คำพิพากษาฎีกาที่ 671/2557
ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ดังนี้คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156/1 วรรคสี่ ซึ่งมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่อนุญาตให้ผู้ร้องได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลนั่นเอง ผู้ร้องจึงมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 กล่าวคือ ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นมาชำระภายใน 15 วัน การที่ผู้ร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลอีก ซึ่งศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาตามคำร้องของผู้ร้องมาแล้ว 2 ครั้ง ก่อนหน้าที่จะยกคำร้องในครั้งนี้ และศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลอันเป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษาต่อเนื่องจากคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ไม่อนุญาตให้ผู้ร้องได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้ย่อมเป็นที่สุดเช่นเดียวกับคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 อันเป็นที่สุดนั้นด้วย ผู้ร้องไม่มีสิทธิฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต่อมาได้อีก
วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558
วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558
เจ้าพนักงานขอให้ราษฎรช่วยจับ
มาตรา 82 เจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายจับ จะขอความ
ช่วยเหลือจากบุคคลใกล้เคียงเพื่อจัดการตามหมายนั้นก็ได้แต่จะ
บังคับให้ผู้ใดช่วยโดยอาจเกิดอันตรายแก่เขานั้นไม่ได้
*****หลัก คือ ต้องเป็นเจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายจับ (ต้องมีหมายจับด้วย)
******จะ บังคับให้ผู้ใดช่วยโดยอาจเกิดอันตรายแก่เขานั้นไม่ได้
*****หลัก คือ ต้องเป็นเจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายจับ (ต้องมีหมายจับด้วย)
******จะ บังคับให้ผู้ใดช่วยโดยอาจเกิดอันตรายแก่เขานั้นไม่ได้
การจับโดยราษฎร
มาตรา 79 ราษฎรจะจับผู้อื่นไม่ได้เว้นแต่จะเข้าอยู่ในเกณฑ์แห่ง มาตรา 82 หรือเมื่อผู้นั้นกระทำความผิดซึ่งหน้า
และความผิดนั้นได้ ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ด้วย
*******หลัก คือ ราษฎร จับผู้อื่นไม่ได้
เว้นแต่
1.เข้าอยู่ในเกณฑ์แห่ง มาตรา 82 คือ เจ้าพนักงานขอให้ช่วยจับตามหมายจับ
2.เมื่อผู้นั้นกระทำความผิดซึ่งหน้า และความผิดนั้นได้ ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ ได้แก่ ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ถ้าไม่ซึ่งหน้าราษฎรจับไม่ได้
*******หลัก คือ ราษฎร จับผู้อื่นไม่ได้
เว้นแต่
1.เข้าอยู่ในเกณฑ์แห่ง มาตรา 82 คือ เจ้าพนักงานขอให้ช่วยจับตามหมายจับ
2.เมื่อผู้นั้นกระทำความผิดซึ่งหน้า และความผิดนั้นได้ ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ ได้แก่ ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ถ้าไม่ซึ่งหน้าราษฎรจับไม่ได้
พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับโดยไม่มีหมายจับ
มาตรา 78 พนักงานฝ่ายปกครองหรือ
ตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่
(1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำ
ความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 80
(2) เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติ
การณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น
โดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด
(3)
เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้นตาม มาตรา 66(2)
แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้
(4) เป็นการจับผู้ต้องหาหรือ
จำเลยที่หนีหรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราวตามมาตรา 117
*******หลัก คือ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือ ตำรวจ จับโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งศาลไม่ได้
เว้นแต่
1.เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำ ความผิดซึ่งหน้า ตามมาตรา 80
มาตรา 80 ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ความผิดซึ่งเห็น กำลังกระทำ หรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขา ได้กระทำผิดมาแล้วสด ๆ
อย่างไรก็ดี ความผิด
อาญาดั่งระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ ให้ถือว่าความผิดนั้นเป็นความ
ผิดซึ่งหน้าในกรณีดั่งนี้
(1)
เมื่อบุคคลหนึ่งถูกไล่จับดั่ง ผู้กระทำโดยมีเสียงร้องเอะอะ
(2) เมื่อพบบุคคลหนึ่งแทบจะ
ทันทีทันใดหลังจากการกระทำผิด
ในถิ่นแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุนั้นและมีสิ่งของที่ได้มาจากการ
กระทำผิดหรือมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสันนิษฐานได้ว่า
ได้ใช้ในการกระทำผิด หรือมีร่องรอยพิรุธเป็นประจักษ์ที่เสื้อผ้า
หรือเนื้อตัวของผู้นั้น
2. เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติ การณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด

3. เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้นตาม มาตรา 66(2) แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้
4. เป็นการจับผู้ต้องหาหรือ จำเลยที่หนีหรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราวตามมาตรา 117
*******หลัก คือ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือ ตำรวจ จับโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งศาลไม่ได้
เว้นแต่
1.เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำ ความผิดซึ่งหน้า ตามมาตรา 80
มาตรา 80 ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ความผิดซึ่งเห็น กำลังกระทำ หรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขา ได้กระทำผิดมาแล้วสด ๆ
2. เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติ การณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด
3. เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้นตาม มาตรา 66(2) แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้
4. เป็นการจับผู้ต้องหาหรือ จำเลยที่หนีหรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราวตามมาตรา 117
คำพิพากษาฎีกาที่ 5767/2557
คำพิพากษาฎีกาที่ 5767/2557
ระหว่างการพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 1611/2556 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์คดีนี้ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จำเลยมิได้ฎีกา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นที่สุด ดังนั้น ในระหว่างพิจารณาครั้งใหม่ของศาลชั้นต้น จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายเรื่องเดียวกันนี้ซ้ำได้อีกแม้คำร้องขอให้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นของจำเลยฉบับหลังมีเหตุแตกต่างจากที่ยื่นคำร้องขอฉบับแรกเนื่องจากศาลฎีกาในคดีหมายเลขแดงที่ 1611/2546 ของศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วและผลคดีแตกต่างจากคำพิพากษาในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม เพราะการพิจารณาว่าฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีเดิมตาม ป.วิ.พ มาตรา 144 หรือไม่ จะต้องพิจารณาจากประเด็นข้อพิพาทของคดีนี้ว่าเป็นประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันกับที่ศาลในอีกคดีหนึ่งได้มีคำพิพากษา คำวินิจฉัย หรือคำสั่งนั้นแล้วหรือไม่ ไม่ได้พิจารณาจากการที่ศาลสูงมีคำพิพากษาที่แตกต่างจากคำพิพากษาของศาลล่าง คำร้องขอให้ชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายของจำเลยฉบับหลังมีประเด็นต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกับคำร้องขอของจำเลยฉบับแรก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
ระหว่างการพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 1611/2556 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์คดีนี้ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จำเลยมิได้ฎีกา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นที่สุด ดังนั้น ในระหว่างพิจารณาครั้งใหม่ของศาลชั้นต้น จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายเรื่องเดียวกันนี้ซ้ำได้อีกแม้คำร้องขอให้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นของจำเลยฉบับหลังมีเหตุแตกต่างจากที่ยื่นคำร้องขอฉบับแรกเนื่องจากศาลฎีกาในคดีหมายเลขแดงที่ 1611/2546 ของศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วและผลคดีแตกต่างจากคำพิพากษาในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม เพราะการพิจารณาว่าฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีเดิมตาม ป.วิ.พ มาตรา 144 หรือไม่ จะต้องพิจารณาจากประเด็นข้อพิพาทของคดีนี้ว่าเป็นประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันกับที่ศาลในอีกคดีหนึ่งได้มีคำพิพากษา คำวินิจฉัย หรือคำสั่งนั้นแล้วหรือไม่ ไม่ได้พิจารณาจากการที่ศาลสูงมีคำพิพากษาที่แตกต่างจากคำพิพากษาของศาลล่าง คำร้องขอให้ชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายของจำเลยฉบับหลังมีประเด็นต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกับคำร้องขอของจำเลยฉบับแรก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558
คำพิพากษาฎีกาที่ 2513/2557
คำพิพากษาฎีกาที่ 2513/2557
ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องลดจำนวนค่าเสียหายที่จำเลยที่ 2 ...ต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 1 ลงจากคำขอท้ายฟ้องเดิม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องของโจทก์ว่า สำเนาให้จำเลย รอสั่งวันนัด หลังจากนั้นศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อมาจนเสร็จสำนวนโดยมิได้มีคำสั่งคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์แต่ประการใด ถือว่าศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามคำขอท้ายคำฟ้องเดิมจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ...แต่ทำให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเกินกว่าที่โจทก์มีสิทธิ เป็นการไม่ชอบ และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องลดจำนวนค่าเสียหายที่จำเลยที่ 2 ...ต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 1 ลงจากคำขอท้ายฟ้องเดิม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องของโจทก์ว่า สำเนาให้จำเลย รอสั่งวันนัด หลังจากนั้นศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อมาจนเสร็จสำนวนโดยมิได้มีคำสั่งคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์แต่ประการใด ถือว่าศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามคำขอท้ายคำฟ้องเดิมจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ...แต่ทำให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเกินกว่าที่โจทก์มีสิทธิ เป็นการไม่ชอบ และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195/2567
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195/2567 โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ หลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาได้ชำระค่าเช่าซื้อ...
-
จากข้อเท็จจริง ขาวยิงแดงตายโดยคิดว่าแดงเป็นหมูป่า ซึ่งหลบอยู่หลังพุ่มไม้ แม้ขาวไม่ผิดฐานฆ่าแดงตายโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 เพราะ...
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 712/2557 จำเลย ประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดิน ทราบดีว่าที่ดินมีแนวสายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านไม่อาจปลูกสร้างบ้านในที่ดินเต็มเนื้อที่ ...
-
ในสัญญาเช่า มักมีข้อความว่า ผู้เช่าสัญญาว่าจะจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้...