วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558
ฎีกาที่ 2196/2533
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยร่วมขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยร่วมใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยร่วมยื่นคำให้การโดยแนบคำให้การมากับคำร้องด้วย ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าจำเลยร่วมจงใจไม่ยื่นคำให้การ ดังนี้ิ เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจมีคำสั่งไปตามมาตรา 199 โดยยังมิได้ตรวจคำให้การของจำเลยร่วม จึงมิใช่เป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18 จะนำเอามาตรา 18 วรรคท้ายมาปรับแก่คดีไม่ได้ คำสั่งที่ว่าจำเลยร่วมจงใจขาดนัดยื่นคำให้การย่อมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา
วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558
ฎีกาที่ 901/2511
ฎีกาที่ 901/2511
การพิจารณาคดีชั้นร้องขัดทรัพย์ ถือเป็นการพิจารณาคดีในเรื่องเดิม ถึงแม้คดีร้องขีดทรัพย์จะมีทุนทรัพย์เกินอำนาจศาลแขวง ศาลแขวงก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
การพิจารณาคดีชั้นร้องขัดทรัพย์ ถือเป็นการพิจารณาคดีในเรื่องเดิม ถึงแม้คดีร้องขีดทรัพย์จะมีทุนทรัพย์เกินอำนาจศาลแขวง ศาลแขวงก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
ฎีกาที่ 2403/2523
ฎีกาที่ 2403/2523
จำเลยหลายคนมีภูมิลำเนาต่างกัน โจทก์ฟ้องจำเลยทุกคนต่อศาลที่จำเลยคนหนึ่งคนใดมีภูมิลำเนาแล้ว แม้ต่อมาโจทก์จะถอนฟ้องจำเลยที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลนั้น ศาลนั้นก็ยังพิจารณาคดีจำเลยซึ่งไม่มีภููมิลำเนาในเขตอำนาจศาลนั้นต่อไปได้
จำเลยหลายคนมีภูมิลำเนาต่างกัน โจทก์ฟ้องจำเลยทุกคนต่อศาลที่จำเลยคนหนึ่งคนใดมีภูมิลำเนาแล้ว แม้ต่อมาโจทก์จะถอนฟ้องจำเลยที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลนั้น ศาลนั้นก็ยังพิจารณาคดีจำเลยซึ่งไม่มีภููมิลำเนาในเขตอำนาจศาลนั้นต่อไปได้
คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 4ทวิ
คำฟ้องที่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิ หรือประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ต้องฟ้องต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ หรือต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ แล้วแต่โจทก์จะเลือกยื่นฟ้องต่อศาลใด
กรณีจำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร
ฎีกาที่ 6437/2541
จำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักร จึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่ง ได้
จำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักร จึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่ง ได้
ฎีกาที่ 3994/2540
ฎีกาที่ 3994/2540
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งหกให้รับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งมีจำเลยที่ 6 เป็นผู้ค้ำประกัน เป็นคำฟ้องเกี่ยวกับหนี้เหนือบุคคลซึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4(1) โจทก์สามารถฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 6 มีภูมิลำเนาในเขตศาลจังหวัดสงขลา ทั้งมูลคดีก็เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดสงขลา คดีย่อมอยู่ในอำนาจศาลจังหวัดสงขลา ที่จะพิจารณาพิพากษาได้ โดยไม่จำต้องยื่นคำร้องแสดงเหตุให้ศาลจังหวัดสงขลารับคดีไว้พิจารณา
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งหกให้รับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งมีจำเลยที่ 6 เป็นผู้ค้ำประกัน เป็นคำฟ้องเกี่ยวกับหนี้เหนือบุคคลซึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4(1) โจทก์สามารถฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 6 มีภูมิลำเนาในเขตศาลจังหวัดสงขลา ทั้งมูลคดีก็เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดสงขลา คดีย่อมอยู่ในอำนาจศาลจังหวัดสงขลา ที่จะพิจารณาพิพากษาได้ โดยไม่จำต้องยื่นคำร้องแสดงเหตุให้ศาลจังหวัดสงขลารับคดีไว้พิจารณา
ฎีกาที่ 4443/2546
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4443/2546
คำว่า มูลคดีเกิด หมายถึงต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งคำฟ้อง คดีนี้โจทก์ฟ้องหย่าจำเลย ต้นเหตุของคำฟ้องคือเหตุหย่า ส่วนการจดทะเบียนสมรสเป็นต้นเหตุของความเป็นสามีภรรยา สถานที่จดทะเบียนสมรสจึงหาใช่เป็นสถานที่มูลคดีของเหตุฟ้องหย่าไม่ เมื่อปรากฎตามคำฟ้องของโจทก์ได้ความว่าในระหว่างสมรสโจทก์จำเลยพักอาศัยอยู่บ้านเดียวกันที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จำเลยกระทำการเป็นปรปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา โดยทำร้ายร่างกายโจทก์และขับไล่โจทก์ออกจากบ้าน อันเป็นเหตุฟ้องหย่า ฉะนั้น จังหวัดนครศรีธรรมราชจึงเป็นสถานที่มูลคดีของเหตุฟ้องหย่าเกิด ทั้งจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยที่ศาลจังหวัดพัทลุง ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำว่า มูลคดีเกิด หมายถึงต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งคำฟ้อง คดีนี้โจทก์ฟ้องหย่าจำเลย ต้นเหตุของคำฟ้องคือเหตุหย่า ส่วนการจดทะเบียนสมรสเป็นต้นเหตุของความเป็นสามีภรรยา สถานที่จดทะเบียนสมรสจึงหาใช่เป็นสถานที่มูลคดีของเหตุฟ้องหย่าไม่ เมื่อปรากฎตามคำฟ้องของโจทก์ได้ความว่าในระหว่างสมรสโจทก์จำเลยพักอาศัยอยู่บ้านเดียวกันที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จำเลยกระทำการเป็นปรปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา โดยทำร้ายร่างกายโจทก์และขับไล่โจทก์ออกจากบ้าน อันเป็นเหตุฟ้องหย่า ฉะนั้น จังหวัดนครศรีธรรมราชจึงเป็นสถานที่มูลคดีของเหตุฟ้องหย่าเกิด ทั้งจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยที่ศาลจังหวัดพัทลุง ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558
คู่ความมรณะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2516
การที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความตามมาตรา 42 จะต้องเป้นการที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้นเอง เมื่อคู่ความมรณะระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปี แต่ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งจำหน่ายคดีจนกระบวนพิจารณาได้ผ่านจากชั้นศาลอุทธรณ์มาเป็นกระบวนพิจารณาชั้นฎีกา โดยศาลชั้นต้นได้สั่งให้ทายาทของผู้มรณะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่และได้สั่งรับฎีกาแล้ว ย่อมมิใช่เป้นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลฎีกา ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีมิได้
การที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความตามมาตรา 42 จะต้องเป้นการที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้นเอง เมื่อคู่ความมรณะระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปี แต่ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งจำหน่ายคดีจนกระบวนพิจารณาได้ผ่านจากชั้นศาลอุทธรณ์มาเป็นกระบวนพิจารณาชั้นฎีกา โดยศาลชั้นต้นได้สั่งให้ทายาทของผู้มรณะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่และได้สั่งรับฎีกาแล้ว ย่อมมิใช่เป้นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลฎีกา ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีมิได้
วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558
การขอขยายระยะเวลาบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2526
ระยะเวลา 10 ปี ตามมาตรา 271 เป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ ใน ป.วิ.พ. ศาลมีอำนาจสั่งขยายหรือย่นเข้าได้ตามมาตรา 23 จึงไม่ใช่อายุความฟ้องร้องคดี เพราะอายุความฟ้องร้องคดีนั้น ป.พ.พ.มาตรา 191 บัญญัติว่าผู้ใดหาอาจจะขยายหรือย่นเข้าได้ไม่
ระยะเวลา 10 ปี ตามมาตรา 271 เป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ ใน ป.วิ.พ. ศาลมีอำนาจสั่งขยายหรือย่นเข้าได้ตามมาตรา 23 จึงไม่ใช่อายุความฟ้องร้องคดี เพราะอายุความฟ้องร้องคดีนั้น ป.พ.พ.มาตรา 191 บัญญัติว่าผู้ใดหาอาจจะขยายหรือย่นเข้าได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2769/2539
คำร้องที่ขอให้ศาลงดการบังคับคดีเป้นคำร้องที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดี ศาลที่มีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องดังกล่าวคือศาลแพ่งซึ่งเป้นศาลซึ่งเป็นศาลที่พิจารณาและชี้ขาดคดีในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 302 วรรคหนึ่ง ศาลจังหวัดตราดซึ่งเป็นศาลที่ได้รับมอบหมายจากศาลแพ่งให้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์ โดยขายทอดตลาดแทนไม่มีอำนาจสั่งให้งดการบังคับคดีตามคำร้องของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2511
การพิจารณาคดีชั้นร้องขัดทรัพย์ ถือเป็นการพิจารณาคดีในเรื่องเดิม ถึงแม้คดีร้องขัดทรัพย์จะมีทุนทรัพย์เกินอำนาจศาลแขวง ศาลแขวงก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403/2523
จำเลยหลายคนมีภูมิลำเนาต่างกัน โจทก์ฟ้องจำเลยทุกคนต่อศาลที่จำเลยคนหนึ่งคนใดมีภูมิลำเนาแล้ว แม้ต่อมาโจทก์จะถอนฟ้องจำเลยที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลนั้น ศาลนั้นก็ยังพิจารณาคดีจำเลยซึ่งไม่มีภูมิลำเนาในเขตศาลนั้นต่อไปได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195/2567
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195/2567 โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ หลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาได้ชำระค่าเช่าซื้อ...
-
จากข้อเท็จจริง ขาวยิงแดงตายโดยคิดว่าแดงเป็นหมูป่า ซึ่งหลบอยู่หลังพุ่มไม้ แม้ขาวไม่ผิดฐานฆ่าแดงตายโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 เพราะ...
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 712/2557 จำเลย ประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดิน ทราบดีว่าที่ดินมีแนวสายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านไม่อาจปลูกสร้างบ้านในที่ดินเต็มเนื้อที่ ...
-
ในสัญญาเช่า มักมีข้อความว่า ผู้เช่าสัญญาว่าจะจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้...