วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

ฎีกาที่ 2523/2556

ฎีกาที่ 2523/2556

จำเลยที่ 1 นำโฉนดที่ดินพิพาทมอบให้โจทก์ยึดถือไว้เพื่อเป็นการประกันหนี้ แต่จำเลยที่ 1 นำความเท็จไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินจนมีการออกใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทและจำเลยที่ 1 นำใบแทนโฉนดที่ดินไปทำนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทและขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 อันเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ย่อมอยู่ในฐานะที่จะรู้ว่านิติกรรมที่ทำขึ้นส่งผลให้โจทก์เสียเปรียบได้ก็ตาม แต่เหตุดังกล่าวก็ยังไม่เพียงพอที่จะเพิกถอนการฉ้อฉลได้ ตาม ป .พ.พ. มาตรา 237 ซึ่งจำเป็นต้องได้ความอีกว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ได้ลาภงอกมาจากการทำนิติกรรมดังกล่าวได้รู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ต้องเสียเปรียบด้วย เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2ไม่สุจริต โดยรู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ฉ้อฉลโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและนิติกรรมจำนองที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองได้การที่โจทก์ยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 ไว้ ก็มิได้ก่อให้เกิดสิทธิใดๆ เหนือที่ดินพิพาท สิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่ถูกฉ้อฉลนั้น ป.พ.พ. มาตรา 237 บัญญัติให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะมาร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมเสียได้ ส่วนใบแทนโฉนดนั้นไม่ใช่นิติกรรม การเพิกถอนใบแทนโฉนดที่ดินเป็นเรื่องของผู้มีสิทธิในที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดิน เมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินจึงไม่อาจเพิกถอนใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทได้





ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็ปไซต์ศาลยุติธรรม


ไม่มีความคิดเห็น:

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562 แม้ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 จะให้สิทธิผู้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียเมื่อใดก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้...