ฎีกาที่ 4729/2543
จำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินไว้แก่ ก. บิดาโจทก์ ระกว่างที่ยังอยู่ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนตามสัญญาขายฝาก จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกับโจทก์ ต่อมาจำเลยทำสัญญากับ ก. ว่าไม่ประสงค์จะไถ่ถอนและประสงค์จะสละสิทธิไถ่ถอน ดังนี้ ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ .ก. ถือได้ว่าเป็นการขายขาดที่ดินให้กับ ก. โดยทำสัญญากันเอง จึงไม่เกิดผลในสัญญาซื้อขายที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยยังมีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากได้ภายในกำหนดเวล่ไถ่ถอนตามสัญญาขายฝากอยู่ และภายในกำหนดเวลาการขายฝากจำเลยย่อมมีสิทธินำที่ดินไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ได้ ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 497 ได้กำหนดให้ผู้รับโอนสิทธิมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นได้ด้วย เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิมีสิทธิไถ่ถอนที่ดินได้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจึงมีผลสมบูรณ์และบังคับได้ตามกฎหมาย จำเลยจึงต้องโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195/2567
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195/2567 โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ หลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาได้ชำระค่าเช่าซื้อ...
-
จากข้อเท็จจริง ขาวยิงแดงตายโดยคิดว่าแดงเป็นหมูป่า ซึ่งหลบอยู่หลังพุ่มไม้ แม้ขาวไม่ผิดฐานฆ่าแดงตายโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 เพราะ...
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 712/2557 จำเลย ประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดิน ทราบดีว่าที่ดินมีแนวสายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านไม่อาจปลูกสร้างบ้านในที่ดินเต็มเนื้อที่ ...
-
ในสัญญาเช่า มักมีข้อความว่า ผู้เช่าสัญญาว่าจะจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น