ฎีกาที่ 8188/2554
เมื่อกำหนดวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ตามที่ระบุในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตรงกับวันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม 2547 คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจึงไม่อาจดำเนินการขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ และในวันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม 2547 คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างไม่ได้ไปที่สำนักงานที่ดินเพื่อดำเนินการดังกล่าวเช่นกัน จึงยังถือไม่ได้ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญา และสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน โดยโจทก์ผู้จะซื้อมีหน้าที่ต้องชำระราคาให้แก่จำเลยผู้จะขาย ส่วนจำเลยผู้จะขายมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ผู้จะซื้อ เมื่อไม่ปรากฎว่าภายหลังจากวันดังกล่าวคู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้มีการเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามสัญญาต่อกัน จึงถือว่าคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย และเมื่อสัญญาเป็นอันเลิกกันคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำที่รับไว้แก่โจทก์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195/2567
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195/2567 โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ หลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาได้ชำระค่าเช่าซื้อ...
-
จากข้อเท็จจริง ขาวยิงแดงตายโดยคิดว่าแดงเป็นหมูป่า ซึ่งหลบอยู่หลังพุ่มไม้ แม้ขาวไม่ผิดฐานฆ่าแดงตายโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 เพราะ...
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 712/2557 จำเลย ประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดิน ทราบดีว่าที่ดินมีแนวสายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านไม่อาจปลูกสร้างบ้านในที่ดินเต็มเนื้อที่ ...
-
ในสัญญาเช่า มักมีข้อความว่า ผู้เช่าสัญญาว่าจะจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น