ฎีกาที่ 7122/2549
คำว่า มัดจำ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 377 คือทรัพย์สินซึ่งได้ให้ไว้ในวันทำสัญญา ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ไว้ในวันอื่น สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระบุว่าในวันทำสัญญาโจทก์ผู้จะซื้อได้วางมัดจำไว้ส่วนหนึ่งเป็นเงิน 10,000 บาทส่วนที่เหลือจำนวน 914,000 บาท จะชำระเป็นงวดรายเดือน จำนวน 10 เดือน ดังนั้น เงินที่วางมัดจำไว้ในวันสัญญาจึงมีเพียง 10,000 บาท เท่านั้น ส่วนเงินค่างวดที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยอีก 10 งวด เป็นเงิน 170,000 บาท นั้น แม้ตามสัญญาจะระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินมัดจำก็ไม่ใช่เงินจำตามความหมายดังกล่าว แต่เป็นเพียงการชำระราคาที่ดินบางส่วน เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยบอกเลิกสัญญากับโจทก์แล้ว จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินมัดจำจำนวน 10,000 บาท ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378(2) ส่วนเงินที่โจทก์ชำระค่าที่ดินบางส่วนดังกล่าว จำเลยต้องให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 แต่การที่โจทก์และจำเลยตกลงให้ริบเงินดังกล่าวได้ตามสัญญา ข้อ 13 ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ถ้าสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
คำพิพากษาฎีกาที่ 11/2561 บวกโทษ
คำพิพากษาฎีกาที่ 11/2561 ความปรากฎต่อศาลตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยว่า ภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษให้จำเลย จำเลยได้กระทำความผิ...
-
จากข้อเท็จจริง ขาวยิงแดงตายโดยคิดว่าแดงเป็นหมูป่า ซึ่งหลบอยู่หลังพุ่มไม้ แม้ขาวไม่ผิดฐานฆ่าแดงตายโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 เพราะ...
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 712/2557 จำเลย ประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดิน ทราบดีว่าที่ดินมีแนวสายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านไม่อาจปลูกสร้างบ้านในที่ดินเต็มเนื้อที่ ...
-
เมื่อโจกท์ต้องการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ แต่เกิดปัญหา ในกรณีมีการขออนุญาตขยายระยะเวลาอุทธรณ์หรือระยะเวลายื่นคำขออนุญาตอุทธรณ์ แต่...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น