอยู่ร่วมกันทั้งหมดให้เสร็จสิ้นไป การตีความในบันทึกท้ายทะเบียนการหย่าจึงต้องตีความตามจ่อความที่ระบุไว้ในบันทึกนั้น เว้นแต่จะเห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า ข้อความที่ปรากฎในบันทึกท้ายทะเบียนการหย่ามีข้อความไม่ขัดเจน คลุมเครือหรืออ่านไม่เข้าใจ ตามบันทึกท้ายทะเบียนการหย่า ข้อ 3 ระบุว่า "คู่หย่าทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินว่าฝ่ายชายยินยอมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่ฝ่ายหญิงแต่เพียงผู้เดียว" ซึ่งข้อความในบันทึกดังกล่าวมีข้อความชัดแจ้งอ่านแล้วเข้าใจได้ว่าทรัพย์สินทั้งหมดที่ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรวมกันให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องทั้งหมด บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินตามป.พ.พ. มาตรา 1532 เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนทะเบียนการหย่าให้แล้ว ถือว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น นับแต่วันที่มีการทำบันทึกท้ายทะเบียนการหย่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจึงตกเป็นสิทธิของผู้ร้อตั้งแต่เวลานั้นแม้สินสมรสดังกล่าวเป็นที่ดินและบ้านก็ถือตกเป็นสิทธิของผู้ร้องตามบันทึกท้ายทะเบียนการหย่านั้นแล้วโดยไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนการโอนเพราะมิใช่การยกให้โดยเสน่หา ส่วนที่ผู้ร้องมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทำให้การได้มาดังกล่าวไม่บริบูรณ์ตามมาตรา 1299 วรรคหนึ่งก็ตาม แต่ผู้ร้องได้เข้าครอบครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแล้วเพียงแต่ผู้ร้องยังมิได้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ถือได้ว่าผู้รัองเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300




ที่มา:

ไม่มีความคิดเห็น:

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195/2567

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195/2567                  โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ หลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาได้ชำระค่าเช่าซื้อ...